1.อัตราเงินเฟ้อวัดความเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการซึ่งมีผลกระทบ โดยตรงต่อกำลังซื้อและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค อัตราเงินเฟ้อที่มากกว่า 0% ลดกำลังซื้อของผู้บริโภค แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบหรือที่เราเรียกกันว่า“เงินฝืด”จะเพิ่มกำลัง ซื้อให้ผู้บริโภค สภาวะเงินฝืดมีผลทางลบต่อกำไรของผู้ประกอบการเนื่องจากสภาวะเงินฝืดมักเกิด จากวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งทำให้ความต้องการสินค้าหดตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นภาวะเงินฝืดมักทำให้ผู้ประกอบการลดค่าแรงและการว่าจ้างงาน ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อที่มากกว่า 0% เล็กน้อยจัดว่าเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ไม่สูญเสียเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ธปท.จึงมีนโยบายควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเป้าหมาย 0.5%-3%
2.อัตราเงินเฟ้อมีผลกระทบต่อผลตอบแทนจากการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร หรือการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ผลตอบแทนจริง (Real return) คือส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนตามตลาด (Market return) และอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นดอกเบี้ยจริง (Real interest rate) สำหรับผู้ออมเงินคือส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit rate) และอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นการปรับตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทำให้ดอกเบี้ยจริงลดลงและมีผลเชิงลบต่อผู้ออมเงิน
รายงานฉบับดังกล่าวของอดีตรมต.กรณ์เปรียบเทียบสถิติมหภาคบางตัวในสมัย รัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลทักษิณรวมทั้งรัฐบาลีต่างประเทศอย่างคลุมเครือหลายประเด็น [2] อย่างไรก็ตามในบทความนี้ดิฉันขอเน้นที่สถิติเงินเฟ้อซึ่งไม่ปรากฏในรายงาน ดังกล่าว ในเมื่ออดีตนายกฯอภิสิทธิ์ได้เน้นถึงความสำคัญของอัตราเงินเฟ้อตั้งแต่เป็น ฝ่ายค้านด้วยการแนะนำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ระวังปัญหาเงินเฟ้อ [3] เราก็น่าจะลองเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อภายใต้รัฐบาลทักษิณและรัฐบาล อภิสิทธิ์ให้ชัดเจน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ธปท.ใช้กำหนดนโยบายการเงินคืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่ครอบคลุมสินค้าประเภทอาหารสดและพลังงาน [4] ราคาอาหารและราคาพลังงานมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค ดังนั้นบทความนี้จึงใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปซึ่งครอบคลุมสินค้าประเภทอาหารสด และพลังงาน ดิฉันเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและดอกเบี้ยจริงที่วัดส่วน ต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในตาราง 1
ถ้าเปรียบเทียบผิวเผินโดยไม่แยกแยะภาวะเงินเฟ้อออกจากภาวะเงินฝืดซึ่งเกิดจาก การหดตัวของความต้องการสินค้าไทยในตลาดโลก จะดูเหมือนว่าอัตราเงินเฟ้อสมัยรัฐบาลทักษิณสูงกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เพราะ อัตราเงินฝืดในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2552 ดึงค่าเฉลี่ยของรัฐบาลอภิสิทธืให้ต่ำถึง 1.70% แต่ไม่มีภาวะเงินฝืดในสมัยรัฐบาลทักษิณมาดึงค่าเฉลี่ยให้ต่ำลง แม้ว่าในทางคณิตศาสตร์ภาวะเงินฝืดมีผลเชิงบวกต่อดอกเบี้ยจริง กำไรที่ผู้ออมเงินได้จากภาวะเงินฝืดมาจากการที่ผู้บริโภครอให้สินค้าราคาตก ก่อนแล้วค่อยซื้อ จึงเป็นกำไรที่ผู้ประกอบการถ่ายเทให้กับผู้บริโภค ส่วนกำไรที่ถ่ายเทจากสถาบันการเงินในภาวะเงินฝืดนั้นต่ำมากเพราะธนาคารกลาง มักกระหน่ำลดดอกเบี้ยจนเกือบเป็น 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ยิ่งผู้บริโภครอนานๆไม่ยอมบริโภคเสียทีก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจถดถอย ด้วยเหตุนี้ดอกเบี้ยจริงที่มาจากภาวะเงินฝืดจึงเป็นอาการของภาวะเศรษฐกิจถด ถอยและอาจกลายเป็นภาวะเรื้อรังที่กินเวลาเป็นทศวรรษเหมือนญี่ปุ่น
เมื่อยกเว้นภาวะเงินฝืดในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2552 อัตราเงินเฟ้อในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์สูงกว่ารัฐบาลทักษิณ 0.51% (=3.17%-2.68%) อัตราดอกเบี้ยจริงในช่วงนี้สูงกว่ารัฐบาลทักษิณ 0.81% (=1.42%-0.61%) ตัวเลข 0.51% หรือ 0.81% ดูเหมือนเล็กมาก แต่เมื่อประเมินด้วยยอดเงินฝากในสถาบันการเงินแล้วมีมูลค่ามหาศาล “เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำและเงินฝากอื่น”ในบัญชีการเงินของสถาบันรับฝากเงินหลังภาวะเงิน ฝืดในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์มียอดเฉลี่ย 8.6 ล้านล้านบาท [5] อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 0.51% ถ่ายเทกำไรจากผู้ออมเงินให้สถาบันฝากเงินมากขึ้น 4.4 หมื่นล้านบาทต่อปี (=0.51% x 8.6 ล้านล้านบาทต่อปี) ในปี 2553 ธนาคารพาณิชย์ได้กำไรประมาณ 1 แสนล้านบาท [6] ดังนั้นตัวเลข 4.4 หมื่นล้านจึงมีมูลค่าสูงถึง 44% ของกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์
โปรดสังเกตว่าดอกเบี้ยจริงติดลบภายใต้ทั้งสองรัฐบาลแสดงว่าผู้ออมเงินขาด ทุนจากการออมมาตลอด และขาดทุนมากยิ่งขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์หลังพ้นภาวะเงินฝืด แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานหลังพ้นภาวะเงินฝืดไม่เกินเป้าหมายของธปท. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับตัวสูงขึ้นมีผลเชิงลบต่อกำลังซื้อและยิ่งทำให้ ผู้ออมเงินขาดทุนจากการออมมากขึ้น การขาดทุนจากการออมทำให้ผู้ออมเงินหันไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีความ เสี่ยงสูงเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ทองคำ ฯลฯ ทำให้รัฐบาลและธปท.ต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไรในตลาด อสังหาริมทรัพย์และตลาดทุน ส่วนตลาดทองคำนั้นอยู่เหนือการควบคุมของรัฐบาลและธปท.เพราะราคาทองคำผันผวน ตามตลาดโลกเช่นเดียวกับน้ำมันและแร่ธาตุต่างๆ
ดิฉันขอเปรียบเทียบดอกเบี้ยจริงในไทยและอินโดนีเซียในตาราง 2 อินโดนีเซียเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศเดียวที่ประสบวิกฤตการเงินในปี 2540 จนต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เหมือนไทย หลังวิกฤตอินโดนีเซียปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจหลายด้าน อัตราการเติบโตของผลผลิตประชาชาติของอินโดนีเซียสูงกว่าไทยตั้งแต่ปี 2548 รวมทั้งช่วงหลังวิกฤตการเงินสหรัฐฯแต่อินโดนีเซียไม่ปรากฎในรายงานของอดีตรม ต.กรณ์ จากตาราง 2 ชัดเจนว่าดอกเบี้ยจริงในไทยติดลบแต่ดอกเบี้ยจริงในอินโดนีเซียเป็นบวก แสดงว่าผู้ออมเงินในไทยขาดทุนแต่ผู้ออมเงินในอินโดนีเซียได้กำไร และแสดงว่าต้นทุนของเงินทุนในอินโดนีเซียสูงว่าไทยแต่ไม่มีผลเชิงลบต่อการ เติบโตของผลผลิตประชาชาติของอินโดนีเซีย [7]
บทสรุป
เมื่อวัดผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่อผู้บริโภคและผู้ออมเงินแล้ว ผู้บริโภคและผู้ออมเงินเสียหายจากอัตราเงินเฟ้อในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ มากกว่ารัฐบาลทักษิณ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเพียงครึ่งเปอร์เซ็นต์ต่อปีสามารถถ่ายเทกำไรจากผู้ ออมเงินไปสู่สถาบันรับฝากเงินได้ถึง 4.4 หมื่นล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ผู้ออมเงินในไทยขาดทุนภายใต้ทั้งสองรัฐบาลถ้าไม่ลงทุนในสินทรัพย์ ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ทองคำ ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ออมเงินจะหันไปลงทุนในตลาดเหล่านี้ ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นปรับขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในยุครัฐบาล ทักษิณและรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในทางกลับกัน ผู้ออมเงินในอินโดนีเซียได้กำไรจากการออมเงินในสถาบันรับฝากเงินใน อินโดนีเซียทั้งในยุครัฐบาลทักษิณและรัฐบาลอภิสิทธิ์ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลตอบแทนจากการออมในไทยต่ำกว่าอินโดนีเซียคือโครงสร้าง ตลาดเงินไทย ไทยมีธนาคารพาณิชย์ 16 ธนาคารแต่อินโดนีเซียมี 117 ธนาคาร เทียบแล้วอินโดนีเซียมีจำนวนธนาคาร 7.4 เท่าของไทยทั้งๆประชากรอินโดนีเซียมากกว่าไทยเพียง 3.4 เท่า จำนวนธนาคารพาณิชย์ที่มากมายในอินโดนีเซียทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อระดมเงิน ฝาก ทำให้ผู้ออมเงินในอินโดนีเซียได้รับผลตอบแทนจริงมากกว่าในไทยแม้ว่าอัตรา เงินเฟ้อของอินโดนีเซียสูงกว่าไทย
หมายเหตุ
[1] รายงานฉบับนี้แนบอยู่ท้ายข่าว “กรณ์ยันรัฐบาล’อภิสิทธิ์’วางรากฐานศก.ไทยแกร่ง” 22 สิงหาคม 2544 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20110822/405770/กรณ์ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์วางรากฐานศก.ไทยแกร่ง.html
[2] สถิติที่คลุมเครือมากในรายงานโดยอดีตรมต.กรณ์คือยอดหนี้ของรัฐบาล ไม่ชัดเจนว่ายอดหนี้รัฐบาลเพิ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์เท่าไร? ธปท.คาดการณ์ไว้ว่ายอดหนี้ของรัฐบาลในปี 2553 สูงกว่าปี 2552 4 แสนล้านบาท แต่รายงานฉบับนี้ไม่มีสถิติที่สอดคล้องกับธปท. (ที่มา : ธปท. ตาราง EC_PF_003_S2 : หนี้ในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาล http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/PublicFinance/Pages/Index.aspx# ) ประเด็นที่ 2 คือแหล่งเงินกู้ รายงานนี้เสนอว่า “ทั้งหมดเราได้กู้ยืมจากคนไทยเท่านั้น”แต่ไม่บอกว่ากู้ยืมทั้งหมดเท่าไร เมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ยอดหนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเกือบ 100% เป็นหนี้ในประเทศ เมื่อรวมภาครัฐและเอกชนด้วยกันแล้วญี่ปุ่นเป็นประเทศเจ้าหนี้มานานแล้วแต่ ไทยยังเป็นประเทศลูกหนี้ แต่รายงานนี้ก็เสนอว่าเปรียบเทียบว่าอัตราหนี้สาธารณะของไทยต่อ GDP ต่ำกว่าญี่ปุ่นมาก ทำให้สับสนว่ารายงานนี้ใช้ตรรกะอะไร? ถ้าจะเสนอว่า”กู้ในประเทศไม่เป็นไร”ญี่ปุ่นก็ไม่เป็นไรเหมือนกัน ถ้าจะเสนอว่า”ยอดหนี้สูงกว่าแปลว่าแย่กว่า” ก็น่าจะเปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจนว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์เพิ่มยอดหนี้รัฐบาล เท่าไร? การเปิดเผยแต่ยอดหนี้รัฐบาลในปีใดปีหนึ่งไม่ทำให้เห็นว่าหนี้เพิ่มเท่าไร
[3] “’อภิสิทธิ์’เตือนรัฐบาลใหม่ เน้นกระตุ้นศก.ระวังเงินเฟ้อ” 8 สิงหาคม 2554 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20110808/403815/อภิสิทธิ์เตือนรัฐบาลใหม่-เน้นกระตุ้นศก.ระวังเงินเฟ้อ.html
[4] ธปท.กำหนดนโยบายการเงินโดยอ้างอิงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่ครอบคลุม สินค้าประเภทอาหารสดและพลังงาน เพราะราคาอาหารสดและพลังงานมีความผันผวนมากแต่ดอกเบี้ยนโยบายที่ดีไม่ควร ผันผวนมากมิฉะนั้นจะทำลายเสถียรภาพทางการเงิน การใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางยุโรป แต่ธนาคารกลางสหรัฐและญี่ปุ่นไม่กำหนดกรอบเงินเฟ้อชัดเจน
[5] ที่มา : ธปท. ตาราง EC_MB_003_S2 : บัญชีการเงินของสถาบันรับฝากเงิน http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/PublicFinance/Pages/Index.aspx#
[6] “แบงก์ฟันกำไรปี′53 อื้อซ่ากว่า 1 แสนล้าน เพิ่มขึ้น25% ธ.กรุงเทพแชมป์โกยมากสุด” 21 มกราคม 2554 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1295573459
[7] การคำนวณความแตกต่างระหว่างประเทศของดอกเบี้ยเพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนจาก การลงทุนข้ามพรมแดนต้องนำอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาคำนวณด้วย แต่ตาราง 2 เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการออมในสถาบันการเงินภายในประเทศเท่านั้น ผลตอบแทนดังกล่าวเป็นต้นทุนของเงินทุนภายในประเทศ ดังนั้นตาราง 2 จึงไม่จำเป็นต้องนำอัตราแลกเปลี่ยนมาคำนวณด้วย
หมายเหตุ กานดา นาคน้อย จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ด้วยทุนของมหาวิทยาสแตนฟอร์ดและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ( IMF) จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Hitotsubashi ในญี่ปุ่น ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียวโดยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาช่วงสั้นๆให้กับธนาคารโลกและIMF
ที่มา http://www.prasong.com
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ