เปิดแหล่งข้อมูลข่าว'สารเคมีสบู่เหลว' TCIJ ยืนยันไม่มั่ว-แต่พร้อมขอโทษที่ไม่ double check กรณีตปท.เลิกใช้ ?

12 มิ.ย. 2558 | อ่านแล้ว 2285 ครั้ง

จากกรณีการนำเสนอข่าว “เตือนสารเคมี’สบู่เหลว-น้ำยาผ้านุ่ม ‘ อันตรายถึงชีวิต ตปท.เลิกใช้แล้ว”ใน www.tcijthai.com เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา TCIJ ได้รับโพสต์แสดงความคิดเห็นตอบโต้ทั้งจากผู้อ่านบางท่านและจากนักวิชาการคณะวิทยาศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ที่ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว  แสดงความเห็นต่อความไม่น่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวดังกล่าว โดยมีสื่อหนังสือพิมพ์ระดับประเทศนำไปเสนอเป็นข่าวต่อเนื่องนั้น  ล่าสุด  นางสุชาดา จักรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ "ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง" หรือ TCIJ พร้อมทีมข่าว ได้ทำการตรวจสอบข่าวและแหล่งข้อมูลอีกครั้ง พบว่า ข่าว ดังกล่าวมีประเด็นตอบโต้อยู่ 2 จุด  คือ  กรณีสาร SLS ซึ่งในข่าวอ้างอิงว่าเป็นอันตรายถึงขั้นก่อมะเร็ง และประเด็นแหล่งที่มาของข้อมูลที่อ้างว่า ต่างประเทศเลิกใช้สาร SLS แล้ว

นางสุชาดา ผู้อำนวยการ TCIJ กล่าวถึงผลสะท้อนจากข่าวนี้ว่า “ดูจากกระแสการโพสต์ แสดงว่าผู้อ่าน  ตกใจต่อภัยใกล้ตัวนี้  เพราะสบู่เหลวได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรากันแล้ว จึงอยากขอโทษผู้อ่านที่ตกใจกับข่าวนี้ ส่วนอีกจุดหนึ่ง ที่ข่าวของเราบอก ไปว่าต่างประเทศเลิกใช้สารนี้ อันนี้เราเอามาจากเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ตรงนี้แหละค่ะที่อาจารย์เจษฎาบอกว่ามาจาก forward mail และตรงนี้แหละที่เราไม่รู้ว่ามาจาก forward mail จริงหรือเปล่า  เนื่องจากไม่ได้ double check มัน  ซึ่งดิฉันใน ฐานะรับผิดชอบต้องขอโทษผู้อ่านอีกครั้งค่ะ”

อย่างไรก็ดี นางสุชาดาเปิดเผยแหล่งที่มาของข่าวนี้ว่า เริ่มต้นจากการได้รับเบาะแสข่าว (hint) จาก แหล่งข่าวในบริษัทนำเข้าสารเคมี (ชื่อย่อภาษาอังกฤษ) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ว่ามีการนำเข้าสารเคมี ใน ปริมาณที่น่าเป็นห่วง  และสารเคมีที่นำเข้ามาจำนวนมากนี้เป็นสารตั้งต้นชนิดเดียว แต่ถูกนำมาผสมเป็นผลิตภัณฑ์ชำระล้างในครัวเรือนหลายชนิด เช่น ดีเทอเจ้น ใช้ผสมทั้งในสบู่เหลว น้ำยาล้างจาน หรือแม้แต่ นำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น  จากนั้น ทีมข่าวได้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เนต  ก็พบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับสาร SLS ในสบู่เหลว  ซึ่งตอนนั้นได้พิจารณาแล้วว่าเป็นเว็บที่เชื่อถือได้ และมีแหล่งอ้างอิงตามภาพ

 

 

นอกจากนี้  TCIJ  ยังได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ทั้งที่เป็นเว็บไซต์ของหน่วยราชการและเอกชน รวมทั้งแหล่งอ้างอิงที่เป็นงานวิจัย ดังนี้

http://www.environnet.in.th

http://www.tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=3259

https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20110131224619AAOoNQf

http://www.bkps.ac.th/a06_Education/14Education.htm

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=3758

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:JmqhNyXkzN8J:bverd.vec.go.th/in novation/bverd/File_upload/project/2010_02_13_101235_43tgv3ja.doc+&cd=4&hl=en&ct=clnk&gl=th

ทั้งนี้  หนึ่งในทีมข่าวของ TCIJ กล่าวฝากถึงผู้อ่านว่า “เจตนาของเราก็คือ เพื่อเตือนภัยผู้บริโภค และก็เป็นการทำหน้าที่ของสื่อในการนำสิ่งที่ถูกปกปิดซ่อนเร้นมาเปิดเผย เป็นการปกป้องประโยชน์สาธารณะ”

ด้านนางสุชาดา ผู้อำนวยการ TCIJ ทิ้งท้ายว่า "ที่ ดร.เจษฎา ออกมาท้วงติง ท่านก็ทำหน้าที่ทางวิชาการ ของท่าน  ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก แม้เราจะถูกตำหนิแต่ก็ถือว่าเป็นการทำให้สังคมได้หันมาพูดคุยเรื่องนี้ และสนใจเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันมากขึ้น"

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: