ความหมายของเกษตรพันธสัญญา
เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) โดยทั่วไปหมายถึงการทำสัญญาในการทำเกษตร หรือฟาร์มสัญญาที่มีความหมายถึงการเพาะปลูกพืช หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีการทำสัญญาซื้อขายกัน ประกอบด้วย คู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ ผู้ผลิต ได้แก่ ฝ่ายฟาร์ม และคู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ซื้อผลผลิตซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปของบริษัท หรือโรงงานแปรรูปต่างๆ ในสัญญาส่วนใหญ่จะมีการกำหนดราคาซื้อผลผลิต หรือวิธีการกำหนดราคาผลผลิต รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพของผลผลิตที่จะรับซื้อไว้ด้วย นอกจากนี้ ข้อตกลงในสัญญาในหลายๆ กรณีจะมีความเกี่ยวข้องกับการจัดหาปัจจัยสนับสนุนการผลิตต่างๆ ตลอดจนคำปรึกษาด้านเทคโนโลยีในการผลิตให้กับฝ่ายผู้ผลิตเพื่อความมั่นใจใน มาตรฐานของผลผลิตให้เป็นไปตามสัญญา
เกษตรพันธสัญญาในประเทศไทย
เกษตรพันธสัญญาในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมานานแต่เป็นสัญญาแบบไม่เป็นทางการคู่สัญญาจะทำสัญญา กันโดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวและสัมพันธ์ทางสังคมในการสัญญาให้ผลประโยชน์ แก่กันตามที่ต้องการ และพัฒนามาเป็นการทำสัญญาระหว่างเกษตรกรกับกลุ่มทุนที่ทำให้เกษตรกร สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและปัจจัยการผลิตรวมถึงการแก้ปัญหาด้านการตลาด ซึ่งเมื่อเกษตรกรเข้าไปสู่วงจรการพึ่งพาทุนและปัจจัยการผลิตจากนายทุนแล้วก็ จะเป็นช่องทางให้นายทุนสามารถมีอำนาจในการกำหนดราคา เพื่อผลประโยชน์ที่นายทุนจะได้รับสูงขึ้น โดยเกษตรกรไม่สามารถจะมีอำนาจต่อรองใดๆ และเข้าสู่วงจรความยากจน
1. เกษตรครบวงจรและเกษตรพันธสัญญา
ในช่วงหลังระบบเกษตรพันธสัญญาได้พัฒนารูปแบบและนำมาใช้กับการพัฒนาระบบ การเกษตรที่เป็นที่รู้จักกันในนามของระบบเกษตรครบวงจร ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ และเริ่มแพร่หลายอย่างมากในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2534) “อ้อย” เป็นพืชที่เข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญาในระยะแรกๆ และประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ระบบ มากกว่าพืชชนิดอื่น ในการดำเนินการแบบเกษตรอุตสาหกรรมในรูปของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ตามมาด้วยอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง และอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ การดำเนินธุรกิจที่อาศัยระบบเกษตรพันธสัญญาดังกล่าว ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก การดำเนินการจะเป็นการทำสัญญาระหว่างเกษตรกรกับเจ้าของโรงงานแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จอย่างมาก การทำสัญญาจะเป็นการเจรจาทำข้อตกลงล่วงหน้าระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกร เท่านั้น ข้อตกลงที่ให้ผลประโยชน์ที่ให้ความพอใจกับคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ในบางพืชก็ได้มีการพัฒนาให้มีกฎหมายรองรับเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคู่สัญญา ให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น เช่น อ้อยและน้ำตาลทราย
จากประสบการณ์การดำเนินธุรกิจเกษตรแสดงให้เห็นว่าระบบเกษตรพันธสัญญา สามารถนำมาใช้ในการดำเนินการเกษตรอุตสาหกรรมได้ผลดีกว่าการค้าพืชผลทั่วๆ ไป ภาครัฐจึงเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุน ในรูปของโครงการต่างๆ ร่วมกับสถาบันการเงิน เช่น โครงการสี่ประสาน ที่ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการร่วมสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ 6 (2530-2534) ที่มีนโยบายเน้นการปรับระบบการผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันในตลาดโลก โดยการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทำให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดในต้นทุนที่ต่ำลงทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ บทบาทของภาครัฐที่เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นที่ รู้จักกันแพร่หลายในขณะนั้นว่าระบบเกษตรครบวงจรกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจาก ภาคเอกชนทำให้มีการนำพืชเศรษฐกิจใหม่เข้ามาสู่ระบบการเกษตรของไทย รวมถึงปศุสัตว์และประมงด้วย
ระบบการผลิตที่เปลี่ยนไปและการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นผลให้เกิดการ พัฒนาของอุตสาหกรรมเกษตรในภาคเอกชนก่อให้เกิดบรรยากาศในการลงทุนที่ต่อ เนื่องถึงการพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรและการพัฒนาระบบตลาดที่มี ประสิทธิภาพตอบสนองต่อความต้องการของผู้แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรทั้งตลาดภาย ในประเทศ และตลาดต่างประเทศ
การทำเกษตรระบบพันธสัญญามีเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา พืชใหม่ๆ หลายชนิดถูกนำมาใช้ภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา รวมถึงข้าวหอมมะลิ, ข้าวอินทรีย์, กุ้ง, ผักชนิดใหม่ๆ สำหรับอุตสาหกรรมผักแช่แข็งและผลไม้ต่างๆ ระบบเกษตรพันธสัญญากระจายตัวไปทั่วทุกภาคของประเทศตามการขยายตัวของภาค อุตสาหกรรมเกษตร
2. นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมระบบเกษตรพันธสัญญา
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2534) ในภาคเกษตร ภาครัฐได้กำหนดนโยบายการพัฒนาการเกษตรของประเทศที่เป็นแนวทางในการพัฒนา อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้า โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพ และระบบการจัดการ เพื่อช่วยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไปสู่เกษตรกรและสนับสนุนให้ เกษตรกรทำแผนการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณที่สอดคล้องกับความ ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตทางด้านการเกษตรเป็นวัตถุดิบซึ่ง เป็นแนวทางนำไปสู่การผลิตแบบเกษตรพันธสัญญาในการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว รัฐบาลได้จัดทำโครงการร่วมกับสถาบันการเงินในนามของโครงการสี่ประสานประกอบ ด้วยภาครัฐ สถาบันการเงิน เกษตรกรและภาคเอกชน (ผู้ประกอบการ) ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบทำ หน้าที่ประสานงานระหว่างเกษตรกร กับผู้ประกอบการ กำกับดูแลให้ทั้งสองฝ่ายทำสัญญาและดำเนินการตามสัญญาในการทำการผลิตและรับ ซื้อผลผลิต และให้สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นผู้ให้สินเชื่อในการลงทุนแก่เกษตรกรในระบบ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักคือการทำให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดการผลิตให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาความเสี่ยงด้านราคาผลผลิตเกษตรให้กับเกษตรกร ลดปัญหาความไม่แน่นอนของตลาด และพัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิตให้กับเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ของเกษตรกร
นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้เพิ่มแรงจูงใจให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยรัฐได้จัดสรรเงินฝากจำนวน 250 ล้านบาท ฝากไว้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำรายได้จากเงินฝากนี้นำไปชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับเกษตรกรที่เข้า ร่วมโครงการ เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้กับเกษตรกรเข้าร่วมโครงการและยังเป็นการลดต้นทุนการ ผลิตของเกษตรกรด้วย อย่างไรก็ดี การประเมินผลโครงการสี่ประสานไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจจากเหตุผลที่การดำเนิน การของโครงการขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างมาก เช่น การที่ภาครัฐจะต้องจัดหาเมล็ดพันธุ์ให้เปล่ากับผู้ปลูกดอกทานตะวัน เป็นต้น และการที่โครงการไม่ประสบความสำเร็จยังมีปัจจัยประกอบอื่นๆ อีกหลายปัจจัย สรุปได้คือ
- ข้อสัญญาที่เข้มงวดเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้ขาดความยืดหยุ่นในการจัดการของผู้ประกอบการ
- ความไม่คุ้นเคยในการเพาะปลูกพืชชนิดใหม่และขาดเวลาในการทำให้ยอมรับ เทคโนโลยีในการผลิตพืชใหม่ๆ เมื่อผลได้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเกษตรกรก็หันกลับไปเพาะปลูกพืชเดิมที่คุ้นเคย
- ขาดการส่งเสริมการเกษตรและการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจัง รวมถึงระบบการจัดส่งไม่ครอบคลุมพื้นที่โครงการได้ทั้งหมด ทำให้การดำเนินงานขาดประสิทธิภาพผลจากการประเมินโครงการสี่ประสาน ภาครัฐโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการปรับแผนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเน้นการดำเนินงานของหน่วยงานตัวแทนภาครัฐที่ไม่ควรเข้าไปมีบทบาทในการทำ สัญญาระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการโดยตรง ควรให้การทำสัญญาดำเนินการไปในรูปของธุรกิจโดยไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับความ ช่วยเหลือจากภาครัฐโดยไม่สิ้นสุด มาตรการต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรองรับการปรับแผนการดำเนินงานของโครงการสี่ประสานให้มี ประสิทธิภาพมาตรการต่างๆ นี้จะเน้นในเรื่องการจัดการของความร่วมมือในการมีส่วนร่วมในความเสี่ยง เช่น การจัดตั้งกองทุนชดเชยความเสี่ยง เป็นต้น
ในปี 2538 ได้กำหนดเงื่อนไขในการให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรภายใต้โครงการสี่ประสานไว้ คือ
- เป็นโครงการที่สามารถลดความเสี่ยงในการผลิต
- เป็นโครงการที่สามารถลดความเสี่ยงด้านการตลาด
- เป็นโครงการที่สามารถระบุพื้นที่และเกษตรกรที่มีศักยภาพในการดำเนินการผลิต การอนุมัติโครงการจะตัดสินจากผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ประกอบการจะให้กับ เกษตรกรการปรับแผนขั้นสุดท้ายได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดสินค้าเป้าหมายไว้ 2 กลุ่ม คือ
- ผลผลิตทางการเกษตรที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก เช่น ข้าวคุณภาพ ผลไม้ ไม้ดอก ปลาน้ำจืด และปลาประมงชายฝั่ง
- พืชอุตสาหกรรม เช่น พืชผัก ดอกทานตะวัน ข้าวโพด และไม้โตเร็วต่างๆ
โครงการสี่ประสานได้ดำเนินการหลังจากมีการปรับโครงการอย่างต่อเนื่องในปี 2539-2543 ซึ่งอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540-2544) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (2545-2549) ได้วางแนวทางในการพัฒนา ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยยึดหลักทางสายกลางเพื่อให้ประเทศสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและนำไปสู่ การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัฒน์และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิสัยทัศน์ของการพัฒนาในอนาคต 20 ปี ต่อไปในอนาคตมีจุดมุ่งหมายที่เน้นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพ ชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศในภาคเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยยึดหลัก 4 ประการ ได้แก่
1. เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และปัญญาเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกษตรกรรู้จักการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ โดยมีการทำกินในแปลงที่ดินที่จัดให้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้
3. เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรยากจน ควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เน้นการรวมกลุ่มเกษตรกรให้พึ่งพาช่วยเหลือกัน ในรูปสหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาด อันสามารถจะเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกในรูปการ
ทำ Contract Farming กับบริษัทเอกชน
แนวทางการพัฒนาได้กำหนดในลักษณะบันได 4 ขั้น คือ ระดับที่ 1 การทำเกษตรขั้นพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิตในครัวเรือน ระดับที่ 2 การทำเกษตรเมื่อเหลือจากการบริโภคนำไปจำหน่ายในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ระดับที่ 3 การทำการเกษตรเพื่อขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน ตำบล อำเภอหรือจังหวัดใกล้เคียง และระดับที่ 4 การทำการเกษตรเพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศเป็นระดับสุดท้าย
นอกจากนี้ ยังมีนโยบายปรับโครงสร้างภาคการเกษตร และการปรับโครงสร้างการผลิตรายสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้มีการกำหนดมาตรการและโครงการต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับและส่งเสริมการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ระบบเกษตรพันธสัญญา(Contract Farming) นับเป็นสิ่งหนึ่งภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการค้า รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เป็นรากฐานที่เข้มแข็งในการสร้างรายได้ของ ประเทศ เพื่อบรรเทาความยากจนจากการที่ระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับ การซื้อขายสินค้าเกษตรที่สามารถกำหนดข้อตกลงในการซื้อขายให้เป็นประโยชน์กับ คู่สัญญาได้ภายใต้การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นในปัจจุบันจึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาทางการเกษตรและ เป็นองค์ประกอบในการพัฒนาการเกษตรในหลายรูปแบบ เช่น การค้าสินค้าเกษตรล่วงหน้า การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร การพัฒนาระบบเกษตรครบวงจร การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร และรวมถึงการนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับ เกษตรกรรายย่อยด้วย
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ