พลังงานหมุนเวียน: ทางเลือกและทางรอดในการรักษาภูมิอากาศโลก บทสรุปจากรายงานล่าสุดของ Intergovernmental Panel on Climate Change

เดชรัต สุขกำเนิด 9 ก.พ. 2555 | อ่านแล้ว 3328 ครั้ง

 

ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่ผู้นำทั่วโลกตลกลงร่วมกันในการประชุมสหประชา ชาติว่าด้ายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก เมื่อปลายปีค.ศ. 2010 ที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้ การที่จะรักษาระดับอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 2 องศา จำเป็นจะต้องรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไม่ให้ เกิน 450 ส่วนในล้านส่วน

 

            ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ กรุงอาบู ดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้นำเสนอเอกสารรายงานพิเศษว่าด้วยแหล่งพลังงานหมุน เวียนและมาตรการลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (หรือ Special Report on Renewable Energy Sources and Climate Change Mitigation) โดยชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจะเป็นหนทางหลักในการรักษาภูมิอากาศของโลกมิให้ เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าระดับที่กำหนดคือ 2 องศาเซลเซียส

 

หายห่วงเรื่องศักยภาพของพลังงานหมุนเวียน

 

          รายงานการศึกษาดังกล่าวทบทวนและวิเคราะห์การ พัฒนาของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ โดยจัดแบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ ได้แก่ พลังงานชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานจากมหาสมุทร

 

            รายงานของIPCC ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าพลังงานหมุนเวียนจะเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะที่ผ่านมา (เช่น ในปี ค.ศ. 2009 พลังงานลมเติบโตร้อยละ 30 ต่อปี พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์เติบโตมากกว่าร้อยละ 50 ต่อปี) แต่การใช้พลังงานหมุนเวียนยังคงอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับศักยภาพทางเทคนิค โดย IPCC ประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันโลกมีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพียงร้อยละ 2.5 ของศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเท่านั้น

 

            กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ร้อยละ 97.5 ของพลังงานหมุนเวียนที่โลกมีอยู่นั้นยังมิได้ถูกนำมาใช้ ยิ่งไปกว่านั้น IPCC ยังมั่นใจว่า ศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนนั้นมีมากกว่าระดับความต้องการใช้อยู่มาก เพราะฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์ของ IPCC จึงฟันธงว่า ศักยภาพทางเทคนิคของพลังงานหมุนเวียนจึงมิใช่ข้อจำกัดของการพัฒนาหมุนเวียน แต่อย่างใด
เส้นทางการพัฒนาที่แตกต่างกัน

 

            จากนั้น นักวิทยาศาสตร์ของ IPCC จึงวิเคราะห์ฉากทัศน์ (หรือ Scenario) ของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 164 ฉากทัศน์ ก่อนที่จะเลือก 4 ฉากทัศน์สำคัญที่ครอบคลุม ตั้งแต่ฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ร้ายสุดๆ จนถึงฉากทัศน์ที่มองโลกในแงดี มาทำการศึกษาในเชิงลึก เพื่อที่จะค้นหาเส้นทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

            จากการวิเคราะห์ IPCC พบว่า ทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น แม้กระทั่งในฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ร้ายที่สุด พลังงานหมุนเวียนก็ยังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 13 ก็จะเพิ่มเป็นประมาณร้อยละ 15 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในโลก

 

           ส่วนในฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ดีที่สุดพบว่า พลังงานหมุนเวียนจะมีสัดส่วนในระบบพลังงานโลกได้มากถึงร้อยละ 43 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดในปีค.ศ. 2030 และเพิ่มเป็นร้อยละ 77 หรือจะมีปริมาณเท่ากับ 314 เอกซะจูล/ปี จากพลังงานที่ต้องการทั้งหมด 407 เอกซะจูล/ปี ในปี ค.ศ 2050 หรือเทียบเคียงได้กับปริมาณพลังงานที่จัดหาทั่วทั้งภาคพื้นยุโรปในขณะนี้เลย ทีเดียว

 

          ทั้งนี้ การลงทุนในแต่ละฉากทัศน์จะแตกต่างกัน โดยการลงทุนทั่วโลกจากปัจจุบันจนถึงปี 2020 จะมีตั้งแต่ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ร้าย) ไปจนถึง5.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ดี) และจะมีการลงทุนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากปีค.ศ.2021 ถึง 2030 อีกประมาณ 1.5 (มองในแง่ร้าย) ถึง 7.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (เมื่อมองในแง่ดี)

 

ทางเลือกที่จะรักษาภูมิอากาศโลก

         จากเส้นทางการพัฒนาที่หลากหลาย IPCC วิเคราะห์และสรุปว่า การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในสัดส่วนที่สูงนั้น จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมได้มากถึง 220-560 กิกะตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์/ปี หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึง 1 ใน 3 ของภายใต้สถานการณ์ปกติ (หมายถึง สถานการณ์ที่ไม่ดำเนินการใดๆ เลย) และจะเป็นหนทางสำคัญที่จะรักษาระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้อยู่ ในระดับ 450 ส่วนในล้านส่วน

 

          ที่สำคัญการวิเคราะห์ฉากทัศน์ส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่า การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าการพัฒนา พลังงานนิวเคลียร์หรือการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดอออกไซด์ของโรงไฟฟ้า จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

 

          IPCC จึงย้ำว่า การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพื่อให้พลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบในสัดส่วนที่ สูง จึงเป็นทางออกที่สำคัญที่สุดของการรักษาภูมิอากาศโลกไว้ ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ผลพลอยได้จากการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน

        การวิเคราะห์ฉากทัศน์ต่างๆ ในอนาคตของ IPCC ยังชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของพลังงานหมุนเวียนนั้นจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในทุกภูมิภาคทั่ว โลก โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว

 

         แต่การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นไปใน ลักษณะผสมผสาน ระหว่างเทคโนโลยีหลายประเภท และระหว่างการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนกับการเพิ่มพูนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มากกว่าที่จะมีพลังงานหมุนเวียนชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นมาโดดเด่นเพียงชนิดเดียว

 

          แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่กระจายตัว แทนที่จะกระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง (เช่น การขุดเจาะน้ำมันดิบหรือยูเรเนียม) หรือเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง (เช่น ถ้าไม่ก๊าธรรมชาติ ก็ถ่านหิน หรือไม่ก็นิวเคลียร์) ซึ่งการกระจายตัวดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการจ้างงาน และช่วยลดภาระการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนาลงไปได้ อย่างมาก

 

        ขณะเดียวกัน การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจะช่วยให้ประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงาน มากกว่า 1,400 ล้านคนทั่วโลกได้เข้าถึงแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ และยังช่วยการลดการใช้ฟืนแบบดั้งเดิมที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีความ ปลอดภัยอันเนื่องจากมลพิษทางอากาศลงได้อีกกว่า 1,300 ล้านคนทั่วโลก

 

       นอกจากนี้ พลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ไม่ใช้การเผาไหม้ (เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ) ยังมีประโยชน์ในแง่การลดผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ และลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพลงได้ด้วย เช่นเดียวกับพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช้ความร้อน (เช่น พลังงานลม หรือเซลล์แสงอาทิตย์) ก็จะช่วยลดความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ที่น้ำขาดแคลนด้วยเช่นกัน

 

        กล่าวโดยสรุป สำหรับ IPCC พลังงานหมุนเวียนมีคุณค่าสำคัญต่อมนุษยชาติ มากกว่าแค่การเป็นแหล่งพลังงาน และเป็นทางเลือกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น

 

แนวนโยบายเพื่อพัฒนาพลังงานหมุนเวียน

      IPCC ได้ย้ำในรายงานดังกล่าวว่า การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนสูงสุด (ร้อยละ 77 ของพลังงานทั้งหมดในปีค.ศ. 2050) จะต้องอาศัยแนวนโยบายสาธารณะที่ตระหนักและสะท้อนถึงประโยชน์ในภาพกว้างของ การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (เช่น ลดภาระการนำเข้าพลังงาน) ประโยชน์ทางสังคม (เช่น เพิ่มการจ้างงาน หรือเพิ่มการเข้าถึงแหล่งพลังงาน) และประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (เช่น ลดมลพิษทางอากาศและผู้เจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศ)

 

       แน่นอนว่าจากแนวนโยบายดังกล่าว จำเป็นต้องมีมาตรการทางนโยบายที่หลากหลายมารองรับ เพื่อที่จะฝ่าข้ามอุปสรรคทั้งหมายของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน IPCC แนะนำว่า มาตรการที่ดีจะต้องมีทั้งประสิทธิผล (คือ สำเร็จได้ตามเป้า) ประสิทธิภาพ (คือ ใช้เงินลงทุนไม่สูงเกินไป) และมีความยืดหยุ่น (ที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของการพัฒนา หรือตามความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น)

 

        ตัวอย่างเช่น ในภาคไฟฟ้า การใช้ feed-in tariff หรือมาตรการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในราคาที่จูงใจ และแรงจูงใจดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงตามเวลาและต้นทุนที่ลดลงของเทคโนโลยี จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

 

         ส่วนในภาคการขนส่ง การกำหนดสัดส่วนการผสมน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการ พัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพเช่น เอทานอลหรือไบโอดีเซล
 IPCC ย้ำว่าสิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายต่างๆ ก็คือ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในประเภทต่างๆ และในระดับต่างๆ ทั้งจากระดับใหญ่สำหรับภาคอุตสาหกรรมไปจนถึงระดับหมู่บ้านหรือครัวเรือน

 

        สุดท้ายนายอ็อตมาร์ อีเดนโฮเฟอร์ ประธานร่วมคณะทำงานกลุ่มที่ 3 ของ IPCC ได้ฝากย้ำถึงความเป็นไปได้ของนโยบายการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่จะช่วยลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรักษาเสถียรภาพของภูมิอากาศว่า

 

“ด้วยการสนับสนุนทางนโยบายพลังงานและนโยบายภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง แหล่งพลังงานหมุนเวียนจะสามารถเสริมหนุนคุณภาพชีวิตของมวลมนุษย์ได้ ด้วยการเสริมความมั่นคงในการจัดหาพลังงาน ไปพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของภูมิอากาศ”
นายอ็อตมาร์ อีเดนโฮเฟอร์
ประธานร่วมคณะทำงานกลุ่มที่ 3 ของ IPCC

 

ขอบคุณภาพจาก http://www.eoearth.org/article/Intergovernmental_Panel_on_Climate_Change_(IPCC) และ
http://www.nesac.go.th/NESAC_LIVE/energy/

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: