ข้อถกเถียงว่าด้วยขนาดของจู๋ (ของคนอื่น) เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อไม่รู้จบของมนุษยชาติ โดยเฉพาะเพศชาย มีการศึกษาจำนวนมากพยายามวัดขนาดของชาติเปรียบเทียบกันว่าชาติใดยาวที่สุด ให้ผลเป็นตัวอย่างเช่นชุดข้อมูลที่นำมาเสนอในที่นี้[1] ซึ่งเปรียบเทียบขนาดเฉลี่ยขององคชาตของประชากรประเทศต่างๆ อันมีขนาดแตกต่างกันไปตามชาติพันธุ์ ตั้งแต่เฉลี่ยยาวมาก เช่น
คองโก |
17.93 เซนติเมตร |
เอกวาดอร์ |
17.77 เซนติเมตร |
กาน่า |
17.31 เซนติเมตร |
และลดหลั่นกันไป สำหรับประเทศในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกไกลเช่นไทย มีความยาวเฉลี่ยดังนี้
อินโดนิเซีย |
11.67 เซนติเมตร |
สิงคโปร์ |
11.53 เซนติเมตร |
มาเลเซีย |
11.49 เซนติเมตร |
เวียดนาม |
11.47 เซนติเมตร |
ญี่ปุ่น |
10.92 เซนติเมตร |
จีน |
10.89 เซนติเมตร |
ฟิลิปปินส์ |
10.85 เซนติเมตร |
อินเดีย |
10.24 เซนติเมตร |
ไทย |
10.16 เซนติเมตร |
กัมพูชา |
10.04 เซนติเมตร |
เกาหลีใต้ |
9.66 เซนติเมตร |
แต่เช่นเดียวกับข้อมูลใดๆ เราควรตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในกรณีนี้ซึ่งให้กลุ่มตัวอย่างวัดความยาวองคชาตและรายงานเข้ามาด้วยตัวเอง นั่นคือข้อมูลนี้อาจจะไม่ได้วัดว่าแต่ละชาติพันธุ์มีความยาวองคชาตเท่าใด แต่อาจชี้ว่าเจ้าขององคชาตมีความซื่อสัตย์ในการเก็บข้อมูลมากเพียงใด (จากการศึกษาพบว่า ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลด้วยตนเองจะมีค่ามากกว่าการศึกษาที่มีการใช้ผู้เก็บข้อมูลเสมอ)
ความยาวองคชาตเป็นเรื่องที่มีการศึกษากันมาก แต่กลับได้ข้อสรุปน้อยมาก เพราะมีปัญหาหลายประการ อาทิ ความยาวองคชาตสามารถนิยามได้หลายวิธี เช่น ความยาวขณะอ่อนตัว (flaccid length) หรือขณะแข็งตัว (erected length) ในบางกรณีบุรุษที่มีความยาว “ในห้องน้ำชาย” สั้นกว่ากลับมีความยาวขณะใช้งานที่พอๆกัน (พวกซุ่ม)
โดยมากการวัดขนาดจะวัดขณะแข็งตัว รวมทั้งชุดข้อมูลที่นำมาแสดงในที่นี้ด้วย แต่การวัดในขณะแข็งตัวก็ยังมีปัญหาในทางนิยาม(และทางปฏิบัติ) เพราะจะวัดจากส่วนใดถึงส่วนใด หากผู้วัดแต่ละคนวัดกันคนละจุดก็ย่อมได้ความยาวต่างกัน ปัญหาข้อหลังนี้แก้ได้ในการศึกษาโดยการขออาสามัครมาให้คณะวิจัยวัดอย่างเป็นระบบ แต่ก็มีปัญหาอีกว่าผู้ที่ิจู๋สั้นอาจจะอายและไม่อาสามาให้คณะวิจัยวัดความยาว ซึ่งจะทำให้กลุ่มประชากรที่สำรวจมีองคชาตยาวกว่าที่เป็นจริง หรือเรียกว่า selection bias เช่น ชาวเอเชีย 6″ อาจมีความเชื่อว่า “ไม่ต้องอายใครแล้ว” ในขณะที่ชาวคองโก 6″ อาจจะไม่มีความมั่นใจพอจะให้ใครวัด
ความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้การศึกษาองคชาตให้ผลขัดแย้งกันอยู่บ่อยครั้ง เช่นในตัวอย่างข้อมูลนี้พบความแตกต่างระหว่าง “ชาติ” และ “พันธุ์” มาก ในขณะที่บางการศึกษา[2]พบว่าความแตกต่างระหว่างชนชาติไม่ได้มากไปกว่าค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติเลย
ด้วยเหตุนี้ แอดมินขอย้ำอีกครั้งว่าความน่าเชื่อถือของข้อมูลเรื่องจู๋ๆ เช่นเดียวกับข้อมูลอื่นใด ควรพิจารณาจากหลายๆ แหล่งประกอบกัน รวมทั้งใช้วิจารณญาณของท่านผู้อ่านด้วย
ท้ายที่สุด เป็นที่สังเกตว่าปัญหาความยาวองคชาตนั้นเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจใคร่รู้มากเสียจน Wikipedia มีบทความเรื่องนี้โดยเฉพาะยาวกว่าสิบหน้ากระดาษ A4 [3] และหลายท่านอาจไม่ทราบว่ามนุษยชาติได้ลงทุนวิจัยด้านการขยายขนาดองคชาต (รวมทั้งขนาดหน้าอกในกรณีของสตรี) มากกว่าการวิจัยด้านโรคอัลไซเมอร์ถึง 5 เท่า [4]
บางทีเรื่องนี้จึงอาจจะต้องยึดภาษิตไทยที่ว่า “จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่”หรือกล่าวให้ถูก คือ “จงภูมิใจในสิ่งที่ตนมีอยู่”
ที่มา http://www.whereisthailand.info/2012/01/penis-size/
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ