พบว่า ปตท.ต้องเฝ้าระวังคลังน้ำมันอย่างใกล้ชิดแม้ว่าได้หยุดให้บริการสถานีบริการ น้ำมันและก๊าซปิโตเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG ) ถึง 90 แห่ง แต่ยังต้องเฝ้าระวังอีก 20 กว่าแห่ง รวมแล้วประมาณ 110 กว่าแห่ง คิดเป็นร้อยละ 25 ของสถานีบริการน้ำมันในพื้นที่ประสบอุทกภัย ทั้งนี้ปตท.มีสถานีบริการน้ำมันทั้งหมด 1,311 แห่งทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามมีสถานีบริการน้ำมันที่ถูกน้ำท่วมแล้วกลับมาเปิดให้บริการใหม่ อีก 12 แห่ง โดยมีแผนสำรองคลังน้ำมันที่สระบุรี และพระขโนง ไว้รองรับในกรณีที่ไม่สามารถกระจายน้ำมันได้ นอกจากนี้ยังมีคลังน้ำมันที่ศรีราชาและอู่ตะเภา รองรับพื้นที่ภาคตะวันออกอีกด้วย
ด้านสถานีบริการแก็สเอ็นจีวี (Natural Gas Vehicle หรือ NGV)ขณะนี้ปิดให้บริการแล้ว 77 แห่งและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 21 แห่งในพื้นที่ประสบอุทกภัย ทำให้ยอดขายลดลงเดิม 3,360 ตัน /วัน เหลือ 2,284 ตัน/ วัน ทั้งนี้ได้ให้รถขนส่งสาธารณะไปใช้สถานีตามแนวท่อฝั่งตะวันออกของกทม.เพื่อ ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ ขณะนี้ได้รับรายงานแล้วว่าการบริการ NGV เป็นปกติ อย่างไรก็ตามทางปตท.ยังเป็นห่วงสถานบริการ NGV ฝั่งตะวันออกซึ่งขณะนี้อยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ด้านก๊าซ LPG การผลิตและการสำรองพลังงานดังกล่าวเป็นปกติ ไม่มีปัญหา
กรณีที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมขั้นเลวร้ายที่สุด ในกรุงเทพฯ
ส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯ หากเกิดเหตุหรือสถานการณ์น้ำท่วมขั้นเลวร้ายที่สุด ปตท.มีการรองรับเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่มีปัญหาด้านการขนส่ง การเคลื่อนย้ายน้ำมัน หรือเชื้อเพลิง ทำหลายวิธีมากขึ้น บางครั้งอาจจะส่งทางเรือ ใส่แท็งค์ลอยน้ำหรือ มีเรือลากจูง เป็นต้น ทั้งนี้ระบบการขนส่งทางปตท.มีความปลอดภัยไม่ให้น้ำมันรั่วไหลแน่นอน พร้อมกับหลีกเลี่ยงเส้นทางที่น้ำท่วม แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะมีผลกระทบบ้าง ทำให้การขนส่งล่าช้าในการเคลื่อนย้าย แต่มีการแก้ปัญหาดำเนินการแต่เนิ่นๆ โดยจัดการขนส่ง ใช้คนเพิ่มข้น เริ่มเร็วขึ้น คาดว่าไม่น่าจะเกิดวิกฤติด้านพลังงานที่รุนแรง ถึงแม้ว่าน้ำท่วม ถูกตัดไฟ น้ำมันก็ยังไปถึง
อย่างไรก็ตามความต้องการน้ำมันและเชื้อเพลิงโดยรวมของทั้งประเทศจะลดลง อยู่แล้ว เนื่องจากคนนำรถไปเก็บ ซึ่งจะชดเชยกับการปิดสถานีบริการน้ำมัน ยืนยันว่าทางปตท.สามารถให้บริการทั้งน้ำมันและก๊าซหุงต้มได้ เชื้อเพลิงทุกประเภท อีกทั้งยังสามารถผลิต เคลื่อนย้าย ขนส่งได้ใกล้เคียงกับปริมาณเดิมเท่าที่สามารถจะทำได้ อาจจะมีบางพื้นที่ที่ไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้บริการต้องเดินทางไปอีกที่เท่า นั้นเอง
สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ หากเกิดกรณีฉุกเฉินหรือร้ายแรงที่สุด ทางปตท.ได้ย้ายไปอยู่ที่สำนักงานชั่วคราว หรือที่ทำการชั่วคราวตามศูนย์ต่างๆอยู่แล้วทั้ง จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ได้ย้ายไปหลายส่วนแล้ว หากสำนักงานใหญ่ปตท.ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ เราก็สามารถปฏิบัติการตามฐานที่ทำการตามภูมิภาคต่างๆ และในส่วนของพนักงานก็สามารถทำงานที่บ้านได้ ดังนั้นคิดว่า ปตท.ยังสามารถควบคุมได้ มีระบบการติดต่อสื่อสารอยู่แล้ว
มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ดร.โชติชัย กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยว่า ในบางพื้นที่ๆจัดจำหน่ายไม่ได้จริงๆก็ยังมีการบริจาคน้ำมันและเชื้อเพลิงฟรี โดยสำรองไว้แล้วถึง 500,000 ลิตร แจกจ่ายให้กับหน่วยบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ประสบอุทกภัย ทั้งไว้ใช้เติมน้ำมันเรือ หรือแม้กระทั่งเครื่องปั่นไฟฟ้า นอกจากนี้มีการออกบัตรเครดิตพลังงาน จำนวน 2,000 ใบ โดยมีวงเงิน 1,500 บาท ต่อใบเพื่อมอบให้กับศูนย์ศปภ. เพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใช้แจกจ่ายกับประชาชน
ทั้งนี้ปตท.มีศูนย์ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบ อุทกภัยใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย 1. ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2.ที่ว่าการอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 3. อบต.ท่าลาน อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี 4. ปตท. จังหวัดนครสวรรค์ ที่สนามกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ 5. อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 6. ศูนย์ช่วยเหลือปตท. พื้นที่รังสิต – นครนายก จังหวัดปทุมธานี 7. ศูนย์ช่วยเหลือปตท.สำนักงานอยุธยา ถนนพหลโยธิน กม. 51 และ ศูนย์ช่วยเหลือปตท.จังหวัดสมุทรปราการ
แผนสำรองด้านพลังงาน
นอกจากนี้ ปตท.ยังได้สำรองน้ำมันเบนซิน และดีเซล ถึง 450,000 ลิตร พร้อมทั้งสั่งผลิตถังบรรจุน้ำมันขนาดพิเศษ 15 ลิตร ไว้เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนในแต่ละจังหวัด ส่วนมาตรการอื่นๆ ยังมีการแจกจ่ายน้ำมันกระป๋องขนาด 1 ลิตร จำนวน 30,000 ใบ เพื่อแจกจ่ายไว้เติมน้ำมันเรืออีกด้วย
ฟื้นฟูหลังวิกฤติ
ดร.โชติชัย กล่าวถึงแผนการฟื้นฟูหลังเหตุอุทกภัยว่า แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกสนับสนุนเงิน ยารักษาโรค และปัจจัยสำคัญผ่านทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระยะที่ 2 มีโครงการต่างๆ เช่น โครงการแจกคู่มือป้องกันภัยพิบัติ โครงการบริจาคถุงทราย โครงการบริจาคน้ำดื่ม โครงการปันน้ำใจ โครงการชาร์ตแบตมือถือ โครงการแจกชุดช่วยฉุกเฉิน หรือแม้แต่โครงการแจก EMBall ใช้ปรับสภาพน้ำเน่าเสีย ส่วนโครงการระยะที่ 3 เป็นการฟื้นฟูหลังน้ำลด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น โครงการ Engine Tune Up รับบริการตรวจเช็คเครื่องยนต์ และบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องฟรี หรือแม้แต่โครงการจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นราคาพิเศษ ลด 50 % โครงการตรวจสอบความปลอดภัยถังก๊าซหุงต้ม เปลี่ยนสายส่งก๊าซหุงต้มฟรี รวมไปถึงการสนับสนุนถังก๊าซหุงต้มและอุปกรณ์อีก จำนวน 1,000 ชุด เป็นต้น
“หลังจากน้ำท่วมเป็นสิ่งที่เราต้องฉุกคิดว่าในอนาคตจะ เป็นอย่างไร เอาสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแผนปฏิบัติการ หรือยุทธศาสตร์ เตรียมการรับมือในอนาคตเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บรรเทาความสูญเสีย ลดผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด เราจะเอาสิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้มาเป็นบทเรียน ประสบการณ์ของเราว่าวิกฤติน้ำท่วมสามารถทำให้ทุกอย่างเสียหายหมด ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีแผนสำรองหมด เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัทปตท. กล่าว
อย่างไรก็ตามจากวิกฤติครั้งนี้ก็จะไม่เป็นภาระให้กับประชาชนแม้ว่าต้นทุน การผลิตด้านพลังงานจะเพิ่มสูงขึ้น ปตท.จะไม่ขึ้นราคาเด็ดขาด อีกทั้งทางกระทรวงพลังงานก็ดูแลอยู่แล้ว ส่วนการจำหน่ายขึ้นกับมูลค่าการตลาด ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะสูงเกินกว่าปัจจุบันอยู่แล้ว คงจะไม่มีการขึ้นราคาภายหลังอยู่แล้ว แม้ว่าจะเกิดวิกฤติด้านพลังงานในหลายๆประเทศในภูมิภาคอาเซียนอยู่แล้ว แต่ไทยจะไม่ได้รับผลกระทบเรื่องวิกฤติพลังงาน เนื่องจากปริมาณการผลิตเพียงพอต่อความต้องการของคนในประเทศ ปริมาณน้ำมัน ก๊าซ ทางปตท.ผลิต สำรองได้เพียงพอ อาจจะมีปัญหาเพียงเรื่องการขนส่ง และต้นทุนในการรักษาความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้คงกระตุ้นในเวทีนานาชาติ โดยเฉพาะในเวทีอาเซียนให้ตระหนักถึงการจัดการภัยพิบัติเหล่านี้
อนาคตพลังงานไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
ดร.โชติชัย กล่าวถึงการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า ต้องยอมรับกลไกตลาด ราคาต้นทุนการผลิตด้านพลังงานเชื้อเพลิง และก๊าซนั้นจำเป็นต้องสะท้อนต้นทุนการผลิตที่แท้จริง การที่จะไปกดราคา หรือตรึงราคาให้ต่ำกว่าความเป็นจริงมันก็จะยิ่งทำให้เกิดการใช้อย่างสิ้น เปลือง ใช้พลังงานอย่างไม่รู้ค่า ก่อให้เกิดการบิดเบือนพฤติกรรมการใช้พลังงานอย่างไม่มีเหตุมีผล เพราะฉะนั้นในอนาคต ประเทศไทยต้องมุ่งไปสู่การให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ค่อยๆลอยตัวขึ้น เพราะต่อไปเมื่อรวมเป็นประชาคมอาเซียน หากตั้งราคาถูกประเทศเพื่อนบ้านจะแห่กันเข้ามาซื้อพลังงานในประเทศเราหมด ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขายพลังงาน เชื้อเพลิงตามแนวชายแดน ในแต่ละปีประเทศไทยใช้เงินอุดหนุนเป็นจำนวนมาก ถ้ามีการตรึงราคา นำเข้า LPG ในราคาที่สูงแต่มาจำหน่ายในราคาถูกแล้วประชาชนทั่วไปที่เสียภาษี เพื่อนำเงินมาอุดหนุน ถือว่าไม่ยุติธรรม เพราะจะเพิ่มต้นทุนภาระของประเทศมากยิ่งขึ้น หากนำเงินจำนวนนี้ไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างระบบสาธารณูปโภค จะดีกว่า
ดร.โชติชัย กล่าวย้ำว่า จากวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ ถือเป็นบทเรียนให้เราต้องระมัดระวังการเตรียมแผนฉุกเฉิน หามาตรการป้องกันมากยิ่งขึ้น ทั้งระบบระบายน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม เราต้องทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่พอถึงเวลาน้ำท่วมทีหนึ่งก็มาแก้ปัญหา แก้ไขกันเป็นเปราะ ภาคธุรกิจเองก็มีบทเรียน เนื่องจากได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ที่ต้องปรับตัวจะต้องกระตุ้นและให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการหาวิธีการ ป้องกันเรื่องน้ำท่วม
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ