ขยะอิเลกทรอนิกส์ ปัญหาที่มายืนรอในทศวรรษหน้า

 

siamintelligence.com 11 ก.ค. 2555


 

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาและจากไปอย่างรวดเร็ว เรามักจะรับรู้เมื่อผลิตภัณฑ์ไอที หรือ Gadget ใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาด  แต่จุดหมายปลายทางสุดท้ายของมันน้อยคนจะรู้ว่าเมื่อมันหมดประโยชน์และกลายเป็น “ขยะอิเล็กทรอกนิกส์” ปลายทางของมันอยู่ที่ใด

 

จากการที่ SIU ได้สัมภาษณ์ผู้เปิดธุรกิจตู้โทรศัพท์มือถือ รับซื้อ รับเทิร์นโทรศัพท์มือ 2 ได้รับทราบปัญหาว่า ในปัจจุบันกิจการประเภทดังกล่าวกำลังประสบปัญหาเมื่อมือถือรุ่นใหม่ๆมีราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะมือถือตระกูลแอนดรอยด์ ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น มีผู้คนใช้อย่างแพร่หลาย การรับซื้อโทรศัพท์มือถือมือ 2 นั้นมีโอกาสประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากอัตราการขายต่อในปัจจุบันลดลง หากไม่ใช่มือถือ ไอโฟน หรือ แอนดรอยด์ รุ่นยอดนิยม โอกาสถูกกดราคามีสูงมาก เพราะผู้ซื้อสามารถซื้อมือถือเครื่องใหม่ได้ในราคาไม่แตกต่างจากการซื้อมือ 2 มากนัก

 

ดังนั้นผู้เปิดธุรกิจตู้โทรศัพท์มือถือจึงมองว่าส่วนนี้จะทำให้ขาดทุน รวมไปถึงจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล เพราะนอกจากตัวมือถือยังมีสายชาร์จและอุปกรณ์เสริมที่ตามมาด้วย  ไม่นับรวมกับเพจเจอร์ โทรศัพท์มือถือตกรุ่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยในอนาคตหากโทรทัศน์เปลี่ยนการออกอากาศจากระบบอนาล็อก กลายเป็นระบบดิจิทัล ภายในปี 2015 โทรทัศน์รุ่นเก่าๆที่ไม่สามารถรองรับระบบออกอากาศแบบดิจิทัลได้จะเจอปัญหาแน่นอน หากลองคิดว่า มีโทรทัศน์อย่างต่ำจำนวน 5 ล้านเครื่องมาวางกอง จะมีจำนวนมากขนาดไหน?

 

ในทวีปยุโรปได้มีการออกกฏเกณฑ์ให้อุปกรณ์เสริมต่างๆของโทรศัพท์มือถือ มีลักษะพอร์ทแบบเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอความร่วมือไปยังบริษัทที่ผลิตสินค้าไอที และได้รับความร่วมมืออย่างดี และรัฐสภายุโรปให้ความเห็นชอบผ่านร่างกฏหมาย Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) Recast เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปี 2003

 

รายละเอียด ของ WEEE ได้ระบุว่าประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปจะต้องเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ 45 ตัน จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขายทุกๆ 100 ตัน ในช่วง 3 ปี ก่อนหน้า โดยในปี 2019 จะเพิ่มเป็น 65-85 ตัน หรือเลือกที่จะเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตจะต้องมีการรีไซเคิลสินค้าในประเภทที่ใหญ่ขึ้น เช่น เครื่องซักผ้า และร้านค้าขนาดใหญ่ที่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กจากลูกค้าแม้ว่าลูกค้าจะไม่ได้ซื้อสินค้าชิ้นใหม่ก็ตาม และยังบังคับให้ร้านค้าเตรียมแบบฟอร์มสำหรับการรับคืนสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งยังประเทศอื่นๆ

 

 

 

สำหรับในประเทศไทยบริษัทเอกชนบางๆแห่ง เช่น โนเกีย หรือ ซัมซุงได้มีการตั้งกล่องรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์หน้าศูนย์บริการ แต่ก็ยังทำในเชิงของ CSR และยังไม่ทำโดยแพร่หลาย  นอกจากต้องแบกรับขะอิเล็กทรอกนิกส์ภายในประเทศแล้ว ไทยยังเป็นแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศกำลังพัฒนา เช่นเมื่อปี 2008 กรีนพีซ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกได้เตือนไทย โดย นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “ประเทศไทยต้องไม่ตกเป็นที่รับทิ้งขยะของประเทศใด ๆ ขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมักจะมาในรูปแบบของสินค้ามือสองหรือซากผลิตภัณฑ์เพื่อรีไซเคิล ขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถือเป็นของเสียอันตรายจากประเทศญี่ปุ่น มักจะมาโดยอาศัยช่องทางของข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ในกรณีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย- ญี่ปุ่น หรือ JTEPA”

 

องค์การภาครัฐในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับบการรับมือปัญหาดังกล่าวพยายามที่จะร่วมบูรณาการกันทั้งในส่วนของการกำหนดนโยบายและในการนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้มีความสอดคล้องและส่งผลให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยแบ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่เกิดจากชุมชนคือ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในกรอบของโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

 


ดังนั้นผู้เปิดธุรกิจตู้โทรศัพท์มือถือจึงมองว่าส่วนนี้จะทำให้ขาดทุน รวมไปถึงจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล เพราะนอกจากตัวมือถือยังมีสายชาร์จและอุปกรณ์เสริมที่ตามมาด้วย  ไม่นับรวมกับเพจเจอร์ โทรศัพท์มือถือตกรุ่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยในอนาคตหากโทรทัศน์เปลี่ยนการออกอากาศจากระบบอนาล็อก กลายเป็นระบบดิจิทัล ภายในปี 2015 โทรทัศน์รุ่นเก่าๆที่ไม่สามารถรองรับระบบออกอากาศแบบดิจิทัลได้จะเจอปัญหาแน่นอน หากลองคิดว่า มีโทรทัศน์อย่างต่ำจำนวน 5 ล้านเครื่องมาวางกอง จะมีจำนวนมากขนาดไหน?

 

ในทวีปยุโรปได้มีการออกกฏเกณฑ์ให้อุปกรณ์เสริมต่างๆของโทรศัพท์มือถือ มีลักษะพอร์ทแบบเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์  โดยขอความร่วมือไปยังบริษัทที่ผลิตสินค้าไอที และได้รับความร่วมมืออย่างดี และรัฐสภายุโรปให้ความเห็นชอบผ่านร่างกฏหมาย Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) Recast เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับปี 2003

 

รายละเอียด ของ WEEE ได้ระบุว่า ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปจะต้องเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ 45 ตัน จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขายทุกๆ 100 ตัน ในช่วง 3 ปี ก่อนหน้า โดยในปี 2019 จะเพิ่มเป็น 65-85 ตัน หรือเลือกที่จะเก็บเป็นเปอร์เซ็นก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตจะต้องมีการรีไซเคิลสินค้าในประเภทที่ใหญ่ขึ้น เช่น เครื่องซักผ้า และร้านค้าขนาดใหญ่ที่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กจากลูกค้าแม้ว่าลูกค้าจะไม่ได้ซื้อสินค้าชิ้นใหม่ก็ตาม และยังบังคับให้ร้านค้าเตรียมแบบฟอร์มสำหรับการรับคืนสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งยังประเทศอื่นๆ

 

 

ในส่วนนโยบายการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2550 ได้ให้ความเห็นชอบ ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณการ ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เปรียบเสมือน แผนแม่บทของนโยบายการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรกของประเทศไทยที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ครอบคลุมและครบถ้วนที่สุด ได้กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการเพื่อความยั่งยืนโดยมีสาระสำคัญ คือการดำเนินการภายใต้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle: PPP) ผู้นำเข้า ผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบในผลกระทบที่เกิดขึ้น 

 

สำหรับในส่วนภาคเอกชนหลายที่มีการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สินค้าประดับบ้านเป็นต้น แต่ก็ยังมีความน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะหลังจากเกิดประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 จำนวนขยะอิเล็กทรอกนิกส์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก  การรีไซเคิลนั้นเป็นหนทางที่ดีที่สุด เพราะหากเลือกใช้วิธีการเผาทำลาย สารเคมีพิษจะกระจายในชั้นบรรยากาศจำนวนมากสินค้าชนิดนั้นมีส่วนประกอบของพลาสติก PVC ก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดอ๊อกซินคลอไรด์และสารฟิวแรน สารทนไฟซึ่งทำจากโบรมีนก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารโบรไมเนตไดอ๊อกซินและสารฟิวแรน เมื่อมีการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์ชนิดนั้น

 

รัฐบาลไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยจะต้องมีความพร้อมในการรับมือ และการจัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ไม่เช่นนั้นหากมีการลักลอบนำไปทิ้งในแหล่งน้ำจะทำให้เกิดปัญหาสารปนเปื้อนทางเคมีในแหล่งน้ำและเกิดปัญหาลูกโซ่ไม่รู้จบอย่างแน่นอน

ที่มา : www.siamintelligence.com

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: