2509 กฟผ. เสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต่อรัฐบาล
2510 รัฐบาลจัดตั้งคณะอนุกรรมการนิวเคลียร์ พิจารณาโครงการฯ เริ่มการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ และเลือกสถานที่ตั้ง
2513 IAEA เห็นชอบสถานที่เตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บริเวณอ่าวไผ่ ชลบุรี
2515 รัฐบาลเห็นชอบโครงการฯ กำหนดใช้ปฏิกรณ์แบบ BWR ขนาด 600 MWe
2517 จองเชื้อเพลิงยูเรเนียมจาก Energy Research and Development Administration (ERDA) USA
2519 เสนอขออนุมัติเพื่อเปิดประมูลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
2521 รัฐบาลเลื่อนโครงการโดยไม่มีกำหนด (ค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย)
2525-2534 กฟผ. สำรวจและศึกษาหาสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และได้สถานที่ตั้งที่เหมาะสม 5แห่ง
2535-2538 กฟผ. ร่วมกับบริษัท NEWJEC ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาสถานที่ตั้งอย่างละเอียด ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและจัดลำดับสถานที่ตั้งที่เหมาะสม
2536-2537 กรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนฯ ศึกษาการนำพลังงานนิวเคลียร์มาผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย
2540-2541 ครม. แต่งตั้ง คณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐาน
2550 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2550-2564 (PDP 2007 -แผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงพลังงานของประเทศในระยะยาว) ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีสาระสำคัญของแผน PDP 2007คือ การกำหนดทางเลือกให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ ปริมาณ 2,000เมกะวัตต์ในปี พ.ศ. 2563และอีก 2,000เมกะวัตต์ในปี พ.ศ. 2564 2552คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2551-2564 (PDP 2007ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ตามมติกพช. โดยได้มีการปรับลดกำลังผลิตไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในปี พ.ศ. 2563และปี 2564เหลือปีละ 1,000เมกะวัตต์
2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 (PDP 2010) เมื่อเดือนมีนาคม 2553สาระสําคัญหลักๆ ของแผน PDP 2010คือให้ความสําคัญกับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าให้มีการกระจายแหล่งเชื้อ เพลิงในการผลิตไฟฟ้า เป็นการพัฒนาพลังงานสะอาดหรือ Green PDP ด้วยการเพิ่มปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพลังงานทดแทน 15ปี และคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management --DSM) และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อน ร่วม (Cogeneration)1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 5โรง กำลังผลิตรวม 5,000เมกะวัตต์(สร้าง 2โรงแรกในปี2563และ 2564)2.โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Co-Generation) จำนวน 20โรง กำลังผลิตติดตั้ง 15,870เมกะวัตต์3.โรงไฟฟ้าถ่านหิน จำนวน 13โรง กำลังผลิตติดตั้ง 10,000เมกะวัตต์ (เทคโนโลยีที่นำมาใช้ จะเน้นที่รองรับเฉพาะถ่านหินสะอาด ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด)4.โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ SPP ประเภทพลังความร้อนร่วม (Co-Generation) กำลังผลิตติดตั้ง 6,844เมกะวัตต์5.โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่เป็นของเอกชนและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 5,242เมกะวัตต์รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศกำลังผลิต 11,669เมกะวัตต์
2554 กพช. ประกาศเลื่อนการพิจารณาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปี
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ