ชี้ช่องทางเลี่ยงจ่ายค่ายามหาโหด ลอกคราบ ‘รพ.เอกชน’คิดอย่างไรถึงแพงสุดขั้ว !

9 ก.พ. 2555


 

มีรายงานและผลวิจัยหลายชิ้น ที่ระบุถึง คนเอเชีย รวมถึงคนไทยมีการใช้จ่ายเงิน เพื่อการรักษาพยาบาลสูงขึ้นทุกปีเฉลี่ยประมาณ 20% ซึ่งเป็นผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลที่มิได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล หรือที่เรียกกันว่า โรงพยาบาลเอกชนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว



เมื่อผนวกกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้าน สุขภาพแห่งเอเชีย (Medical Hub of Asia ) ธุรกิจรพ.เอกชนก็ยิ่งคึกคักมากขึ้น สะท้อนได้จากภาพความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการลงทุนเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี บุคลากร รวมไปถึงการควบรวมระหว่างกลุ่มรพ.เอกชนด้วยกันเอง

 

ไม่ว่าจะ เป็น รพ.พญาไท-เปาโล ควบรวมเข้ากับรพ.กรุงเทพ หรือ รพ.กรุงเทพ บุกเข้าซื้อหุ้นบำรุงราษฎร์ จนถึงล่าสุดรพ.บำรุงราษฎร์เข้าถือหุ้นในรพ.เกษมราษฎร์ เพื่อขยายเครือข่าย เพิ่มความแข็งแกร่ง อันจะเกิดผลในแง่การลดต้นทุนในด้านต่างๆ ตามหลัก Economies of scale ซึ่งจะประหยัดต่อการจัดซื้อสินค้าอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์

 

ทว่าสิ่งน่าตระหนกของการควบรวมที่เกิดขึ้นของกลุ่มรพ.เอกชนเหล่านี้ นั่นก็คือ “จุดประสงค์ในการสร้างเครือข่าย”

 

เนื่อง เพราะรพ.เอกชนเหล่านี้ ไม่ได้ต้องการสร้าง Economies of scaleเพื่อให้ต้นทุนลดลง แล้วนำส่วนต่างมาคืนกำไรให้กับผู้ใช้บริการ แต่พวกเขาต้องการสร้างเครือข่ายธุรกิจ เพื่อรองรับการแข่งขันในการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่ง เพื่อรับมือกับกลุ่มทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาฮุบกิจการในไทยต่างหาก

 

หมาย ความว่า ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนที่มีแนวโน้มถีบตัวสูงขึ้น เพราะกระบวนการรักษาและบำบัดโรคภัยไข้เจ็บที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตาม พัฒนาการของโรค โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของคนไทยจำนวนมากในแต่ละปี รวมไปถึงการแข่งขันของบริษัทยา ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการตลาดสูงเพิ่มขึ้น(อ่านล้อมกรอบชำแหละปมคนไทยซื้อยา ราคาแพง ) และนั่นได้นำไปสู่ของปัญหาการคิดค่ายาในรพ.เอกชนที่มีราคาแพงแบบสุดขั้ว !

เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการ

พนักงาน ประกันชีวิตรายหนึ่ง ได้สะท้อนเรื่องราวดังกล่าวนี้ผ่านการโพสต์ผ่านSocial Network ว่า จากการเข้าไปเยี่ยมเยียนลูกค้าที่ประกันกลุ่ม พบว่าสิ่งที่ได้ยินจากลูกค้าคล้ายกันก็คือ ค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแพงเกินความเป็นจริง โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นองค์กรที่มีชาวต่างชาติทำงานด้วย จะเห็นชัดเจนมากว่า ค่ารักษาพยาบาลปัจจุบันไม่ใช่มีแค่ค่ายากับค่าตรวจ แต่จะมี ค่าล่าม ค่าแพทย์รักษา ค่าบริการพยาบาล ค่าบริการแพทย์ ค่าบริการพยาบาล ค่ายา ค่าเครื่องมือตรวจ ฯลฯ

“ถ้านอนพักรักษาที่โรงพยาบาลอาจจะ มีมากกว่า นั้น เช่นค่ากิ๊ฟท์เซ็ท ค่าใช้ที่รองปัสสาวะ ค่าทิชชู ค่าจอดรถของญาติซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่มีแค่โรงพยาบาลไฮคลาสอย่าง บำรุงราษฎร์ ,บีเอ็นเอช ,กรุงเทพ นะครับ ทว่าได้เริ่มแพร่กระจายมาโรงพยาบาลเอกชนระดับถัดลงมาแล้ว”

ผู้ ใช้ บริการซึ่งเป็นผู้หญิงรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า สามีและเธอเองมีเรื่องต้องไปหาหมอแทบทุก 3 เดือน แล้วหมอก็จะให้ยามาซึ่งทุก 3 เดือน ซึ่งค่ายาของแต่ละคน แต่ละครั้งประมาณ 5 หมื่นบาทบ้าง 6 หมื่นบาทบ้าง ซึ่งเธอและสามีก็ก้มหน้าก้มตาจ่ายไป แต่ทว่าครั้งล่าสุดเธอพบว่า หมอจ่ายยาให้สามีของเธอสำหรับ 3 เดือนเป็นเงินถึง 98,000 บาท เรียกว่าเกือบหนึ่งแสน ซึ่งเธอตกใจมาก

ดัง นั้น จึงไปสอบถามร้านขายยาว่า ยาที่ใช้ อาทิ ยาEzetrol ลดไขมันขายเม็ดละเท่าไร ซึ่งร้านขายยาบอกว่า 50 บาทขณะที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้นขาย เม็ดละ 117 บาท หรือ ยา Nexium 40mg . ซึ่งเป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะที่ร้านขายยาขายเม็ดละ 55.75 บาท แต่โรงพยาบาลเอกชนขายเม็ดละ 156 บาท

ดังนั้น เธอจึงนำรายละเอียดของยาพร้อมราคายาของโรงพยาบาลแล้วศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ ราคายาที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เป็นราคากลาง ซึ่งเธอก็พบว่า ราคายาที่ต้องจ่ายถึง 9 หมื่นกว่าบาทในขณะที่ราคากลางของกระทรวงฯเพียง3 หมื่นกว่าบาทรวมแล้ว เบ็ดเสร็จ เธอต้องจ่ายแพงขึ้นถึง 6 หมื่นกว่าบาท

นี่ เป็นตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น ถึงค่ายาจากโรงพยาบาลเอกชนที่ลูกค้าหลายคนเข้าไปใช้บริการแล้วประสบปัญหาค่า รักษาที่แพงเกินความเป็นจริง

ไม่เพียงเท่านั้น ก่อนหน้านี้ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์เองก็ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนถึงความเดือดร้อนในการเข้า รับการรักษาโรงพยาบาลเอกชนที่มีการคิดราคาสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลมาก โดยเฉพาะราคายาที่โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งมีกำไรจากราคายามากถึง 30-200% ขณะที่โรงพยาบาลของรัฐ หรือร้านขายยาทั่วไปมีกำไรแค่ 15-30% ส่วนค่าตรวจรักษาพยาบาลพบว่าโรงพยาบาลเอกชนมีการปรับเพิ่มราคาจากปี 2545 จนถึงบัดนี้สูงถึง 66% ขณะที่โรงพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นแค่ 11% และเมื่อเทียบอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนกับรัฐแตกต่างกันถึง 194%

ชำแหละค่าต๋งบริษัทยา - รพ.

แหล่ง ข่าว ด้านเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม ยอมรับกับ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์ ว่า เป็นความจริง ที่เกิดขึ้นกับรพ.เอกชน โดยเฉพาะการบวกราคายาซึ่งเป็นรายได้หลักโดยตรง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะคิดไม่เท่ากัน โดยหลักคิด คือ ถ้าเป็นยาราคาไม่แพงนัก ก็อาจจะชาร์จมากอาจจะเป็น 5-10 เท่า แต่ ถ้าเป็นยาราคาแพงก็จะชาร์จไม่มาก แต่โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่จะชาร์จเพิ่มเริ่มต้นที่ 30% ขึ้นไป จนไปถึง 200-300%

“คุณ รู้ไหม ทำไมค่ารักษาพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลรัฐกับเอกชนจึงต่างกันหลายเท่า เพราะโรงพยาบาลรัฐไม่มีค่าก่อสร้างอาคาร ค่าจ้างบุคลากร หรืออื่นๆ ทั้งหมดนี้อยู่ในงบประมาณที่รัฐบาลจัดให้ แต่โรงพยาบาลเอกชนมีค่าก่อสร้างอาคาร ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า และอื่นๆ ทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องนำมาคำนวณในการคิดค่ารักษาพยาบาลและค่ายาก็ เป็นส่วนสำคัญที่จะหารายได้มากที่สุด”

กระนั้น เภสัชกรรายนี้ บอกว่า เหตุผลข้างต้าน ก็ไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของราคายาที่แพงมากในโรงพยาบาลเอกชน แต่ส่วนหนึ่งมาจาก การแข่งขันของบริษัทยาที่ทำการตลาดกันรุนแรง โดยตั้งราคายาสูงเกินจำเป็นแล้วตัดเงินมาทุ่มกับผู้เกี่ยวข้อง

“ทุก วันนี้ถ้าคุณๆไปนั่งที่สนามบินสุวรรณภูมิ แล้วบังเอิญคุณเป็นคนที่กว้างขวางรู้จักบรรดาแพทย์ เภสัชกรที่ทำงานโรงพยาบาล คุณจะพบว่าแทบทุกวันมีการสปอนเซอร์จากบริษัทยา นำบุคลากรเหล่านี้เดินทางไปต่างประเทศ โดยใช้การประชุมวิชาการบังหน้า บางครั้งก็ทำรายการเที่ยวล้วนๆด้วยซ้ำไป ยิ่งเป็นแพทย์ที่อยู่ในคณะกรรมการจัดซื้อยา ที่มีอำนาจในการดันรายชื่อยา หรือหมอคนนี้มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ จะเป็นแกนนำในการใช้ยา จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ ”

เขา เล่าต่อว่า อย่างไรก็ตามการเข้าไปจับคนที่มีPowerในการจัดซื้อยาอย่างเดียวไม่พอ ต้องไปหา “มือปืนมายิง”ซึ่งเป็นศัพท์แสลงใช้เรียกหมอออกตรวจคนไข้ทั่วไปในรพ. เนื่องจากแพทย์เหล่านี้จะมีอำนาจในการสั่งยาจ่ายยาโดยตรง และถ้าหมอคนเดิมทำบ่อยๆ ทางรพ.อาจจะเรียกหมอมาคุยและซื้อมาเป็นล็อต นั่นหมายถึงหมอคนนั้นก็ได้เงินทันที หรือ กรณีใช้หมอเป็นตัวกลางในการสั่งยา กรณีที่คนไข้หาซื้อยาไม่ได้

โดย เฉพาะยามะเร็ง ส่วนใหญ่จะหาซื้อยาก เพราะราคาสูง ร้านขายยาไม่ค่อยนิยมสต็อกไว้ และเวลาขายแต่ละครั้งต้องขายตามใบสั่งแพทย์ แถมยังต้องมีบันทึกรายงานส่งอย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) ซึ่งยุ่งยาก หรือหากคนไข้จะไปซื้อตรงกับโรงงานก็ไม่ได้ เพราะกฏหมายระบุไว้ว่า จะซื้อขายโดยตรงกับผู้ป่วยไม่ได้ ดังนั้นคนไข้ส่วนใหญ่ก็ต้องซื้อผ่านแพทย์หรือไม่ก็โรงพยาบาลที่ได้รับการอนุ ญาติ

“ตอนนี้ เป็นเรื่องปกติของการทำการตลาดไปแล้ว เพราะบริษัทยาเหล่านี้จะมีเซลสวยๆ มีของขวัญมาให้ มีการตั้งเป้าหมายแต่ละคนจะได้ทำตัวเลขเท่าไร บริษัทจะมีสนับสนุนเช่นวิชาการ เทคนิคการขายที่จะต้องมี นอกเหนือจากนั้นเซลเหล่านี้ ยังมีงบพิเศษสนับสนุนการขายอีกด้วย เช่นการเบิกงบเอ็นเตอร์เทนต์ งบซื้อของขวัญ ขึ้นอยู่กับวอลุ่มในการทำยอดขายของเซลแต่ละคน เช่น ถ้าเซลคนนั้นมียอดขายเดือนละล้าน ถ้าจะของบสนับสนุนการขายครั้งละ 1-2 หมื่นก็จะได้รับการอนุมัติได้ไม่ยาก”

อย่าง ไรก็ดี “เวทิต อรรถเวชกุล” ผู้อำนวยการองค์การเภสัช ได้กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์”ว่า การที่ยาของภาคเอกชนแพงกว่ายาของภาครัฐนั้น เชื่อว่ามาจากหลายปัจจัย คือ 1.จำนวนการผลิตเขาต่ำกว่าหรือเปล่า 2.เขาต้องการกำไรมากไปหรือเปล่า 3.มาตรฐานที่องค์การอาหารและยา (อ.ย.) ต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

และ 4.การแข่งขันของบริษัทจำหน่ายยาจากต่างประเทศ ทั้งประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งหากมีการเปิดการค้าเสรีในปี 2558 เชื่อว่าจะควบคุมตรงนี้ได้ยากขึ้น เพราะปัจจุบันมูลค่ายาจากที่ซื้อจากบริษัทต่างประเทศมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 70,000-80,000 บาท ขณะที่มูลค่าของการซื้อยาภายในประเทศมีเพียง 30,000 ล้านบาทเท่านั้น

“ รพ.เอกชนใช้ยาที่มาจากต่างประเทศทำให้ราคาจำหน่ายยาต้องสูงขึ้น โดยกำไรจากการจำหน่ายยาจะอยู่ที่นโยบายของรพ. ยาบางตัวกำไรเป็น 100% ขณะที่บางตัวก็กำไรแค่ 10% เท่านั้น ทั้งนี้ ยาที่แพงในปัจจุบันมีอยู่หลายตัว อย่าง ยารักษาโรคมะเร็ง ยารักษาโรคเลือด ยาพวกนี้ที่ยังมีสิทธิบัตรอยู่ทำให้ยาเหล่านี้มีราคาจำหน่ายแพง ซึ่งสิทธิบัตรยาจะมีอายุถึง 20 ปี “

ส่วน การมองว่ายาแพงเพราะส่วน หนึ่งต้องจ่ายค่าเปอร์เซ็นต์ให้กับแพทย์ นั้น ในมุมมองของ “เวทิต” แล้วเห็นว่า การจ่ายเงินค่าเปอร์เซ็นต์ให้กับแพทย์นั้น ในความเป็นจริงแล้วแพทย์ไม่มีสิทธิได้เงินตรงนั้น แต่เงินส่วนนี้บริษัทยาจะจ่ายให้เป็นเงินสวัสดิการของรพ.รัฐ ซึ่งจะมีคณะกรรมการดูแล โดยเงินดังกล่าวรพ.รัฐจะใช้ในการบริหารจัดการรพ. แต่รพ.รัฐบางแห่งก็ไม่มีนโยบายดังกล่าว ขณะที่รพ.เอกชนก็มีหลายแห่งที่ไม่มีนโยบายตรงนี้ อย่างรพ.เอกชนที่บริหารงานโดยครอบครัว

ส่วน การควบคุมราคายานั้นหาก เป็นรพ.รัฐก็มีหน่วยงานอย่างประกันสังคม บัตรทอง กรมบัญชีกลาง ฯลฯ ควบคุมอยู่แล้วเพื่อให้ราคายาเป็นที่พอใจของแพทย์และคนไข้ ขณะที่รพ.เอกชนหลายแห่งที่เข้าโครงการประกันสังคม บัตรทอง ฯลฯ ก็จะมีหน่วยงานพวกนี้ควบคุมเพื่อให้ค่าใช้จ่ายยามีความสมเหตุสมผล

รพ.เอกชน แจงเหตุ
ยาแพงเพราะต้นทุนสูง


จาก กรณีดังกล่าว “ผู้จัดการ 360 องศรายสัปดาห์”จึงได้สอบถามเรื่องนี้ไปยัง “นพ.อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 ที่ได้ชี้แจงว่า การที่ค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนมีราคาที่สูงกว่าของโรงพยาบาลรัฐนั้น เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนมีการรวมเรื่องค่าบริการ ค่าแพทย์ และค่าอื่นๆ ในขณะที่โรงพยาบาลรัฐไม่มีการคิดค่าดังกล่าวทำให้ค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน แพงกว่าโรงพยาบาลรัฐ

สำหรับ กลุ่มยาที่มีราคาแพงจะเป็นกลุ่มยารักษา โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน เนื่องจากเป็นยาที่ไม่สามารถผลิตในไทยได้ทำให้ราคาแพง โดยราคายาที่ผลิตจากต่างประเทศจะสูงกว่ายาที่ผลิตในประเทศไทยมากถึง 50% อย่างไรก็ดี ราคายาของโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่โรงพยาบาล อย่างไรก็ดี ถ้าเป็นกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันราคาจะไม่แตกต่างกันมากนัก

ส่วน ข้อกล่าวหาที่ว่าแพทย์รับเงินใต้โต๊ะจากบริษัทยาเพื่อช่วย บริษัทยาจำหน่ายยานั้น เชื่อว่าไม่มีเนื่องจากผิดจรรยาบรรณของแพทย์ นอกจากนี้ แพทย์ที่มีจรรยาบรรณจะต้องจ่ายยาให้ตรงกับโรคและตัวบุคคล ดังนั้น การรับเงินใต้โต๊ะจึงไม่มีทางที่แพทย์จะทำอยู่แล้ว

สำหรับ การที่ บริษัทยาเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับโรงพยาบาลเพื่อแลกกับ การซื้อยานั้น บริษัทยามีหน้าที่ในการสนับสนุนเรื่องวิชาการให้กับแพทย์อยู่แล้ว แต่หากบริษัทยาที่เข้ามาสนับสนุนวิชาการเพื่อแลกกับการซื้อยานั้น โรงพยาบาลจะไม่สนับสนุนบริษัทดังกล่าว

ส่วน การควบรวมโรงพยาบาลระหว่างเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโลกับโรงพยาบาลกรุงเทพ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา เชื่อว่าจะช่วยเรื่องของการจัดซื้อยาและอุปกรณ์การแพทย์ได้ไม่น้อย แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้เท่าใด

ผู้ บริหาร รพ.เอกชนอีกรายหนึ่งกล่าวเสริมว่า ค่ายา เป็นเอกสิทธิ์ของโรงพยาบาลว่าจะตั้งราคาเท่าไหร่ โดยทั่วไป จะรวมค่าบริหารจัดการของโรงพยาบาลเข้าไปด้วย ไม่ใช่คิดเฉพาะต้นทุนยาเหมือนในโรงพยาบาลรัฐ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน ที่มีการรวมค่าบริหารจัดการเข้าไปด้วยส่วน Doctor Fee กับค่าพยาบาล จะเป็นส่วนของแพทย์ หรือพยาบาล ซึ่งปกติโรงพยาบาลไม่ได้มีกำไรจากส่วนนี้อยู่แล้ว

“กำไร โรงพยาบาล เอกชนส่วนใหญ่จะอยู่ตรงค่ายา กับค่าอุปกรณ์ครับ หักไปหักมาแล้ว กำไรจริงๆ จากการขายยาอยู่สัก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่แพงๆ นั่น Overhead Cost ทั้งนั้น ถ้าทำใจจ่ายไม่ได้ ก็ต้องใช้บริการคลินิก หรือโรงพยาบาลรัฐ ที่มีการสนับสนุน Overhead Cost ส่วนนี้จากภาษีจะดีกว่า”

สอด คล้อง กับการให้สัมภาษณ์ของ “ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์” ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่มภูมิภาค โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งเคยชี้แจงเรื่องนี้ผ่านนิตยสารผู้จัดการว่า รายได้ จากโรงพยาบาลจะมีรายรับมาจากการหักเปอร์เซ็นต์ค่าพบแพทย์ โดยหักจากผู้ป่วยนอก (OPD) 15% เป็นค่าใช้จ่ายด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ แต่สำหรับผู้ป่วยใน (IPD) ทางโรงพยาบาลจะไม่หักเปอร์เซ็นต์ค่าแพทย์ไว้ แต่จะมีรายได้ในส่วนของ ค่าพยาบาล ค่าเครื่องมือแพทย์ ค่าพื้นที่ ที่ได้จากการเรียกเก็บจากคนไข้ นอกจากนี้ รายได้แหล่งใหญ่ของโรงพยาบาลยังมาจากการขายยา ซึ่งราคาค่ายากจะถูกบวกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการตรวจรักษาเข้าไปด้วย และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมยาในโรงพยาบาลจึงแพงกว่าร้านขายยาทั่วไป

"คน ไข้มักจะลืมไปว่าในห้องตรวจมีค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้แพทย์ไม่ได้เป็นคนออก จึงต้องมีส่วนอื่นเข้ามาช่วย ซึ่งบางแห่งก็คิดค่าใช้จ่ายตรงนี้ประมาณ 50-80 บาท" น.พ. สิน ไขข้อข้องใจ

สำหรับ อัตราค่ารักษาพยาบาล ในส่วนของค่าพบแพทย์ (doctor fee) ทางบำรุงราษฎร์จะกำหนดพิสัย (range) เป็น guideline ไว้ให้แพทย์ในการเรียกเก็บโดยจะพิจารณาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลที่เป็น Treasury Care เหมือนกัน แต่จะไม่มีการกำหนดไว้ตายตัวเพราะอัตราค่าพบแพทย์ที่เป็นระดับอาจารย์แพทย์ จะสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งนี่ก็เป็นคำตอบว่าทำไมบางครั้งบิลล์ที่คนไข้ได้รับถึงกับต้องผงะ

อย่าง ไรก็ตาม น.พ. สินได้เปรียบเทียบว่าค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยในไทยกับอเมริกาด้วยเครื่องมือ เหมือนกันจะถูกกว่าในอเมริกาประมาณ 30% แต่หากเปรียบเทียบอัตราค่ารักษาของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และสิงคโปร์โดยเฉลี่ยจะพบว่าไทยจะอยู่ตรงกลางระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย

เช่น การเปลี่ยนไต ค่ารักษาจะตกประมาณ 397,000 บาท ขณะที่สิงคโปร์ประมาณ 975,000 บาท และมาเลเซีย 392,000 บาท, การผ่าตัดทำคลอด ไทยประมาณ 49,000 บาท สิงคโปร์ 60,000 บาท มาเลเซีย 42,000 บาท, ผ่าตัดไส้ติ่ง ไทย 49,000 บาท สิงคโปร์ 50,000 บาท มาเลเซีย 39,000 บาท ยกเว้นการตัดต่อเส้นเลือดหัวใจ (By-Pass) การตรวจคลื่นหัวใจ การสแกนสมอง และการตรวจร่างกายผู้บริหาร อัตราค่ารักษาของไทยจะถูกที่สุด ตกประมาณ 397,000 บาท 300 บาท 3,900 บาท และ 1,000 บาท ตามลำดับ

กระนั้น ก็มี ข้อเท็จจริงรายได้ของหมอ ซึ่งแหล่งข่าวซึ่งเป็นแพทย์หญิงได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า -รพ.เอกชน หมอจะได้ค่ารักษาที่เรียกว่าDFหรือdoctor free หรือค่าทำหัตถการ ค่าตรวจเยี่ยมคนไข้ในเท่านั้น ส่วนค่าDFบางรพ.ให้หมอลงเองแต่บางรพ.ก็จะมีค่าDFตายตัวอยู่แล้ว สำหรับค่าหัตถการคือ หากเย็บแผล ใส่เผือก อันนี้ถ้าหมอเย็บให้ ถือว่าเป็นค่าหัตถการ แต่บางรพ.ก็ไม่ได้ทั้งหมดจากที่รพ.เก็บจากคนไข้แต่จะได้บางส่วนเท่านั้น

“สำหรับ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ รพ.เป็นคนคิดราคา หมอไม่ได้มีส่วนได้ในตรงนี้ ซึ่งแต่ละ รพ.ก็คิดราคายาไม่เท่ากัน ดังนั้นหากคนไข้ต้องการให้เขียนชื่อยาเพื่อไปซื้อข้างนอกสามารถทำได้เนื่อง จากเป็นสิทธิผู้ป่วยค่ะ หากแต่หมอคงไมได้ถามคนไข้ทุกคนว่าต้องการชื่อไปซื้อเองหรือไม่ ถ้าผู้ป่วยประสงค์ย่อมทำได้”

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคย้ำ 
คนไข้มีสิทธิซื้อยาข้างนอกรพ.


กระนั้น มีการถกเถียงประเด็นเรื่องราคายา หรือราคาค่าบริการเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากใน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีประเด็นเรื่องการควบคุมราคายา หรือแสดงโครงสร้างราคายา คงมีแต่ในพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ซึ่งมีประเด็นที่ว่า ยาเป็นสินค้าควบคุม ตามมาตรา 24 แต่ก็ไม่เคยมีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ที่ออกมาว่ายานั้นควรมีราคาเท่านั้น เท่านี้ หรือขายในราคาที่ไม่เกินที่

ทั้ง นี้ คณะกรรมการกำหนดไว้ตามมาตรา 25 หรือในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง (ยังไม่ได้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่) คงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด (จะมีเพียงแต่สินค้าบางรายการเท่านั้นที่กำหนดราคาสูงสุดมาให้เลย) อย่างไรก็ดี ยารักษาโรค เป็นสินค้าควบคุมของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะควบคุม ไม่ให้ขายในราคาที่สูงกว่า ราคาที่กำหนด

ดัง นั้น ผู้เสียหาย รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ประสบเหตุยาแพง อาจแจ้ง กรมการค้าภายในได้ รายงานข่าวดังกล่าว เป็นเครื่องสะท้อน ให้เห็นว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยมักมีความเข้าใจผิดๆว่า การรักษาพยาบาล เป็นเรื่องตายตัว ยืดหยุ่นไม่ได้ แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรค และสั่งยาเท่านั้น

“สา รี อ๋องสมหวัง” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และในตำแหน่งล่าสุดโฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ให้ความเห็นกับ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์”ว่า ในความเป็นจริง ผู้ป่วยและญาติ มีสิทธิ์สอบถามแพทย์ ถึงอาการ แนวทางการรักษา ที่ได้ผลที่สุด และที่สำคัญ ก็คือ ยาที่ใช้รักษาโรคนั้น รวมทั้งราคายาโดยประมาณ เช่น ถ้าไปโรงพยาบาลรัฐบาล สามารถ แจ้งความจำนงว่า ต้องการยาที่ดีที่สุด แม้ไม่มียาในห้องยาของโรงพยาบาล ก็ขอให้แพทย์ เขียนใบสั่งยา ให้ออกไปซื้อ ที่ร้านขายยา นอกโรงพยาบาลได้

แม้ ไปโรงพยาบาลเอกชน ก็มีสิทธิ์ขอใบสั่งยา ออกไปซื้อ ยา นอกโรงพยาบาลได้เช่นกัน จะได้ไม่ต้องจ่ายค่ายาแพง เมื่อผู้ป่วยแจ้งเจตจำนง ให้แพทย์เขียนใบสั่งยาแล้ว อาจถามแพทย์เพิ่มเติมว่า มียาชนิดอื่น นอกจากที่ เขียนในใบสั่ง ที่มีประสิทธิผล ทางการรักษาสูงสุดหรือไม่ ถ้ามี และเราต้องการ ก็ขอให้เขียน ใบสั่งยา ให้ใหม่ เพราะบางครั้ง การถามครั้งนั้น อาจทำให้คุณและญาติๆ หายป่วยเร็วกว่าปกติด้วย

“การ ที่ผู้บริโภคจะร้องขอให้แพทย์เขียนใบสั่งซื้อยาเพื่อนำไปซื้อยา ข้างนอกนั้นเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เพราะผ่านมาตนเองก็เคยทำแบบนี้ ซึ่งการไม่ซื้อยากับโรงพยาบาลจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งได้ เป็น 10 เท่าตัว จากที่เคยจ่ายค่ารักษารวมกับค่ายาและบริการครั้งละ 6,000 บาทต่อการรักษาหนึ่งครั้งก็เหลือเพียง 600 บาทต่อครั้ง”

แต่ ใน ทางกลับกัน การผนึกกำลังและเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลขนาดเล็กและกลาง ที่มีสายป่านไม่ยาวพอ จนอาจต้องถูกกลืนในที่สุด เพราะอำนาจการต่อรองที่น้อยกว่าโรงพยาบาลเครือข่ายจำนวนมาก และนี่จึงเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า อนาคตธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในไทยจะเหลือเพียงไม่กี่กรุ๊ปเท่านั้น

สิ่ง ที่น่าสนใจคือ วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลเอกชนไทยที่ต้องการจะก้าวเป็นผู้นำในตลาดโลก และพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่มีกำลังซื้อมากกว่าตลาดในประเทศ ปัญหาคือ ระบบการรักษาในของคนภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรพ.รัฐ ,ประกันสังคม และบัตรทอง จะพัฒนามารองรับความต้องการได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่ ?

***************

ชำแหละปมคนไทยซื้อยาราคาแพง!!!

ใน แต่ละปีคนไทยใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อยาเพื่อมารักษาโรคเป็นเม็ดเงินนับหมื่น ล้านบาท ขณะเดียวกันยาบางประเภท หากซื้อจากร้านขายยา คลีนิกเอกชน โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน มักราคาแตกต่างกันมาก หรือ ซ้ำร้ายแพงกว่ากันเป็นหลักร้อยบาทต่อชนิด โดยที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสามารถทำกำไรจากการจำหน่ายยาบางชนิดสูงเฉลี่ย ประมาณ 30-200 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ก่อให้เกิดคำถามว่า เหตุใดคนไทยต้องจ่ายเงินซื้อยารักษาแพง

เปิดปม 6 ต้นเหตุยาแพง

ประธาน การประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ระบุถึง ปัญหายาแพงมี 6 ประการ คือ หนึ่ง - สิทธิบัตร สอง - สิทธิผูกขาดที่ทำนอกเหนือสิทธิบัตรยา ยกตัวอย่าง เมื่อยาใหม่ที่ไม่มีสิทธิบัตรเข้ามา พวกบริษัทยาจะนำยากลุ่มนี้เข้าโครงการควบคุมกำกับยา โดยจะห้ามบริษัทยาอื่นผลิตยากลุ่มนี้ทันที ที่สำคัญจะสามารถตั้งราคายาได้ตามใจชอบ

สาม - การโฆษณาเกินจริง อย่างวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่ระบุว่า สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ทั้ง ๆ ที่ประสิทธิภาพไม่ได้มากเท่าที่โฆษณา ซึ่งตรงนี้ทำให้ธุรกิจยามีรายได้มหาศาล เห็นได้จากพวกซีอีโอของธุรกิจยาต่าง ๆ มีเงินเดือนตลอดทั้งปีสูงถึง 3,500 ล้านบาท และยังมีสิทธิซื้อหุ้นในราคาถูกอีก 3,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้มหาศาลทีเดียว

สี่ - งบประมาณส่งเสริมการขาย อาทิ การสนับสนุนแพทย์บางกลุ่มในการจัดกิจกรรม โดยแพทย์กลุ่มนี้ก็ทำตัวเหมือนทาสบริษัทยา และแพทย์เหล่านี้ก็จะสั่งจ่ายยาของบริษัทตัวเองเป็นการตอบแทน

ห้า - อุตสาหกรรมยาของประเทศไทยอ่อนแอ กลายเป็นจุดอ่อน ขณะที่ประเทศอินเดียกลับผลิตยาขายประเทศต่าง ๆ ได้ เพราะมีความกล้าในการผลิต แต่อุตสาหกรรมยาในไทยขาดความกล้า ทำให้ยังเป็นอุตสาหกรรมทารกอยู่ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เพียงพอ และ หก-การยัดเยียดการจ่ายยา โดยให้แพทย์บางรายสั่งจ่ายยาแพง ๆ กรณีที่ผู้ป่วยบางรายเบิกจ่ายได้ เป็นต้น

“ ที่สำคัญปรัชญาของการขายยาของบริษัทยาในยุคนี้เปลี่ยนไปจากเดิมที่มุ่งขายยา เพื่อรักษาความเจ็บป่วย ก็เปลี่ยนมาเป็นการขายยาเพื่อยอดขาย โดยเน้นให้ความจำเป็นของยา ผ่านการกำหนดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ เบาหวานเมื่อก่อนเกิน 150 มิลลิกรัมจึงจะต้องใช้ยา แต่ปัจจุบันแค่ 120 มิลลิกรัม ก็ถูกแพทย์ระบุว่าต้องใช้ยาแล้ว ขณะเดียวกัน ระบบของรพ.เมืองไทยจะขึ้นอยู่ระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่มี สมาคมวิชาชีพเป็นผู้กำหนดให้คุณและโทษ แต่ไม่เคยคำนึงถึงผู้รับบริการ ”

แฉ บ.ยาตั้งราคาเกินจริง

ขณะ ที่ การวิจัยศึกษ าเรื่อง ราคายาในประเทศไทย ของคณะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากวงการยา จากภาควิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ จากหน่วยวิจัยเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร ได้ร่วมกับ ภญ.วรสุดา ยูงทองแห่งกองควบคุมยา อ.ย. ระบุว่า จากการ สำรวจยา 43 ชนิดที่จำหน่ายอยู่ในประเทศไทย และที่ขึ้นทะเบียนในปี 2550พบว่า ร้อยละ 51 ของยาที่สำรวจ มีราคาตั้งแต่เม็ดละ 11-50 บาท ขณะที่ร้อยละ 15 มีราคาตั้งแต่เม็ดละ 51-33 บาท ร้อยละ 25 มีราคาตั้งแต่เม็ดละ101-500 บาท และ ร้อยละ 3 มีราคาสูงกว่าเม็ดละ 1,000 บาท จะเห็นว่าโดยภาพรวมถือว่ายามีราคาแพงมาก ที่สำคัญเมื่อตรวจสอบราคาต้นทุนที่บริษัทยาแจ้งไว้กับกรมการค้าภายในกับราคา ที่ขายให้โรงพยาบาลรัฐ พบว่ามีส่วนต่างถึง 60-800 เท่า

ปัจจัย สำคัญที่ทำให้ราคายาแพงคือ “สิทธิบัตร” หากไม่มีสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตรหมดอายุทำให้ราคาถูกลงได้ถึง ร้อยละ 90 อาทิกรณียาต้านไวรัสบางตัวที่ มีสิทธิบัตรแพงกว่ายาไม่มีสิทธิบัตร 6เท่า ยารักษาโรคเบาหวานที่มีสิทธิบัตรแพงกว่ายาไม่มีสิทธิบัตร 14.5 เท่า

อีก ปัจจัยหนึ่ งที่ สำคัญคือ บริษัทขายยาให้โรงพยาบาลในราคาแพงกว่ าที่ แจ้งไว้กับกรมการค้าภายในหลายร้อยเท่าตัว โดยให้เหตุผลว่า เป็นมูลค่าที่รวมค่าบริหารจัดการภายในทว่าเมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดได้ พบประเด็นที่น่าพิจารณา คือ

1. ค่าใช้จ่ายดังกล่ าวเน้นหนักไปที่ “การตลาดหรือการส่งเสริมการขาย” หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ กระตุ้นผู้บริโภคโดยตรง มีการสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายในการโฆษณายาของไทยมีมูลค่าสูงมาก เฉพาะการโฆษณาในสื่อหลัก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุบิลบอร์ด ฯลฯ ในช่วง 3 ปี(พ.ศ.2549-2551) สูงกว่าปีละ1,500 ล้านบาท

2. การสนับสนุนการทำกิจกรรมของแพทย์บางกลุ่ม เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นในฐานะที่ แพทย์เป็นผู้สั่ งจ่ ายยา โดยเฉพาะการสนับสนุนแพทย์ให้ใช้ยาของบริษัทนั้นๆ รวมถึงบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ เช่น เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งล้วนแต่เป็น “ผู้มีอำนาจในการจ่ายยาและจัดซื้อยา” ทั้งสิ้น

กลวิธี ที่บริษัทยาใช้เพื่อให้เข้าถึงผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายยา อาทิการเชิญไปต่างประเทศ การให้ทุนทั้งระดับบุคคลและสถาบัน การติดต่อโดยใช้สาวสวย หรือ “พริตตี้” การให้ค่าตอบแทนแพทย์ตามยอดสั่งยา และให้ค่ารายหัวกรณีที่สั่งจ่ายยารักษาโรคเรื้อรังแก่ผู้ป่วยรายใหม่ เป็นต้น

สภาพ เช่นนี้ส่งผลต่อการจ่ายยาและการจัดหายา อาทิทำให้ยามีราคาแพงเกินจริง ส่งเสริมให้เกิดการจ่ายยาอย่างฟุ่มเฟือย การสั่งซื้อยาบางกลุ่มที่ไม่จำเป็น และการให้ยาที่ไม่เหมาะสมจนอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

นี่ คือปมปัญหาอันท้าทายของมนุษยชาติในวันนี้ ตราบเท่ าที่ “ยา” ยังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และผู้คนในทุกสังคมต่างอยู่ภายใต้สถานะแห่งความยากดีมีจนไม่แตกต่างกัน

ระบุรพ.รัฐบวกราคายา
สูงกว่าเอกชน


ทั้ง นี้ ยังพบอีกว่า สำหรับยาต้นแบบ (Original drug:ยาที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างมากและใช้เงินลงทุนสูง มีฤทธิ์รักษาจริงและผลข้างเคียงน้อย ผู้ผลิตยาต้นแบบจะได้รับสิทธิบัตรผูกขาดในการผลิตยาประมาณ 20 ปี เมื่อสิทธิบัตรสิ้นสุดลง ผู้ผลิตรายอื่นก็สามารถผลิตยานั้นออกจำหน่ายได้ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่าง ประเทศ) กับ ยาสามัญ (Generic drugs: ยาที่ผลิตขึ้นภายใต้เครื่องหมายการค้าอื่นใด ที่ไม่ใช่เครื่องหมายการค้าตามสิทธิของผู้ครองสิทธิบัตรยา แต่มีตัวยาสำคัญ เป็นชนิดเดียวกันกับยาต้นแบบ โดยผลิตหลังจากยาต้นแบบได้รับการรับรอง และอนุมัติให้ ใช้ในการรักษาโรคแล้ว ซึ่งอาจลอกเลียนสูตรยาต้นแบบเมื่อยาเหล่านั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว มีราคาถูกกว่ายาต้นแบบหลายเท่าตัว มีทั้งนำเข้าจากต่างประเทศไทยและผลิตในประเทศ ) ระหว่างโรงพยาบาลของรัฐ กับ ร้านขายยาเอกชน พบว่า

ราคา ยาต้นแบบของโรงพยาบาลรัฐที่ขายให้ผู้ป่วยแพงมีการตั้งราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้น บวกจากต้นทุน (Mark up )เฉลี่ย 32 เปอร์เซ็นต์ และยาสามัญราคาเพิ่มขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ราคายาสามัญของร้านขายยาเอกชน 36.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนยาต้นแบบของร้านขายยาเอกชนบวกเพิ่มขึ้นจากราคาต้นทุน 43.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยาสามัญบวกเพิ่มขึ้น 36.6 เปอร์เซ็นต์

“ประเทศ ไทยไม่มีมาตรฐานทั้งราคาซื้อและขาย ไม่มีการควบคุม(mark up) แม้แต่ราคาที่ภาครัฐซื้อแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน เนื่องจากผู้ขายยอมขาดทุนในบางแห่ง แต่นำกำไรจากโรงพยาบาลอื่นๆหรือภาคเอกชนบางแห่งมาชดเชย ดังนั้นราคายาที่ภาครัฐขายให้ผู้ป่วยจึงแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นgeneric เดียวกัน หรือยาบางตัวแม้จะมีชื่อสามัญและมีการแข่งขันแล้ว ยาแบรนด์ก็ยังแพงมากอยู่”

นอก จากนี้ ยังมีการตั้งราคาไม่สามารถตรวสอบได้ ทั้งนี้หากวิเคราะห์ต้นทุนแท้จริงของยา ประกอบด้วย หนึ่ง-การวิจัย สอง-การบริหารจัดการ สาม-การตลาด สี่-ภาษี สำหรับยาในประเทศ ภาษีเป็น 0 % ส่วนยานำเข้าจากต่างประเทศ ภาษีนำเข้าประมาณ 0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับยาประเภทวัคซีน และประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับยานำเข้าทั่วไป โดยโครงสร้างต้นทุนแท้จริงของราคายาแต่ละตัวไม่ค่อยมีใครทราบ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตยาสามารถแจ้งเท่าไหร่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อต้องไปต่อรองราคายาจึงค่อนข้างลำบาก ส่งผลให้โครงสร้างราคายาจำหน่ายจึงไม่มีมาตรฐานขึ้นอยู่กับความสามารถในการ ต่อรอง และกลยุทธ์ในการทำตลาดบริษัทยา

“ เราไม่มีโอกาสรู้เลยว่า ราคาที่บริษัทจำหน่ายหรือบริษัทนำเข้ายาแจ้งต่อคณะกรรมการอาหารและยา และกรมการค้าภายในเป็นราคาที่สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคาเอง โดยรัฐไม่มีอำนาจต่อรอง ทั้งนี้เมื่อสำรวจงบการเงินบริษัทยา 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ความสามารถในการทำกำไรสูงกว่าบริษัทยาในอังกฤษ เช่น เมื่อพิจารณาดูจากค่า ROCE กำไรสุทธิก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยนต่อสินทรัพย์หักหนี้ระยะสั้นเท่ากับ 0.335 ขณะที่ในอังกฤษเท่ากับ 0.21”

ผู้เชี่ยวชาญยา แนะทางออกแก้ปม

อย่าง ไรก็ตาม แนวทางควบคุมราคายาไม่ให้แพงเกินเหตุนั้น อาจารย์ รศ.ดร.ชะอรสิน แนะนำว่า ภาครัฐควรมีหน่วยงานเฉพาะที่มีอำนาจและหน้าที่เข้ามากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ ตั้งแต่ต้นทุนแท้จริง ราคานำเข้า หรือราคาจำหน่ายต่อผู้ป่วยแล้ว โดยกำหนดให้อยู่ภายในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขและคณะทำงานที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญยา ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยา

ขณะ เดียวกัน ด้านกฏหมาย จำเป็นต้องมีกฎหมายหรือกฎระเบียบในการควบคุมราคายาอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ให้อำนาจและหน้าที่หน่วยงานและบุคลากรที่ทำงานอย่างครอบคลุม

“ ปัจจุบันเมืองไทย มีระบบควบคุมราคายาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจาก มีเฉพาะแต่การควบคุมราคาจำหน่ายไม่ให้เกินราคาที่กำหนดไว้ โดยหน่วยงานของรัฐเพียงแห่งเดียว ได้แก่ กรมการค้าภายในตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ตามมาตรา 24-มาตรา 25 แต่ไม่ได้ควบคุมการตั้งราคาตั้งแต่การนำเข้าหรือการผลิต ทั้งนี้ การไม่มีกฏหมายควบคุมราคายาตั้งแต่ต้นน้ำมากำหนดตอนปลายน้ำ ซึ่งเป็นช่วงราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคไม่ให้ขายเกินราคาที่กำหนดไม่ได้แก้ ปัญหาปัญหาราคาแพงหรือสูงกว่าต้นทุนแท้จริง อีกทั้งยังเป็นช่องโหว่ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ายามักกำหนดราคายาให้สูงไว้ ก่อนและเมื่อนำมาจำหน่ายก็ลดราคาหรือขายเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ข้างกล่อง หรือราคาที่แจ้งไว้”อาจารย์ รศ.ดร.ชะอรสิน บอก

************

เปิด 6 แหล่งซื้อยาราคาถูก
ทางเลือกใหม่ยอดฮิตของคนไทย


เปิด 6 แหล่งจำหน่ายยายอดนิยมของคนไทยในกรุงเทพระบุ ส่วนใหญ่เป็นร้านขายยาแบบคีย์ แอกเคานต์ บางกอกน้อย, พาหุรัด, บางปะกอก, อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ดินแดง, สะพานใหม่, เทเวศน์ เน้น จุดขายราคายาถูกกว่าคู่แข่ง 10-25%

ปัจจุบัน ช่องทางการจำหน่ายยาในเมืองไทยมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ หนึ่ง-ร้านขายยาแบบโฮลด์ เซลล์ ที่เน้นขายยาในปริมาณมาก แบ่งเป็น แบบที่มีพนักงานขายออกไปวิ่งหาลูกค้า และแบบที่ลูกค้าติดต่อเข้ามาซื้อด้วยตนเอง โดยลูกค้าจะมีทั้งที่เป็นผู้บริโภคและกลุ่มร้านขายยา สอง-ร้านขายยาแบบคีย์ แอกเคานต์ (Key Account) ช่องทางขายยาที่มีหน้าร้านเหมือนร้านขายยาทั่วไป เป็นช่องทางที่จำหน่ายยาได้ในราคาถูกกว่าช่องทางอื่น โดยไม่ต้องซื้อในปริมาณมากเหมือนการซื้อในช่องทางโฮลด์ เซลล์ สาม-ร้านขายยาทั่วไป ที่จำหน่ายในราคาปรกติ ที่เน้นให้บริการเป็นหลัก เช่น ร้านฟาสสิโน, ร้านขายกรุงเทพ 24 ชม. หรือร้านขายยาที่เปิดให้บริการในห้างสรรพสินค้า

จาก รูปแบบช่องทางการจำหน่าย ที่แหล่งข่าวผู้อยู่ในธุรกิจ “ยา” มากว่า 30 ปี อธิบายกับผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์ ทำให้เห็นชัดว่า ร้านขายยาแบบคีย์ แอกเคานต์ คือ แหล่งขายยาราคาถูก ที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถสั่งซื้อได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องซื้อปริมาณมากๆในคราวเดียว เหมือนการซื้อผ่านช่องทางที่เป็นโฮลด์ เซลล์ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก

จาก การสำรวจของผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ พบว่า ในกรุงเทพมีอยู่ประมาณ 10 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในย่านชุมชนหลักของเขตต่างๆ อาทิ เช่น ย่านบางกอกน้อยใกล้โรงพยาบาลศิริราช ได้แก่ ร้านเพชรรัตน์ , ย่านพาหุรัด ได้แก่ ร้านจักรเพชร , ย่านบางปะกอก ได้แก่ ร้านคลังยา , ย่านอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ดินแดง ได้แก่ ร้าน 99 เภสัช ,ย่านสะพานใหม่ใกล้ตลาดยิ่งเจริญ ได้แก่ ร้านยาสาม, ย่านเทเวศน์ ได้แก่ ร้านเทเวศน์เภสัช ร้าน จ.เจริญ

จุด เด่นของร้านขายยากลุ่มคีย์ แอกเคานต์ แหล่งข่าว เล่าว่า ลักษณะการขายในช่องทางนี้ ยาจะมีราคาถูกกว่าร้านค้าทั่วไปและโรงพยาบาลทั่วไปประมาณ 10-25% นอกจากนี้ ยังเน้นความรวดเร็ว ไม่เน้นบริการ เพราะว่า “ ราคา” คือ สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด (Consumer Need )

ส่วน ต่างจังหวัด มีเฉพาะหัวเมืองใหญ่เฉลี่ยไม่เกิน 1 แห่ง ซึ่งนอกจากปริมาณการสั่งซื้อยาจากบริษัทผู้ผลิตในครั้งละปริมาณมากๆ เพื่อให้ได้ยาในราคาต้นทุนที่ต่ำแล้ว

“ ร้านยาประเภทคีย์ แอกเคาน์ที่สามารถขายยาได้ถูกกว่าร้านขายยาทั่วไป เพราะเป็นกลุ่มที่สั่งซื้อยาจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรงคราวละมากๆ ไม่น้อยกว่าการสั่งซื้อของกลุ่มโฮลด์ เซลล์ ทำให้ได้ต้นทุนถูกกว่าปรกติ ขณะเดียวกันกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาซื้อยาในช่องทางนี้ ส่วนใหญ่ก็จะสั่งซื้อคราวละมากๆเช่นกัน เพราะเป็นกลุ่มที่ต้องใช้ยาเป็นประจำ และให้คุ้มกับค่าเดินทาง ซึ่งจะสังเกตได้ว่าร้านยาประเภทนี้ ทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้โรงพยาบาล เพราะจะได้ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคทั่วไปและลูกคากลุ่มโรงพยาบาลด้วย”

แหล่ง ข่าว ลูกค้าประจำของร้านยาสาม ย่านสะพานใหม่ ให้ความเห็นว่า มักไปเลือกไปซื้อยาความดัน ยาลดไขมัน และยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาปวดหัว ปวดท้อง จากร้านยาสาม เพราะมีราคาถูกกว่าในโรงพยาบาลรัฐเป็นหลักร้อยถึงหลักพันบาท โดยเฉพาะเมื่อจำต้องซื้อยาเป็นปริมาณมากก็จะจ่ายแพงเป็นหลายเท่าตัว

เหตุผล สำคัญ ที่ทำให้ร้านจำหน่ายยากลุ่มคีย์ แอกเคานต์สามารถจำหน่ายยาในราคาที่ถูกกว่าโรงพยาบาลต่างๆ แหล่งข่าวคนเดิมบอกว่า เนื่องจาก สินค้ายาของร้านยาประเภทนี้สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงจากผู้ผลิต ทำให้ต้นทุนราคายาต่ำกว่าร้านค้าทั่วไป หรือ บางกรณีร้านยาฯยอมหั่นราคาสินค้าให้ถูกลงกว่าคู่แข่ง แต่เน้นปริมาณขายจำนวนมาก เนื่องจากการปริมาณซื้อมากก็จะทำให้มีราคาต่อรองจากผู้ผลิตสูง

นอก จากนี้ ลูกค้าที่เลือกเข้ามาซื้อร้านขายยาประเภทดังกล่าวนั้น มักมีความรู้เรื่องยาที่ต้องการอยู่แล้ว และส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ต้องใช้ยาประเภทนั้นเป็นประจำ เช่น ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดัน ต่างจากลูกค้าที่เลือกใช้บริการในร้านขายยาทั่วไป ที่ต้องการคำแนะนำจากเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยา หรือผลข้างเคียง ขณะที่ “ราคา” เป็นปัจจัยรองลงมา

อย่าง ไรก็ตาม แม้ลูกค้านิยมไปซื้อยาจากกลุ่มดังกล่าว แต่ร้านค้าคีย์แอคเคาน์ในปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับร้านขายยาประเภทอื่นๆ สาเหตุสำคัญมาจาก การทำธุรกิจร้านยาประเภทนี้ ต้องอาศัยฐานลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการบอกต่อด้วยกันในกลุ่มลูกค้า อีกทั้งต้องมีจุดแข็งด้านชื่อเสียงของร้านที่สร้างความเชื่อมั่นและความ ภักดีของลูกค้าอีกด้วย

“ แม้ว่าร้านเหล่านี้จะไม่มีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หรือผู้ขายในร้านจะไม่มีเวลาอธิบายให้ข้อมูลเรื่องยาให้กับลูกค้าฟังก็ตาม เช่น ร้านยาจักรเพชร เปิดให้บริการมาประมาณมากกว่า 10 ปี หรือร้านคลังยา บางประกอก ซึ่งเป็นร้านยารุ่นหลังก็เปิดให้บริการมากว่า 4-5 ปีแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีผู้เล่นรายใหม่โดดเข้ามาเป็นคู่แข่ง”

อย่าง ไรก็ตาม แหล่งข่าวระดับสูงจากแพทย์สภา กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ถึงปัจจัยอีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับความแตกต่างด้านราคาในแต่ละแห่งนั้นว่า ในบางกรณีต้องมีการสำรวจลงลึกไปถึงแหล่งที่มาของยาแต่ละที่ด้วย เพราะยาบางประเภทที่เป็นตัวยาเดียวกัน แต่มีการนำเข้าจากแหล่งที่มาต่างกันก็ย่อมมีต้นทุนที่แตกต่างกันด้วย ยกตัวอย่าง ยารักษาโรคไต ที่นำเข้าจากประเทศเยอรมัน ย่อมมีราคาสูงกว่าที่นำเข้ามาจากไต้หวัน 

************

กรณีศึกษา 3 ปท.คุมกำเนิดยาแพง 
ฝรั่งเศส-อเมริกา-เกาหลีใต้ กม.เข้ม!!!


เมื่อ" ยา"ไม่ได้แพงด้วยตัวมันเองแต่ราคาที่แพงส่วนใหญ่มาจากการส่งเสริมการขาย หากผู้ที่เกี่ยวข้องในเมืองไทยยังไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร ลองดูมาตรการในการจัดการปัญหาเหล่านี้ในต่างประเทศ

จากรายงาน ของ Economic Review พบว่า CEO บริษัทยาขนาดใหญ่ได้รับค่าตอบแทนยังไม่รวมโบนัสร้อยล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ผู้อำนวยการหรือบุคลากรทางการแพทย์บางคนไปต่าง ประเทศทุกเดือน ตรงนี้เป็นภาพความเป็นจริงที่การเพิ่มราคายาเกิดจากการมีค่าใช้จ่ายแม้ว่า ระบบการจัดการค่าใช้จ่ายสุขภาพของไทยจะมี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ที่เข้มแข็ง แต่กระบวนการหรือกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ยังไม่สามารถทำให้การซื้อยาอยู่ในราคาที่เหมาะสม ไม่มีการขูดรีดจากผู้ขายและผู้ซื้อ ก่อนที่จะเป็นราคายาที่กำหนดในงบประมาณ

คำ ถามที่ตามมาคือ จะทำอย่างไรให้เกิดธรรมาภิบาลเพื่อป้องกันการผันเงินไปสู่การจัดเลี้ยง ทัศนาจร หรือใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์กับคนไข้ ต่อเรื่องนี้ นพ.มงคล ณ สงขลา ปาฐกถาในหัวข้อดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ

ใน การประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง "กฎหมายควบคุมการส่งเสริมการขายยาในต่างประเทศและแนวทางการจัดกฎหมายควบคุม ส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย" โดยแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับศูนย์กฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ว่า การดูแลระบบการซื้อการจ่าย และการใช้ยาอาจมีกระบวนการที่ติดตามดูแลได้ ซึ่งในส่วนที่เฝ้าระวัง พบว่า ในประเทศเกาหลีใต้ได้มีคณะคอยติดตามพฤติกรรม เจาะลึกในกลุ่มคนบางกลุ่ม หากสร้างกลุ่มคนแบบนี้มีขึ้นมาได้ มีระบบข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพื่อนำสู่การเปิดเผย สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นการป้องปรามที่ดี

ส่วน การใช้ตัวบทกฎหมาย เพื่อให้ผู้บริโภคที่ไม่ต้องจ่ายยาแพงเกินจริงเป็นสิ่งที่จำเป็น หากเราสามารถลดการส่งเสริมการขายยาที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ควรส่งเสริมแล้ว ราคายาก็ควรจะถูกลง เพื่อไม่ให้บริษัทยาได้รับกำไรมากเกินไป รวมถึงการมีองค์กรอิสระเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบแฃะเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เกี่ยว ข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล จะทำให้ข้อมูลเข้าไปตรวจสอบได้มากขึ้น

สำหรับ ผลการศึกษากฎหมายควบคุมการส่งเสริมการขายยาใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและเกาหลีใต้ ซึ่งมุ่งศึกษาไปที่กลุ่มแพทย์และเภสัชกรในสถานพยาบาล พบว่า ในประเทศฝรั่งเศส (ข้อมูลโดย รศ.ดร.ดาราพร ถิระวัฒน์ รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ) การส่งเสริมการขายยาถูกจัดรวมอยู่ในการโฆษณาด้วย การบริโภคยาในประเทศฝรั่งเศส มีระบบสวัสดิการสังคมที่รัฐเข้ามาควบคุมกำกับการใช้ยาผ่านงบประมาณ ประชาชนฝรั่งเศสจะได้รับการเบิกจ่ายเงินคืนจากยาที่เขาบริโภค ต้องเป็นยาที่ถูกสั่งโดยแพทย์ ยาที่ถูกนำเสนอสู่ผู้บริโภคต้องถูกควบคุมโดยรายงานการใช้ยาก่อนที่ยาจะถูก เสนอจากบริษัทยาและสู่แพทย์ต่อไป

ขณะ ที่สหรัฐอเมริกา วิธีการส่งเสริมการขายของบริษัทยา เริ่มตั้งแต่การใช้ผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนทางการเมืองการให้หุ้นในบริษัท ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องซื้อยาในราคาแพงขึ้นซึ่งมาจากการผลักภาระเรื่องต้นทุน การสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ มาสู่ราคายาของบริษัท จึงเป็นที่มาของการออกกฎหมาย Physician Sunshine act เพื่อเปิดเผยข้อมูลเรื่องนี้ให้สาธารณชนรับทราบ

ใน เบื้องต้นจะไม่ห้ามการสนับสนุนของบริษัทยา แต่ต้องมีหลักการ คือ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและต้องไม่กระทบต่อ autonomy ของผู้สั่งจ่ายยา โดยได้บรรจุประเด็นนี้ไว้ในกฎหมายแรงงานและเกาหลี (ข้อมูลโดย “ไพศาล ลิ้มสถิต” ศูนย์กฎหมายจริยธรรมการแพทย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) พบว่า ในมุมมองของเกาหลีใต้ให้ความสนใจด้านธรรมาภิบาลอย่างมาก โดยได้ผ่านกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่ห้ามรับผลประโยชน์กับบริษัทยา ของขวัญ ฯลฯ และจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอาญา

นอก จากนี้ยังมีหน่วยงานที่ดูแลควบคุมป้องกันการผูกขาดมาบังคัลใช้เรื่องการส่ง เสริมการขายยาย ด้วยการออกกฎหมาย MRFTA ตั้งคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของเกาหลีใต้ซึ่งปัจจุบันมีการรายงานผลการ ตัดสินโทษของคณะกรรมการชุดดังกล่าว

เช่น การตัดสินถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสมในการสนับสนุนการจัดประชุมโดยบริษัทยา การจ่ายค่าตอบแทนให้แพทย์สูงเกินความจริง การจัดเลี้ยงค่าอาหาร การตกแต่งบัญชีบริษัทยา การกีดกันบริษัทยาในประเทศให้ไม่สามารถเติบโตได้ ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีความอิสระ ไม่เป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจเอกชน ทำให้ตัดสินได้อย่างตรงไปตรงมา ส่วนประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย โดยเทียบเคียงกับกรณีศึกษาของประเทศต่างๆ เพื่อสรุปและเสนอเป็นร่างกฎหมาย

************

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนะสิทธิคนไทย
ซื้อยานอกรพ.ประหยัดเงิน 10 เท่า!!


เลขา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “ สารี อ๋อง สมหวัง” แนะคนไทยมีสิทธิ ร้องขอให้แพทย์เขียนใบสั่งซื้อยาเพื่อนำไปซื้อยาข้างนอกได้ตามกฎหมาย เผยประสบการณ์ส่วนตัวทำมาแล้ว ประหยัดค่ายาได้ถึง 10 เท่า จาก 6,000 บาทเหลือแค่ 600 บาท

มี การถกเถียงประเด็นเรื่องราคายา หรือราคาค่าบริการเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากใน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีประเด็นเรื่องการควบคุมราคายา หรือแสดงโครงสร้างราคายา คงมีแต่ในพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ซึ่งมีประเด็นที่ว่า ยาเป็นสินค้าควบคุม ตามมาตรา 24 แต่ก็ไม่เคยมีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ที่ออกมาว่ายานั้นควรมีราคาเท่านั้น เท่านี้ หรือขายในราคาที่ไม่เกินที่

ทั้ง นี้ คณะกรรมการกำหนดไว้ตามมาตรา 25 หรือในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง (ยังไม่ได้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่) คงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด (จะมีเพียงแต่สินค้าบางรายการเท่านั้นที่กำหนดราคาสูงสุดมาให้เลย) อย่างไรก็ดี ยารักษาโรค เป็นสินค้าควบคุมของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะควบคุม ไม่ให้ขายในราคาที่สูงกว่า ราคาที่กำหนด

ดัง นั้น ผู้เสียหาย รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ประสบเหตุยาแพง อาจแจ้ง กรมการค้าภายในได้ รายงานข่าวดังกล่าว เป็นเครื่องสะท้อน ให้เห็นว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยมักมีความเข้าใจผิดๆว่า การรักษาพยาบาล เป็นเรื่องตายตัว ยืดหยุ่นไม่ได้ แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรค และสั่งยาเท่านั้น

“สา รี อ๋องสมหวัง” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และในตำแหน่งล่าสุดโฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ให้ความเห็นกับ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์”ว่า ในความเป็นจริง ผู้ป่วยและญาติ มีสิทธิ์สอบถามแพทย์ ถึงอาการ แนวทางการรักษา ที่ได้ผลที่สุด และที่สำคัญ ก็คือ ยาที่ใช้รักษาโรคนั้น รวมทั้งราคายาโดยประมาณ เช่น ถ้าไปโรงพยาบาลรัฐบาล สามารถ แจ้งความจำนงว่า ต้องการยาที่ดีที่สุด แม้ไม่มียาในห้องยาของโรงพยาบาล ก็ขอให้แพทย์ เขียนใบสั่งยา ให้ออกไปซื้อ ที่ร้านขายยา นอกโรงพยาบาลได้

แม้ ไปโรงพยาบาลเอกชน ก็มีสิทธิ์ขอใบสั่งยา ออกไปซื้อ ยา นอกโรงพยาบาลได้เช่นกัน จะได้ไม่ต้องจ่ายค่ายาแพง เมื่อผู้ป่วยแจ้งเจตจำนง ให้แพทย์เขียนใบสั่งยาแล้ว อาจถามแพทย์เพิ่มเติมว่า มียาชนิดอื่น นอกจากที่ เขียนในใบสั่ง ที่มีประสิทธิผล ทางการรักษาสูงสุดหรือไม่ ถ้ามี และเราต้องการ ก็ขอให้เขียน ใบสั่งยา ให้ใหม่ เพราะบางครั้ง การถามครั้งนั้น อาจทำให้คุณและญาติๆ หายป่วยเร็วกว่าปกติด้วย

“การ ที่ผู้บริโภคจะร้องขอให้แพทย์เขียนใบสั่งซื้อยาเพื่อนำไปซื้อยาข้างนอกนั้น เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เพราะผ่านมาตนเองก็เคยทำแบบนี้ ซึ่งการไม่ซื้อยากับโรงพยาบาลจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งได้ เป็น 10 เท่าตัว จากที่เคยจ่ายค่ารักษารวมกับค่ายาและบริการครั้งละ 6,000 บาทต่อการรักษาหนึ่งครั้งก็เหลือเพียง 600 บาทต่อครั้ง”

แต่ ในทางกลับกัน การผนึกกำลังและเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลขนาดเล็กและกลาง ที่มีสายป่านไม่ยาวพอ จนอาจต้องถูกกลืนในที่สุด เพราะอำนาจการต่อรองที่น้อยกว่าโรงพยาบาลเครือข่ายจำนวนมาก และนี่จึงเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า อนาคตธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในไทยจะเหลือเพียงไม่กี่กรุ๊ปเท่านั้น

ที่มา : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: