สิทธิสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ โจทย์เดิมกับรมว.สาธารณสุขใหม่ ปัญหาที่ยังรอความเมตตาจากรัฐ

3 พ.ย. 2555 | อ่านแล้ว 2525 ครั้ง

 

ไม่เฉพาะครอบครัวของมะเอเท่านั้น แต่ที่คลินิกแม่ตาวแห่งนี้ ยังมีแรงงานข้ามชาติหอบลูกจูงหลานเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก นอกจากลูกสาวของมะเอที่ป่วยด้วยไข้ขึ้นสูงแบบไม่ทราบสาเหตุแล้วในเตียงถัดไป ยังมีเด็กน้อยวัย 5 เดือน ที่ป่วยด้วยอาการไข้ขึ้นสูง และชักจนขาดอากาศหายใจ นอนให้ออกซิเจนอยู่ข้าง ๆ

 

ภาพเหล่านี้คนเป็นที่ชินตาสำหรับคนที่นี่ หากแต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งอุปกรณ์ และจำนวนของเด็กๆ ที่เข้ามารับการรักษาแล้ว คลินิกแห่งนี้ไม่สามารถรองรับจำนวนของเด็กที่ป่วยในแต่ละวันได้ทันอย่างแน่นอน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.เอคพอ อาสาสมัครสาธารณสุขของคลินิกแม่ตาว เปิดเผยถึงสถานการณ์การรักษาเด็ก ๆ ของคลินิกให้เราฟังว่า

 

               “ทุกวันจะมีเด็กเข้ามารับการรักษาในคลินิกของเรา ไม่ต่ำกว่าวันละ 100 คน ส่วนมากเด็ก ๆ จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอด หลอดลม และไข้ขึ้นสูง เราก็จะรักษาหมดทุกคน ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน เด็กที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกของเรา จะมีอยู่ 2 ประเภทคือ เด็กที่พ่อแม่พาข้ามมาจากประเทศพม่าเพื่อเข้ามารับการรักษาในคลินิกของเราโดยเฉพาะ และเด็กที่เป็นผู้ติดตามพ่อแม่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งเด็กเหล่านี้จะไม่มีสิทธิในการรับการรักษาในประเทศไทย เราก็ต้องช่วยเหลือและรักษาเขาอย่างเต็มที่ และถ้าหากเด็กคนใดที่มีอาการหนัก เราก็จะทำเรื่องส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่สอด หรือไม่ก็ไปรักษาต่อที่เชียงใหม่ ที่เราได้ทำโครงการของการรักษาพยาบาลฟรีไว้ แต่ก็ไม่เพียงพอ ที่จะรักษาเด็กที่อาการหนักได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากเราจะทำการรักษาเด็ก ตามอาการของการเจ็บป่วยแล้ว เรายังฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคเบื้องต้นให้กับเด็กด้วย โดยเราจะเปิดคลินิกในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะซึ่งในแต่ละวันก็จะมีเด็กเข้ามาใช้บริการฉีดวัคซีนในคลินิกของเรา ราว 90-80 คน

 

ประเด็นที่สำคัญในขณะนื้คือ คลินิกของเรารับการรักษาเด็ก ๆ ได้ แต่อาจจะไม่เพียงพอต่อจำนวนของเด็กที่เจ็บป่วย ที่ในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก หากจะมีวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เด็ก สามารถเข้าไปใช้สิทธิในการ รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลในประเทศไทยได้ด้วย ก็จะเป็นการดีกับเด็กมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ความหวังในการได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากรัฐบาลไทย ดูเหมือนจะเป็นความจริงและเป็นรูปธรรมมากขึ้นนายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข คนที่ผ่านมา ได้ออกประกาศนโยบายสุขภาพดีที่ชายแดน 31 จังหวัดแนวชายแดนไทย กับ 4 ประเทศเพื่อนบ้าน ตลอด 5,820 กิโลเมตร โดยเน้น 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุมมาตรฐานเหมือนพื้นที่ปกติให้ประชาชน ทั้งคนไทยและต่างด้าวเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทั้งไทยและต่างประเทศ และการบริหารจัดการ  โดยการเพิ่มสิทธิการเข้าถึงบริการนี้จะมีการจัดทำบัตรสุขภาพ (Health Card) ให้เด็กไทยและเด็กต่างด้าว อายุ 0-6 ปี  มีเลขประจำตัว 13 หลัก พร้อมที่อยู่ชื่อบิดามารดา และมีวันหมดอายุ เพื่อบันทึกสุขภาพของเด็กตลอดจนการรับวัคซีนของเด็กทุกคน โดยให้เด็กและหญิงตั้งครรภ์สามารถเข้ารับรับบริการในสถานพยาบาลได้อย่างต่อเนื่อง

 

ถึงแม้นโยบายที่ประกาศออกมาในครั้งนี้ ของกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและยังไม่มีความชัดเจน หากแต่ได้จุดประกายความหวังให้กับเด็ก ๆ ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ เป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากการสำรวจข้อมูลของเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ ระบุตัวเลขของเด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทยและยังไม่ได้สิทธิในการรับการรักษาพยาบาล และหลักประกันสุขภาพ ที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนราษฎรในปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้นสี่กลุ่ม ได้แก่

 

กลุ่มที่หนึ่ง เด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทยแต่พ่อแม่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานาน และได้รับการสำรวจตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มชนกลุ่มน้อยตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เลขประจำตัวสิบสามหลักของเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วยเลข 7

 

กลุ่มที่สอง เด็กกลุ่มไม่มีสถานะทางทะเบียน ที่ได้รับการสำรวจตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล พ.ศ. 2548 (เลขประจำตัวสิบสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 0

 

 

 

กลุ่มที่สาม เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) อายุไม่เกิน 15 ปี  ที่พ่อแม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวและอยู่ระหว่างการขอพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง เลขประจำสิบสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 00 และเด็กๆ ในกลุ่มที่สี่คือเด็กๆในกลุ่มที่เกิดหลังจากพ่อแม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทย และไปดำเนินการแจ้งเกิด และถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรแล้ว ดังนั้นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เด็กจะยังไม่มีหลักประกันสุขภาพ

 

ด้าน นายอดิศร เกิดมงคล ตัวแทนเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ แสดงความเห็นว่า สิ่งที่เราพบเห็นอย่างชัดเจน เกี่ยวกับลูกหลานแรงงานข้ามชาติคือ ความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล เด็ก หลายคน ถึงแม้จะเข้ามาในประเทศไทย ตามพ่อแม่อย่างถูกกฎหมาย แต่สิทธิในการรักษาพยาบาลก็ไม่ได้ครอบคลุมกับเขาด้วย การประกาศนโยบายนี้ของรัฐบาลไทย จึงเป็นเหมือนแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องระบบสุขภาพของลูกหลานแรงงานข้ามชาติได้

 

อย่างไรก็ตามนอกจากรัฐบาล จะใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหาการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพของเด็กแล้ว สิ่งที่เป็นปัญหายังมีอีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องของการเข้าถึงการมีสถานะบุคคล ซึ่งการสำรวจกลุ่มผู้ตกหล่นยังไม่ทั่วถึง ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าสู่การมีสถานะทางทะเบียน และหลักประกันสุขภาพได้ รวมทั้งเรื่องของการขาดระบบฐานข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์ และงบประมาณในการให้บริการแก่ลูกหลานแรงงานข้ามชาติ

 

นอกจากนี้ปัญหาการแจ้งเกิดเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยหลัง การคลอดยังมีอย่างไม่ทั่วถึง มีความไม่เข้าใจของผู้ปกครอง หรือการดำเนินการระดับพื้นที่อยู่พอสมควร ส่งผลให้เด็กไม่มีสถานะหลังการเกิดได้ รวมถึงชุมชนของกลุ่มคนที่ยังไม่มีสัญชาติบางส่วน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูก ต้องต่อเรื่องการรับบริการวัคซีน และการติดตามดูแลแม่และเด็กหลังคลอด  และการเข้าถึงข้อมูลในหลักประกันสุขภาพยังมีไม่มาก และมีข้อจำกัดในเรื่องภาษา

 

 

สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือ สถานบริการบางพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน ทำให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลหรือการบริการด้านสุขภาพเป็นไปได้ยาก หากรัฐบาลจะทำให้ระบบประกันสุขภาพของลูกหลานแรงงานข้ามชาติเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ควรหยิบกรณีเหล่านี้ ไปประกอบในการดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

 

“สิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินนโยบายนี้ให้ประสบผลสำเร็จ คือการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการทำงานเรื่องสุขภาพของเด็ก เพราะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องสิทธิและการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ ยังเป็นปัญหากีดกันการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพของเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย”

 

 

อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรมว.กระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรง แต่ความฝันและความหวังของลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ในเรื่องสิทธิและระบบประกันด้านสุขภาพของลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ควรจะยังเป็นนโยบายหลักที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ ดำเนินการสานต่อให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องมนุษยธรรม ที่ไม่มีการแบ่งเชื้อชาติ เพศ และสถานะ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: