ยอดหนี้กยศ.พุ่ง 5 หมื่นล้าน หวั่นกระทบรุ่นต่อไป

เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ 8 ก.พ. 2555 | อ่านแล้ว 3015 ครั้ง

 

กยศ.ปล่อยกู้ไปแล้วเกือบ 5หมื่นล้าน

จากสภาพเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในหลายด้าน ทั้งนี้เนื่องเพราะสภาพสังคมที่แตกต่าง ทำให้ผู้คนในสังคมไม่อาจก้าวข้ามตามทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการศึกษาที่ส่งผลกระทบค่อนข้างชัดเจน สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในความล่าช้าที่เกิดขึ้นคือ การประเมินค่าการอ่านหนังสือของคนไทย ที่แทบไม่ขยับไปมากนัก แม้ว่าในแต่ละปีมีผู้เรียนหนังสือจบในชั้นปริญญาตรีมากมาย แต่เมื่อสอบถามคุณภาพการทำงานได้ของบัณฑิตเหล่านี้ หลายองค์กรหลายหน่วยงานกลับส่ายหน้ากับคุณภาพที่ต่ำลงแทบทุกปี

 

ส่วนอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดผลกระทบตามมา หรือนับเป็นปัญหาที่มีผลพวงมาจากการพัฒนาการศึกษาคือ ภาวะขาดทุนเรื้อรังของ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่มีมาอย่างยาวนาน 17 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 กระทั่งปัจจุบัน

 

ศูนย์ข่าว TCIJ ได้ติดตามข้อมูลของกองทุนกยศ. พบว่า ในการดำเนินการปี 2554 มีผู้กู้เงินสูงสุดคือ นักศึกษาระดับอนุปริญญา-ปริญญาตรี  481,798 คน รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 187,675  คนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 114,484 คนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)108,202 คน รวม 892,159 คน

 

แต่หากรวมผู้กู้ทั้งหมด  2,461,999 ราย แบ่งเป็นผู้กู้รายเก่า 622,354 ราย ผู้กู้รายใหม่  269,805 ราย รวมเงินกู้ยืม 46,617 ล้านบาท แต่ติดต่อขอชำระเงินคืนเพียง 1,880,483 คน แบ่งเป็นผู้กู้ยืมที่ชำระมากกว่าเกณฑ์ 168,468 คน ชำระตามเกณฑ์ 477,941 คน ชำระบางส่วน 1,234,074 คน และหนี้สูญ (กรณีเสียชีวิต) 22,339 คน รวมเป็นเงินที่ได้รับชำระคืน  24,989.46 ล้านบาท

 

พิจารณาให้กู้จากสาขาวิชาที่ขาดแคลน

รศ.น.พ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินกู้ให้ยืมเพื่อการศึกษา ให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าว TCIJ ว่า กองทุนได้ทบทวนปัญหาอุปสรรคเพื่อกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนา คุณภาพการศึกษาของรัฐบาล โดยจัดสรรเงินให้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา คิดเป็นเงินกู้ร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด ไม่ให้จำนวนผู้กู้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเกินไปจนกระทบเสถียรภาพทางการเงินของ กองทุน ซึ่งทางกองทุนจะพิจารณาจัดสรรเงินให้กู้ยืมสำหรับผู้กู้รายใหม่ซึ่งนำคุณภาพ การศึกษา สาขาวิชาที่ขาดแคลน และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา

 

ผู้จัดการกองทุนฯเปิดเผยว่า การศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาหรือสายอาชีพ มีจำนวนผู้กู้ลดลง กองทุนจึงได้จัดสรรเงินให้กู้ยืมในระดับอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552-2553 เพื่อเป็นการจูงใจให้คนมาเรียนสายอาชีพเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา กองทุนต้องนำเงินที่ได้รับจากการชำระคืนมาสมทบการให้กู้ยืมเพิ่มเติมอีก ประมาณ 19,000 ล้านบาท โดยส่วนในการรับชำระหนี้พบว่า ส่วนใหญ่ผู้กู้ยืมที่จบการศึกษาและมีงานทำแล้ว จะมีความสามารถในการชำระหนี้คืนมากกว่าผู้ที่ไม่สำเร็จการศึกษาหรือผู้ที่ ไม่มีงานทำ

 

สำหรับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกองทุน ยังพบว่ามีส่วนหนึ่งปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการให้กู้ยืม เช่น นำการกู้ยืมไปใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มีการกู้ยืมจำนวนมาก และการดำเนินการให้กู้ยืมไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่กองทุน กำหนด ทั้งนี้กองทุนได้ตรวจสอบสถานศึกษาที่มีการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง และตักเตือนลงโทษในกรณีต่างๆ ตามระเบียบที่กำหนดไว้

 

ตั้งมา 17 ปี ส่งเด็กเรียนจบเกือบ 4 ล้านคน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การดำเนินการในปี 2554 มีการแถลงผลการดำเนินการในเดือนกันยายน 2554 ที่ผ่านมา พบว่า มีนักเรียนนักศึกษาที่กู้ยืมกองทุนกยศ. ระหว่างการศึกษาและสำเร็จการศึกษาแล้วกว่า 3,900,000 ราย งบประมาณทั้งสิ้น  400,000,000,000 บาท (สี่แสนล้านบาท) ในปีงบประมาณ 2554 ทางกองทุนอนุมัติงบประมาณให้กู้ยืมทั้งสิ้น  42,712,000,000 บาท (สี่หมื่นสองพันเจ็ดร้อยสิบสองล้านบาทถ้วน) จำนวนนักศึกษาที่ประสงค์ขอกู้ยืมเงิน 981,712 ราย ผ่านระบบ e-Studentloan จำนวน 1,053,078ราย มีรายละเอียดดังนี้

 

รายละเอียดการให้กู้ยืมเงินจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา( กยศ.)

 

จำนวนผู้ได้รับคัดเลือกผู้มีสิทธิกู้ยืมประจำปี 2554 ทั้งสิ้น

892,159 คน

ผู้กู้ยืมรายเก่า

ผู้กู้ยืมรายใหม่

ผลการชำระคืนกองทุนฯ ปี 2554

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น

622,354คน

269,805คน

2,461,999 คน

46,617ล้านบาท

 

จำนวนผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ประจำปี 2554

 

ระดับการศึกษา

จำนวน

มัธยมศึกษาตอนปลาย

187,675  คน

ระดับปวช.

114,484 คน

ระดับปวท./ปวส.

108,202 คน

ระดับอนุปริญญาตรี/ ปริญญาตรี

481,798 คน

รวมทั้งสิ้น

892,159 คน

รวบรวมโดย ศูนย์ข่าว TCIJ

 

อย่างไรก็ตามทางกองทุนกยศ.ได้กำหนดขอบเขตการกู้ยืมเงินประจำปีการศึกษา 2554 ไว้ดังนี้

 

ระดับการศึกษา/ สาขาวิชา

 

 

ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา

บาท/ราย/ปี

ค่าครองชีพ

บาท/ราย/ปี

รวม

บาท/ราย/ปี

มัธยมศึกษาตอนปลาย

14,000

13,200

27,200

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

1.พาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ยกเว้นสาขาการบัญชี และธุรกิจคอมพิวเตอร์

 

2.พาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี และธุรกิจคอมพิวเตอร์

 

 

3.หัตกรรมหรือศิลปกรรม เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ ประมง สิ่งทอ คหกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

 

 

4.ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ทัศนศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

21,000

 

 

21,000

 

 

 

21,000

 

 

 

21,000

 

 

 

16,500

 

 

26,400

 

 

 

26,400

 

 

 

26,400

 

 

37,500

 

 

47,400

 

 

 

47,400

 

 

 

47,400

 

ปวท./ปวส.

1.พาณิชยกรรมหรือบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรมหรือศิลปกรรม เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ ประมง สิ่งทอ คหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

2. ช่างอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ทัศนศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

 

 

25,000

 

 

 

30,000

 

 

26,400

 

 

 

26,400

 

 

51,400

 

 

 

56,400

อนุปริญญา/ปริญญาตรี

1. สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์

  • กลุ่มสาขาวิชาที่ขาดแคลนและเป็นความต้องการของตลาดแรงงานได้แก่ บัญชี เศรษฐศาสตร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ (ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม โลจิสติกศ์ อุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจการบิน

กลุ่มสาขาอื่น ๆ

  • ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าที่เคยกู้ยืมในระดับอนุปริญญา/ปริญญาตรีในสาขาวิชาก่อนปีการศึกษา 2554
  • ผู้กู้ยืมเงินอื่น

1. ศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

2. วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. เกษตรศาสตร์

4. สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์

5. แพทย์ศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์

 

 

60,000

 

 

 

 

 

 

 

 

                       60,000

 

 

50,000

 

70,000

70,000

70,000

90,000

200,000

 

 

26,400

 

 

 

 

 

 

 

 

26,400

 

    

    26,400

     26,400

     26,400

    26,400

     26,400

     26,400

 

 

86,400

 

 

 

 

 

 

 

 

 86,400

 

 

76,400

96,400 

96,400

 96,400

116,400

 226,400

หมายเหตุ :  การพิจารณาคุณสมบัติผู้ขอกู้ สถานศึกษาจะพิจารณาเป็นรายปี ผู้ขอกู้ที่มีคุณสมบัติจะได้กู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้ยืมที่สถานศึกษา ได้รับจัดสรร

รวบรวมข้อมูลโดย ศูนย์ข่าว TCIJ

 

ขยับวงเงินกู้เพราะค่าเรียนแพงขึ้น

ทั้งนี้เนื่องจากยอดผู้กู้ในระดับปวช.-ปวท.และปวส. มีตัวเลขผู้กู้ลดลง ทางกองทุน ได้เพิ่มค่าครองชีพให้แก่ผู้เรียนระดับปวช. จากเดิมในปี 2553 เดือนละ 1,375 บาท เป็นเดือนละ 2,200 บาท  รวมเป็นเงิน 26,400 บาทต่อปี  พร้อมกับขยายเพดานเงินกู้ในบางสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษา เช่น สาขาศิลปกรรมศาสตร์  สถาปัตยกรรมศาสตร์ เดิมในปี 2553 จากปีละ 60,000 บาท เป็น 70,000 บาท

อย่างไรก็ตามในสาขาสาธารณสุข พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เดิมปี 2553 ค่าเล่าเรียน 80,000 บาท ต่อปี เพิ่มเป็นปีละ 90,000 บาท ทั้งนี้ในสาขาแพทย์ศาสตร์ สัตวศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ เดิมในปี 2553 ค่าเล่าเรียนปีละ 150,000 บาท เพิ่มเป็นปีละ 200,000 บาท

 

คืนเงินกู้ช้า-ไม่คืนกระทบคนรุ่นต่อไป

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ต้นทุนในการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาของประเทศไทยยังคงมีราคาแพง และการเข้าถึงยาก รวมไปถึงปัญหาหลังการจบการศึกษาบัณฑิตที่จบการศึกษามีงานทำ แต่ไม่มีเงินพอที่จะชดใช้หนี้กองทุนกยศ.ได้ ทำให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีจากกองทุนฯ โดยธนาคารกรุงไทย ในฐานะผู้รับจ้างจากกองทุนฯทำหน้าที่เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีในกรณีที่ผู้ กู้ยืมค้างชำระหนี้เกิน 5 งวดติดต่อกัน และไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้  นอกจากนี้ยังมีการติดตามทวงหนี้อย่างเข้มงวด ในกรณีที่ผู้กู้ยืมค้างชำระหนี้ตั้งแต่ปี ที่ 1-4 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนสะท้อนภาพฝันอนาคตด้านการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดี

 

อย่างไรก็ตามการค้างชำระเงินกองทุนกยศ.ไม่ได้สะท้อนเฉพาะความรับผิดชอบ ที่บรรดานักศึกษามีต่อการเอื้อโอกาสทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังสะท้อนไปถึงโอกาสของเยาวชนรุ่นต่อไป ที่จะได้มีโอกาสใช้บริการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาจากกองทุนดังกล่าวด้วย เพราะนั่นหมายถึงเงินในกองทุนที่อาจลดต่ำลงเรื่อยๆ และยังลุกลามไปถึงเงื่อนไขการกู้ยืมที่อาจยากขึ้น สำหรับผู้ที่มีความเดือดร้อนที่จะต้องใช้เงินในส่วนนี้เพื่อการศึกษาอย่าง แท้จริงด้วย

 

ขอบคุณภาพจาก Google

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: