TCIJ Health Knowledge | วันที่: 21 ต.ค. 2562 | ฟังแล้ว: 2,636
เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ รายงานเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2562 ว่าธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 8 แห่ง ของ 4 กลุ่มใหญ่เติบโตแบบก้าวกระโดด ขนาดสินทรัพย์ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นกว่า 45,161.41 ล้านบาท จาก 168,911.44 ล้านบาท ในปี 2559 เป็น 214,072.85 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ของปี 2561
โดยความมั่งคั่งที่เพิ่มมากขึ้นนี้ เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีวงเงินรวมประมาณ 2.2 แสนล้านบาท
ส่วนขนาดสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท สามารถเทียบเคียงกับการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท ได้ 1 สาย หรือ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท ได้ถึง 4 สาย
เรื่องที่น่าสนใจก็คือ
สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2562 ว่านายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้โรงพยาบาลเอกชนแจ้งราคาซื้อและราคาขายยา ไปจนถึงเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาล มายังกรมการค้าภายใน ก่อนนำไปจัดทำเป็นฐานข้อมูลแสดงบนเว็ปไซต์กรมการค้าภายใน พร้อมโรงพยาบาลเอกชนต้องแสดง QR Code เพื่อเปิดเผยให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวกด้วย โดยมีโรงพยาบาลในระบบ 353 แห่ง ในจำนวนนี้ร้อยละ 30 หรือประมาณ 70 โรงพยาบาล คิดราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคค่อนข้างต่ำกว่าราคาค่าเฉลี่ย ซึ่งใช้ฐานข้อมูลจากทุกโรงพยาบาล/และอีก ร้อยละ 40 ราคาอยู่ในระดับปานกลางสูงกว่าราคาเฉลี่ยเล็กน้อย
ส่วนอีกร้อยละ 30 ตั้งราคาสูงกว่าค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ร้อยละ 300-8,000 โรงพยาบาลบางแห่ง สูงกว่าราคาเฉลี่ยถึงร้อยละ 16,000 ในบัญชียาถึง 150 รายการ โดยเป็นรายการยาในกลุ่มยามะเร็งและยาพาราก็มีด้วย ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งในกลุ่มหลังนี้มีประมาณ 70 โรงพยายาล
สถานการณ์ราคายาจากโรงพยาบาลเอกชนจะลงเอยอย่างไร ฟังบทสรุปได้ใน TCIJ Health Knowledge: EP06