ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรคในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เลือกตั้งทั้งที ควรต้องมีปฏิรูป “หลักประกันการศึกษาคุณภาพให้เด็กไทยทุกคน”

กลุ่มเพื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย 9 ก.พ. 2555


 

ที่มาและสภาพปัญหา
        คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยเน้นการสร้าง “ความเท่าเทียม” เพื่อแก้ไขปัญหาในสังคมไทย ตั้งแต่มิติการปฏิรูปที่ดินและการปฏิรูปการเงินการคลังเพื่อให้คนยากจนผู้ ยากไร้มีโอกาสพลิกฟื้นชีวิตความเป็นอยู่และการทำมาหากิน ตลอดจนการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐเพื่อ ความเป็นธรรมในการใช้ทรัพยากรให้เข้าถึงประชาชนและชุมชนท้องถิ่นที่ด้อย โอกาสมิให้ถูกซ้ำเติมด้วยการดำเนินนโยบายที่พาชาติของเราไปสู่สภาพ “รวยกระจุก  จนกระจาย” เพราะสภาพการบริหารจัดการทรัพยากรภาครัฐที่เป็นอยู่สะท้อนภาพเช่นนั้นอย่าง ชัดเจน   จังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับต่ำหรือต่ำมากกลับได้รับการ จัดสรรงบลงทุนต่อหัวในระดับที่น้อยกว่า จังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนในระดับสูง ทั้งการลงทุนในภาพรวมและการลงทุนทางการศึกษา ซึ่งหากการดำเนินนโยบายภาครัฐยังเป็นเช่นนี้ก็ยากที่จะทำให้เกิด “สังคมไทยเท่าเทียม” ได้

 

ตารางที่ 1 การกระจายงบประมาณลงทุนทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบกับระดับการพัฒนาตามดัชนี ความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index) ในแต่ละจังหวัด

 

ที่มา: (1) ระดับการพัฒนาตามดัชนีความก้าวหน้าของคนในแต่ละจังหวัดมาจาก UNDP, 2009. Thailand Human Development Report 2009 และ (2) งบประมาณลงทุนทั้งหมดรายจังหวัดมาจากข้อมูลของ ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา

 

         ในจังหวัดที่ระดับการพัฒนาไม่สูงมากแต่กลับได้รับแบ่งปันทรัพยากรในการพัฒนา อย่างไม่เป็นธรรมนี้ สภาพความด้อยโอกาสของประชาชนกลายเป็นวัฏจักรความชั่วร้ายที่กดประชาชนใน พื้นที่ให้จมอยู่ในความจนดักดานไม่มีที่สิ้นสุด เพราะในพื้นที่เหล่านี้ ลูกหลานของคนยากจนก็กลายเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสออกจากโรงเรียนกลาง คันและหลุดออกจากระบบการศึกษามากกว่าเด็กในเมืองหลายเท่า ทั้งด้วยความยากจน สภาพครอบครัว และทั้งด้วยการได้รับการศึกษาและการดูแลที่ด้อยคุณภาพกว่าเด็กในเมือง การที่มีเด็กยากจนด้อยโอกาสจำนวนมากหลุดออกจากระบบการศึกษา ไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้หรือมีทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มั่นคง จะเป็นระเบิดเวลาทางสังคมที่เป็นทั้งชนวนความขัดแย้งในสังคมและต่อความเสีย หายทางเศรษฐกิจจากการสูญเสียกำลังคนจำนวนมากที่ไม่มีโอกาสได้รับการพัฒนาให้ เต็มศักยภาพ

 

           ทั้งคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) จึงได้รวมกลุ่มในนาม “กลุ่มเพื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” หรือ “Friends Of Reform Thailand : FOR Thailand” ซึ่งมีความเห็นตรงกันถึงอันตรายใหญ่หลวงหากความเหลื่อมล้ำที่เกิดกับกลุ่ม เด็กเยาวชนด้อยโอกาสนี้ยังดำเนินต่อไป

 

      

             ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อการดูแลเด็ก ด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาอันเป็นการตอบ โจทย์การปฏิรูปประเทศไทย โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกคือเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา ทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เด็กที่ออกกลางคันก่อนจบการศึกษาภาคบังคับคือ ม.3 ซึ่งหากคิดจากสถิติการคงอยู่ของเด็กนักเรียนที่เรียนจนจบม.3 ได้ที่มีเพียงร้อยละ 80 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552)  เด็กจึงหลุดจากระบบปีละราว 200,000 คน  ตัวเลขสะสม 10 ปี เด็กและเยาวชนในช่วงอายุ 15-25 ปีที่ไม่จบ ม.3 จึงมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน

 

 
       นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กพิการเข้าไม่ถึงโอกาสการศึกษา เด็กเร่ร่อน  เด็กถูกบังคับค้าแรงงาน เด็กยากจนขาดโอกาส เด็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารหรือเด็กในพื้นที่ปัญหาเฉพาะ เช่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปจนถึงกลุ่มแม่วัยรุ่น เด็กที่กระทำความผิดที่ต้องการหาหนทางกลับสู่สังคม รวมกระทั่งเด็กชายขอบไร้สัญชาติที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ การส่งเสริมสนับสนุนดังกล่าวยังต้องยังครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่สอง คือ เด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาอีกไม่ต่ำกว่า 3-5 ล้านคนที่มีปัจจัยเสี่ยงจากความยากจน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียนรู้  สภาพชุมชน ฯลฯ ที่อาจนำเด็กเหล่านี้ไปสู่ปัญหาการออกกลางคัน ปัญหาแม่วัยรุ่น ปัญหาอาชญากรรมและปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย

 

ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

 

  • ความเสียหายรายได้ส่วนบุคคล ผู้เรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับคือ ม.3 มีรายได้ตลอดช่วงอายุการทำงานของวัยแรงงาน (15-60 ปี) น้อยกว่าผู้จบปริญญาตรีถึง 2 เท่าหรือคนละ 7.5 ล้านบาทตลอดอายุทำงาน

 

  • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหภาคต่อปี จำนวนเด็กที่เรียนไม่จบ ม.3 คิดจำนวนขั้นต่ำ 5 ล้านคนจะก่อความสูญเสียสะสมถึง 37.5 ล้านล้านบาทหรือเท่ากับ 5 เท่าของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2553*  หรือราว 9 แสนล้านบาทต่อปี  (ร้อยละ 20 ของ GDP ปี 2553 )  

 

  • จังหวัดมีเด็กด้อยโอกาส/กลุ่มเสี่ยงเฉลี่ยจังหวัดละ 60,000-70,000 คนจะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ 12,000 ล้านบาทต่อปีในระดับจังหวัด และ 120 ล้านบาทต่อปีในระดับตำบล

 

  • ไม่น่าเชื่อว่าผลเสียหายทางเศรษฐกิจต่อจังหวัดตลอดช่วง ชีวิตการทำงาน (45 ปี) ของผู้ด้อยโอกาส ยังสูงกว่าผลเสียหายทางเศรษฐกิจเฉลี่ยของจังหวัดชายฝั่งอันดามันเมื่อเกิด เหตุการณ์ “สึนามิ” ถึง 10 เท่า** จึงกล่าวได้ว่าหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข จังหวัดต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจเทียบได้กับการโดนคลื่นสึนามิโจมตี 1 ครั้งทุกๆ 5 ปี

 

  • ทั้งนี้ ยังไม่รวมความสูญเสียด้านภาษีเงินได้ปีละ 50,000 ล้านบาท และความสูญเสียทางสังคมอีกมากมาย
    ดัง นั้นด้วยมูลค่าความเสียหาย 9 แสนล้านบาทต่อปี การแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสด้วยงบประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปีจะให้ผลตอบแทนแก่ประเทศมากถึง 18 เท่า
     
       *คำนวณจากตัวเลขการสำรวจรายได้และสวัสดิการลูกจ้างเอกชนทั่วประเทศในปี 2553 โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยศรีปทุม
        **ความเสียหายจากสึนามิในปี 2549 อ้างอิงจากรายงานของสหประชาชาติประจำประเทศไทยและไม่รวมมูลค่าความเสียหาย จากการเสียชีวิต และบ้านเรือนที่ถูกทำลาย

 

แนวทางการดำเนินงานขั้นต้น

 

     ภารกิจช่วยเหลือดูแลเด็กด้อยโอกาสในสังคมไทยจึงเป็นงานสำคัญของชาติ และจำเป็นต้องเป็นงานที่มีทั้งมิติของเยียวยาแก้ไข (intervention) แก่เด็กที่หลุดออกไปจากระบบการศึกษาแล้วและมิติเชิงป้องกัน (prevention) กับเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ยังอยู่ในระบบที่จะต้องตรึงเขาไว้จนจบการศึกษาให้ได้ 
การ ดูแลเด็กด้อยโอกาสนี้ยังเป็นงานที่ต้องมีการลงทุนที่ถึงพร้อมพอเพียงและต้อง ใช้งบประมาณในการจัดการให้มีการดูแลมากกว่าเด็กปกติ เช่น การมีระบบดูแลช่วยเหลือรายกรณีในโรงเรียนและชุมชน (Case Management Unit-CMU) หรือระบบ “ประกบตัว” เด็กที่มีความเสี่ยงหรือตกอยู่ในสภาพด้อยโอกาสแต่เนิ่นๆ ไปจนถึงการ “ประกันอนาคต” ให้เด็กเหล่านี้ด้วยการสร้างงานสร้างรายได้ที่มั่นคงให้เด็กเมื่อพ้นจาก โรงเรียน   

 

    “ระบบ” ที่ว่านี้จึงอาจมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของระบบดูแลคิดเป็นรายจ่ายต่อ หัวไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อคนต่อปี  เพราะต้องอาศัยทีม “ประกบตัว” เด็กที่ต้องมีทั้งครู นักจิตวิทยา นักสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครชุมชน ฯลฯ มาทำงานร่วมกัน  ตลอดจนมีฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่จะติดตามดูแลเด็กเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ทุกคนเป็นรายกรณี

 

      การลงทุนของรัฐเพื่อเข้าไปช่วยเหลือประกันโอกาสการศึกษาและระบบดูแลที่มี คุณภาพครอบคลุมเด็กด้อยโอกาสทั่วประเทศจึงอาจหมายถึงการลงทุน 30,000-50,000 ล้านบาทต่อปีเพื่อให้อนาคตที่ดีแก่พวกเขา  เมื่อเทียบกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจจะพบว่าผลตอบแทนการลงทุนในเรื่องนี้อาจ สูงถึง 10-20 เท่า หรือคิดง่ายๆ ว่าลงทุนให้เด็กด้อยโอกาสหรือเด็กกลุ่มเสี่ยงคนละ 10,000 บาทต่อปีจะได้คืน 100,000-200,000 บาทในรูปรายได้ครัวเรือน ภาษี และเงินสะพัดหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นจากครอบครัวที่กำลังซื้อมากขึ้น  โดยหากไม่มีการลงทุนดังกล่าวเด็กนับล้านๆ คนจะเป็นได้เพียงแรงงานขั้นต่ำดังแนวโน้มปัจจุบัน

 

 

      นอกจากนี้ โดยทิศทางการปฏิรูปประเทศไทยที่มุ่งลดขนาดการจัดการภาครัฐลงและขยายพื้นที่ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ก็อาจหมายถึงการลงทุนเรื่องเด็กด้อยโอกาสดังกล่าวสามารถที่จะเป็นการลงทุน ร่วมกันระหว่างรัฐกับท้องถิ่น บนฐานคิดว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์โดยตรงต่อเด็กอันเป็นลูกหลานของท้องถิ่น เอง และพึงมีการลงทุนจากท้องถิ่นทั้งในแง่ทรัพยากรการลงทุนและทั้งในแง่การ จัดการที่ท้องถิ่นชุมชนพึงเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งด้วยเช่นกัน

 

     ตัวเลขประมาณการจากชุมชนและโรงเรียนที่มีประสบการณ์การดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบและเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษา

 

     ในการนี้ จึงต้องมียุทธศาสตร์ในการปรับเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐอันรวมถึงกระทรวง ศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ก้าวไปสู่บทบาทของการส่งเสริมสนับ สนุนให้หน่วยงานภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคสื่อ เข้ามามีบทบาทจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ตลอดจนจัดระบบบริหารงบประมาณให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นควบคู่กันไป ด้วย  ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาระบบทั้งหมดในรายละเอียดโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ

 

ข้อเสนอที่จะนำเสนอต่อทุกพรรคการเมืองต่อไปนี้  จึงเป็นภารกิจที่ตอบโจทย์ของประเทศและจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทั้งจากมุม มองของรัฐและทั้งจากมุมมองของท้องถิ่นชุมชน  ที่จะนำไปสู่การสร้างความเท่าเทียมในสังคม และยังเป็นการตอบโจทย์พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กด้อยโอกาสหรือเด็กกลุ่มเสี่ยงนับล้านๆ คน  พ่อ แม่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเป็นผู้ที่กำลังทุกข์ร้อนเรื่องลูกหลาน เหล่านี้กำลังรอคอยรัฐบาลที่จะเข้ามาช่วยดูแลลูกให้เขา ทำให้เขาแน่ใจว่ารัฐบาลจะช่วยดูแลลูกของเขาทุกคนอย่างดีที่สุดให้พ้นจากความ เสี่ยงและความด้อยโอกาสทั้งปวง และข้อเสนอต่อไปนี้คือประเด็น นโยบายหนึ่งที่จะตรึงใจพ่อแม่นับสิบล้านคนที่กำลังเป็นทุกข์กับลูกหลานของตน ที่ตกอยู่ความเสี่ยงและความด้อยโอกาสนานับประการในสภาพสังคมของเราที่ยัง เต็มไปด้วยเหลื่อมล้ำและปัจจัยรุมเร้าเด็กมากมายในปัจจุบัน

 

 ข้อเสนอสำหรับพรรคการเมือง

 

1) ประกาศนโยบายช่วยเหลือเด็กอายุระหว่าง 0-18 ปี ที่อยู่นอกระบบการศึกษา และเด็กกลุ่มเสี่ยง 3- 5 ล้านคน

 

นำเสนอสถานการณ์ปัญหาของชาติในเรื่องนี้ต่อประชาชนทุก ชุมชนท้องถิ่น  เพื่อผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กด้อย โอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีจำนวนเฉลี่ยถึงจังหวัดละ 60,000-70,000 คน 

 

2) สร้างความนิยมด้วยนโยบายที่ก่อประโยชน์ยั่งยืน 

 

การยกประเด็นเด็กด้อยโอกาสนอกระบบและเด็กกลุ่มเสี่ยงใน ระบบเป็นประเด็นนโยบายในช่วงหาเสียงเลือกตั้งสามารถสร้างความแตกต่างในการหา เสียง นอกเหนือจากนโยบาย “ให้-แจก” ที่คล้ายคลึงกันทุกพรรค การเปิดประเด็นเรื่องการดูแลเด็กโดยเฉพาะกลุ่มเด็กด้อยโอกาสและเด็กกลุ่ม เสี่ยง 3-5 ล้านคนด้วยระบบดูแลช่วยเหลือในชุมชน โรงเรียน ตลอดจนนโยบายการสร้างงานสร้างอาชีพประกันอนาคตให้เด็กเหล่านี้ด้วยแนวทางดัง กล่าวข้างต้นจะเป็นการแสดงความละเอียดอ่อนและความประณีตในเชิงนโยบายที่เข้า ถึงความทุกข์แฝงเร้นของครอบครัวหลายล้านครอบครัวทั้งในเมืองและชนบททั่ว ประเทศที่มีลูกหลานที่อยู่ในภาวะดังกล่าว

 

3) ประกาศเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือ กันปฏิรูปการศึกษาของประเทศ  ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นประการใด  ไม่ว่าพรรรคการเมืองของท่านจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน 

 

ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาเป็นเรื่องคุณธรรมและมีผลโดยตรง ต่อลูกหลานไทยตลอดจนอนาคตของประเทศชาติ  เรื่องการศึกษาจึงไม่ควรมีฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล แต่เป็นเรื่องที่ต้องสงวนไว้เป็นข้อยกเว้นให้เป็นพื้นที่ของมโนธรรมเพื่อ ส่วนรวม  พรรคการเมืองไม่สมควรที่จะนำไปเป็นประเด็นเรื่องการศึกษานี้ต่อสู้ห้ำหั่น กันจนเกินขอบเขตในทางการเมือง
 

ประเด็นพิจารณาสำคัญสำหรับพรรคการเมือง

 

1. ทำไมจึงขอให้ทุกพรรคการเมืองเน้นนโยบายนี้? 

 

เพราะหากไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบถูกต้องและพอเพียง นี่จะเป็นความสูญเสียอย่างมหาศาลของประเทศ เพราะเรากำลังพูดถึงเด็กด้อยโอกาสและเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งนอกระบบและในระบบ การศึกษารวม 5-7 ล้านคนหรือคิดเป็นจำนวนเด็กถึง 1 ใน 3 ของเด็กและเยาวชนในช่วงอายุ 0-21 ปีทั้งหมดของประเทศ หากเด็กเหล่านี้เรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับก็จะกลายเป็นเพียงผู้ขายแรงงาน เพื่อค่าแรงขั้นต่ำหรือผู้ประกอบการย่อยๆ ที่ขาดความรู้และทักษะ ไม่อาจสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้เมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนที่ได้มี โอกาสเรียนและพัฒนาตนเองไปจนเต็มศักยภาพ เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อบุคคลและต่อการจัดเก็บรายได้ของประเทศหลายแสน ล้านบาทต่อปีจากการทอดทิ้งกลุ่มเด็กด้อยโอกาสนี้

 

2. เรื่องนี้จะส่งผลต่อประเทศอย่างไร?

 

จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงอย่างน้อย 3 ประการคือ 1) การลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เป็นปัญหาสะสมมาตลอด และเป็นชนวนก่อให้เกิดความขัดแย้งเรื่องชนชั้นในสังคมและการประท้วงต่อต้าน รัฐบาลหลายรัฐบาลที่มักมองข้ามเรื่องนี้มาโดยตลอดเช่นกัน การให้โอกาสเด็กที่ด้อยโอกาสเป็นการสร้างโอกาสของการมีสังคมที่สงบสุข และการมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพไปในตัว  2) ปัญหาสังคมหลายเรื่องจะลดลงทันที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาแม่วัยรุ่น เด็กก่ออาชญากรรม ยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน การที่เด็กที่เกิดมาอย่างบริสุทธิ์และไม่ถูกทำให้แปดเปื้อนไปด้วยสภาพสังคม หรือการขาดการเหลียวแลจากครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ย่อมเป็นการประกันความมีศรัทธา มีแรงบันดาลใจ และมีเป้าหมายในชีวิตที่จะดึงเด็กออกจากความเสี่ยงทั้งปวงได้ 3) ประเทศจะมีความสามารถแข่งขันสูงขึ้นและสามารถเพิ่มรายได้ครัวเรือน และแก้ปัญหาความยากจนได้มาก ด้วยการวางรากฐานการดูแลเด็กหลายล้านคนที่มีความเสี่ยงจะเป็นคนด้อยคุณภาพ เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ให้เป็นคนที่มีคุณภาพและเป็นกำลังคนที่สร้างรายได้ให้ตนเองและชุมชนได้มาก ขึ้น

 

3. พรรคการเมืองจะได้อะไรจากนโยบายนี้? 

 

     ประสบการณ์การเลือกตั้งที่ผ่านมามีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งไม่น้อย โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางที่อาจมีสัดส่วนถึงร้อยละ25-30 ที่ยังไม่ตัดสินใจและเป็นกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาที่จับตานโยบายแต่ละพรรค อย่างจริงจังประกอบการตัดสินใจ และเป็นกลุ่มที่พิสูจน์มาแล้วว่าสามารถพลิกโฉมหน้าการเลือกตั้งหลายครั้ง ฉีกหน้าผลโพลหลายหน เนื่องจากการตัดสินใจที่ไม่ถูกล็อคล่วงหน้า แต่แปรตามคุณภาพของนโยบายพรรคการเมืองที่แสดงความโดดเด่น แตกต่าง เป็นจริงได้ และเป็นประโยชน์ต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นอย่างแท้จริง 

 

      กลุ่มคนชั้นกลางขึ้นมาหรือแม้แต่กลุ่มที่รายได้ต่ำลงไปแต่มีการศึกษาสูงขึ้น ซึ่งระดับการศึกษาเฉลี่ยคนไทยในปัจจุบันสูงขึ้นถึง 8.9 ปีหรือประมาณ ม.3 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552) กลุ่มคนชั้นกลางที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นในสังคมไทยและมีการศึกษาสูงขึ้นนี้ เริ่มมองสิ่งที่มากกว่านโยบายประชานิยมครอบจักรวาลที่เสนอค่าเรียนฟรี ค่าอาหารกลางวัน หรือเสื้อผ้าฟรี แต่เริ่มมองถึง “คุณภาพการดูแลและการให้การศึกษา” อย่างเข้าใจมากขึ้น การแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายของพรรคการเมืองที่โดดเด่นแตกต่างในการ “ช่วยดูแลลูกของเราอย่างดีที่สุด” โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ที่กล่าวมา ย่อมเป็นการชนะใจพ่อแม่หลายสิบล้านครอบครัวที่ทุกข์ใจกับอนาคตของลูกและความ เสี่ยงที่ลูกต้องเผชิญในสังคมปัจจุบัน

 

ข้อมูลผู้เขียน

        “กลุ่มเพื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” หรือ “Friends Of Reform Thailand : FOR Thailand” เกิดจากการรวมกลุ่มของนักวิชาการและภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านการศึกษา ทั้งจากคณะอนุกรรมการกลุ่มการศึกษาในคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) และคณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.)  ซึ่งได้มีการจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปการจัดการศึกษาของประเทศ จากการระดมความคิดเห็น สังเคราะห์ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยเสนอให้ทุกพรรคการเมืองเป็นฐานความคิดและต่อยอดสู่นโยบายทางการศึกษา เพื่อเป็นหลักประกันอนาคตทางการศึกษาของเยาวชนไทยในอนาคต ที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

 

 “กลุ่มเพื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย”  “FOR Thailand”
1. ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร  กรรมการปฏิรูป
2. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการปฏิรูป
3. ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กรรมการปฏิรูป
4. นางรัชนี  ธงไชย กรรมการปฏิรูป
5. ดร.เสรี พงศ์พิศ มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
6. รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
7. ดร. อมรวิชช์  นาครทรรพ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. นพ.ศิริวัฒน์  ทิพย์ธราดล สำนักงานปฏิรูป
9. ดร.วณี  ปิ่นประทีป สำนักงานปฏิรูป
10. ดร.ประภาภัทร นิยม สถาบันอาศรมศิลป์
11. นายสุรพล  ธรรมร่มดี สถาบันอาศรมศิลป์
12. นางสาวเนาวรัตน์  ชุมยวง มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: