ในความเป็นจริง เราจะเห็นทั้งป้ายเหลือง ป้ายขาว/ป้ายดำ วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารกันเป็นธรรมดา ทั้งที่มาตรการขึ้นทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะนี้ตั้งใจใช้จัดการดูแลธุรกิจวินมอร์'ไซค์ ส่วนการทำใบขับขี่นั้นหากใครเคยมีประสบการณ์สักครั้งจะทราบว่าไม่ยากหรือเข้มงวดกวดขันสักเท่าใด บางครั้งผู้ขี่ยังเป็นน้องนักเรียนที่รับจ็อบหารายได้ช่วงปิดเทอม ช่องทางที่การบริหารจัดการ การดูแลทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างยังเข้าไม่ถึงเช่นนี้หรือเปล่า ที่ทำให้ความปลอดภัยลดต่ำลงสวนทางกับยอดขายอย่างน่าหวั่นใจเช่นนี้
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจแบบเห็นภาพกันก่อนว่า ลักษณะของรถแต่ละประเภทที่กำหนดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 นั้นมีลักษณะอย่างไร กันบ้าง
จำนวนรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศ
จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนสะสม รวมทั้งแบบส่วนบุคคลและสาธารณะทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.2554 มีจำนวน 18,152,469 คัน ปี พ.ศ.2555 มีจำนวน 19,147,225 คัน เพิ่มขึ้น 994,756 คัน แต่จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้คือสัดส่วนของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล 5.58% สัดส่วนของรถจักรยานยนต์สาธารณะกลับลดลงถึง 8.13%
ทั้งนี้ แม้จำนวนจดทะเบียนสะสมจะเหมือนว่า รถจักรยานยนต์สาธารณะลดลง แต่สถิติจดทะเบียนใหม่* แสดงให้เห็นว่ารถจักรยานยนต์สาธารณะเพิ่มขึ้น
พ.ศ.2553 พ.ศ.2554 พ.ศ.2555
รถจักรยานยนต์ส่่วนบุคคล 1,928,491 2,194,669 2,154,440
รถจักรยานยนต์สาธารณะ 2,406 2,781 2,625
*รถจดทะเบียนใหม่ คือ รถป้ายแดง รถที่เคยจดทะเบียนตามกฎหมายอื่น รถใช้แล้วที่นำเข้ามาช้ในราชอาณาจักร รถที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถเก่า รถที่ประกอบขึ้นใช้ในกิจการของตนเอง รถที่เคยแจ้งไม่ใช้ตลอดไปแล้วนำมาจดทะเบียนใหม่ เป็นต้น
จำนวนยี่ห้อรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (รย.12) ที่จดทะเบียนใหม่
10 อันดับรถจักรยานยนต์ขายดี (ข้อมูลปีพ.ศ.2554 จากบริษัท เวิลด์ลีส จำกัด)
รวมสถิติอุบัติเหตุจากการเดินทางทางถนนที่น่าสนใจ พ.ศ.2553
**************************************************
ที่มา
รายงานสถิติการขนส่ง ประจำปี 2555, กรมการขนส่งทางบก
สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ
สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจความปลอดภัยการเดินทางทางถนน พ.ศ.2553, สำนักงานสถิติแห่งชาติ
บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ