ฟังการบันทึกเสียงปาฐกถาพิเศษของ ดร. สุรเกียรติ์ ได้ด้านล่าง หรือ ดาวน์โหลด MP3
การมี Action Plan ประชาคมทำให้อาเซียนมี Blueprint ชัดเจน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ มีการเจรจาที่เบ็ดเสร็จจริงจังเป็นรูปธรรมในหลายเรื่อง อาทิ การทำ FTA ระหว่างอาเซียนในฐานะเป็นกลุ่มกับประเทศต่างๆ จะทำให้เกิดความเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น รวมทั้งการขยายความรู้ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์ทางด้านวิชาการ ด้านเทคนิคถือเป็นการเตรียมตัวในการเป็นประชาคม 2015
อาเซียนมีการตื่นตัวในการเป็นประชาสังคมมากขึ้น มีความพยายามเชื่อมโยงประเทศอาเซียน (ASEAN connectivity) ให้เป็นรูปธรรม เช่นการสร้างสะพานมุกดาหาร-สะหวันนะเขต และสะพานเชื่อมโยงเชียงของ-ห้วยทรายที่กำลังเริ่ม ตลอดจนอาเซียนเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น บทบาทที่เปลี่ยนไปและการเป็นประชาคมทำให้อาเซียนได้รับความสนใจให้มีความ สำคัญมากขึ้น
ดร.สุรเกียรติ์กล่าวถึง อาเซียนนั้นในเวลานี้ยังขาดความรู้สึกการเป็นเจ้าของหรือ ขาดความรู้สึกในการมีส่วนร่วม (sense of participation) ซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคในเวลานี้ “อาเซียนขาดปฏิสัมพันธ์ของภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน คนทั่วไปยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กันเท่าไหร่ เรารู้จักเพื่อนบ้านแต่ยังไม่รู้จักความเป็นอาเซียน เรายังไม่มีการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศภายในอาเซียน ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ยังมีไม่มาก รวมทั้งการวิจัยของคนอาเซียนกับคนนอกกลุ่ม” พร้อมกับยังมองว่าการทำงานของอาเซียนนั้นเป็นงานของข้าราชการมากกว่า
“อาเซียนค่อนข้างเป็นงานของข้าราชการประจำ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ของรัฐมนตรีแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ค่อยกระจายไปถึงประชาชนว่า ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมของอาเซียนได้อย่างไร ”
นอกจากนี้ดร.สุรเกียรติ์ยัง ได้เสนอให้มีนโยบายร่วมกันของประชาคมอาเซียนต่อด้านต่างๆ ทั้งนโยบายต่างประเทศ นโยบายความมั่นคงร่วม ซึ่งยังคงมีความยากอยู่ รวมถึงอาเซียนเองก็ยังไม่มีนโยบายเศรษฐกิจกับนอกกลุ่มเช่นกับสหภาพยุโรป หมู่เกาะแปซิฟิก กลุ่มประเทศในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น เพราะการไม่นโยบายร่วมกันที่ชัดเจนทำให้ขาดความรู้สึกร่วมกันผนวกกับขาดหลัก การที่ว่าอาเซียนต้องมาก่อน ทำให้ความรู้สึกร่วมกันของความเป็นอาเซียนจึงยังไม่เกิดขึ้นจริง
ปัญหา อีกด้านหนึ่งที่ดร.สุรเกียรติ์ได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสำคัญคือปัญหาเรื่อง ทวิภาคีที่มีความขัดแย้งกันสองประเทศที่ปัญหาการเมืองภายในส่งผลต่อการ ประชุมในกลุ่มอาเซียน ซึ่งหลายประเด็นเป็นเรื่องความขัดแย้งเรื่องพรมแดนที่ควรเป็นหน้าที่ของนัก เทคนิคอย่างนักกฎหมายระหว่างประเทศหรือผู้ทำแผนที่มากกว่านักการเมือง
“แต่การเมืองภายในประเทศไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่ากระทบอาเซียน และไปกระทบความเป็นประชาคม ที่ชัดเจนที่สุดคือการที่ไทยจัดการประชุมอาเซียน+3ไม่ได้ทั้งที่ผู้นำมาครบ กันหมดแล้ว ซึ่งเวลานี้ก็ยังมีผลกระทบอยู่ ซึ่งไม่ใช่แค่อาเซียน 10 ประเทศเท่านั้นแต่เป็นอาเซียน+3 ที่รวม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งก็ทราบกันดีว่าจีนเป็นประเทศมหาอำนาจและเขาได้รับการดูแลจากประเทศมหา อำนาจในโลกนี้อย่างไร การเมืองในประเทศกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังเช่นกรณี กัมพูชาตั้งอดีตนายกทักษิณเป็นที่ปรึกษา หรือกรณี ของคุณพนิช ที่ถูกจับตัวไปซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากปัญหาการเมืองภายในประเทศและไปถึง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและย้อนกลับมาเป็นปัญหาการเมืองภายในประเทศ ”
นอกจากนั้นอาเซียนต้องระวังในเรื่องการถูกผลักดันนโยบายจากมหาอำนาจ มากกว่าที่อาเซียนจะหารือกันเอง ซึ่งอาเซียนต้องมาคุยกันมากกว่า ต้องเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (ASEAN Centrality) มิเช่นนั้นอาเซียนจะไม่มีความเป็นตัวของตัวเองและผลกระทบนั้นก็จะตกมาที่อา เซียน แม้ว่ามหาอำนาจอย่างจีน ญี่ปุ่นจะสนใจซึ่งเป็นเรื่องดีแต่ก็ต้องมาคิดกันว่าจะส่งผลนัยยะอย่างไรต่อ ไทยและอาเซียน
สุดท้ายดร.สุรเกียรติ์ได้กล่าวปิดท้ายอย่างน่าสนใจว่า
“ปัญหาของเราคือ ต้องรู้ว่าเราเตรียมตัวไปสู่อะไร เรายังมองประชาคมอาเซียนไม่ค่อยเหมือนกัน อาเซียนควรเป็นแบบอาเซียนในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แต่ภาครัฐราชการ รัฐมนตรีของอาเซียนต้องยอมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมกันมากขึ้น เพื่อทำข้อเสนอไปยังรัฐมนตรีอาเซียนว่า ประชาคมอาเซียนควรจะมีการปรับตัวเพื่อให้ภาคส่วนทั้งหลายเข้าไปมีส่วนร่วมใน การแสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจได้อย่างไร เราต้องเข้าใจ ASEAN Way ต้องรู้ว่าประชาคมอาเซียนใน 2015 คือประชาคมแบบไหน หน้าตาอย่างไร เพื่อที่เมื่อเรารู้แล้วก็จะทำให้สิ่งที่ได้ตั้งคำถามว่า ไทยจะเตรียมตัวอย่างไรสามารถตอบได้ชัดเจนขึ้น”
รายงานจาก http://www.siamintelligence.com/surakiat-give-a-suggestion-and-critique-on-asean-community/
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ