พม.ลุยสำรวจคนไทย-มีชีวิตมั่นคงแค่ไหน 'เหนือ-อีสาน'บ้านที่ดินไม่พร้อม-มลพิษอื้อ ภาคกลางโจรชุม-ใต้ภัยพิบัติยังกระทบสูง

14 เม.ย. 2555 | อ่านแล้ว 1953 ครั้ง

 

อีสานเดือดร้อนสุดเรื่องที่อยู่อาศัย-สภาพแวดล้อม

 

กลุ่มประเมินผล สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในปี 2554 จำนวน 7,779 แห่งของพื้นที่ 4 ภาค รวมทั้งหมด 75 จังหวัด จากการสำรวจตัวบ่งชี้ต่างๆ ทั้งหมด 5 ด้านที่สะท้อนถึงการเผชิญกับปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม พบพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้ 

1.ปัญหาด้านครอบครัวอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมและสมควรได้รับความช่วยเหลือ พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 34.1 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.4 ภาคกลาง ร้อยละ 18.5 และภาคใต้ ร้อยละ 17.0 ตามลำดับ
2.ปัญหาด้านครัวเรือนที่มีสภาพที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงถาวร และสมควรได้รับความช่วยเหลือ พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 35.0 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 33.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 16.8 และภาคใต้ ร้อยละ 15.2 ตามลำดับ

3.ปัญหาด้านครอบครัวที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติในระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 39.4 รองลงมาคือ ภาคใต้ ร้อยละ 23.7 ภาคกลาง ร้อยละ 21.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 15.4 ตามลำดับ

4.ปัญหาด้านครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย เช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่ราชพัสดุ ภายในบริเวณวัด ที่เช่า เป็นต้น พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 33.3 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 27.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 22.4 และภาคใต้ ร้อยละ 16.6 ตามลำดับ

 

คนเหนือเซ็งมลพิษ-น้ำไม่ไหลไฟไม่สว่างทางไม่ดี

 

5.ปัญหาอื่นๆ เช่น ครัวเรือนอาศัยใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้รับมลภาวะที่เป็นพิษ ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ ครัวเรือนที่มีทางเข้าออกไม่สะดวก ครัวเรือนไม่มีบ้านเลขที่ และครัวเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน พบว่า ครัวเรือนที่ได้รับความเดือนร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 51.0 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.1 ภาคกลาง ร้อยละ 14.9 และภาคใต้ ร้อยละ 8.9 ตามลำดับ 

ทั้งนี้เมื่อนำข้อมูลจากตัวบ่งชี้ 5 ด้านทั้งหมดมารวมกัน พบว่า ภาคที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยสูงสุดได้แก่ ภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 35.6 รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.7 ภาคกลาง ร้อยละ 22.6 และภาคใต้ ร้อยละ 18.1 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) 
 

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนครัวเรือนแต่ละภาคที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม

 



ที่มา : ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างใน  http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf 

 

อีสานครองแชมป์ติดเหล้า-ใต้ยาเสพติด-เหนือเอดส์
 

ส่วนประเด็นปัญหาสุขภาพอนามัย กลุ่มประเมินผล สำนักตรวจและประเมินผล เปิดเผยข้อมูลจาก 75 จังหวัด จากการสำรวจตัวบ่งชี้ต่างๆ ทั้งหมด 8 ด้าน ที่สะท้อนถึงปัญหาด้านสุขภาพ พบพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้

1.ประชาชนที่ติดสุรา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 38.7 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 29.4 ภาคกลาง ร้อยละ 19.2 และภาคใต้ ร้อยละ 12.7 ตามลำดับ

2.ประชาชนที่ติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 33.9 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 26.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 21.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.1 ตามลำดับ

3.ประชาชนที่ติดเชื้อเอดส์ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ (ทั้งที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ) พบมากที่สุดในภาคเหนือ ร้อยละ 43.1 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 27.3 ภาคกลาง ร้อยละ 20.6 และภาคใต้ ร้อยละ 9.0 ตามลำดับ

4.ประชาชนที่ติดโรคระบาดในรอบปี เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอหิวาตกโรค โรคไข้หวัดนก โรคฉี่หนู เป็นต้น พบมากที่สุดในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.1 รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ร้อยละ 23.9 ภาคกลาง ร้อยละ 23.3 และภาคกลาง ร้อยละ 22.7 ตามลำดับ

 

3โรคฮิต‘มะเร็ง-เบาหวาน-ความดัน’พุ่งที่อีสาน

 

5.ประชาชนที่เสียชีวิตในรอบปีจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน เป็นต้น พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 35.5 ภาคกลาง ร้อยละ 18.5 และภาคใต้ ร้อยละ 9.0 ตามลำดับ

6.ประชาชนที่เจ็บป่วยและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ไม่รวมคนพิการ) พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 51.3 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 27.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 15.7 และภาคใต้ ร้อยละ 6 ตามลำดับ

7.ประชาชนที่มีอาการทางจิต/ประสาท พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 27.5 ภาคกลางร้อยละ 16.7 และภาคใต้ ร้อยละ 11.0 ตามลำดับ

8.อื่นๆ เช่น ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคติดต่อ (โรคตาแดง, อีสุกอีใส) เป็นโรคผิวหนังเกิดจากแพ้สารเคมีทางการเกษตร, พัฒนาการเด็กไม่สมกับวัย, โรคเครียด/ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น พบมากที่สุดที่ภาคกลาง ร้อยละ 34.3 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 33.3 ภาคเหนือ ร้อยละ 26.7 และภาคใต้ ร้อยละ 5.7 ตามลำดับ


เมื่อนำตัวบ่งชี้ทั้ง 8 ด้านมารวมกัน ภูมิภาคที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการติดสุรา ยาเสพติดร้ายแรง ติดเชื้อเอดส์ หรือโรคระบาดต่างๆ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 37.2 รองลงมา คือ ภาคเหนือ ร้อยละ 27.4 ภาคกลาง ร้อยละ 22.1 และภาคใต้ ร้อยละ 13.3 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 2) 
 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จำแนกตามภูมิภาค

 
ที่มา : ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างใน http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf 

 

ภาคกลางประชาชนถูกทำร้ายมากที่สุด

 

ส่วนเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กลุ่มประเมินผล สำนักตรวจและประเมินผล เปิดเผยข้อมูล 4 ภาค รวม 75 จังหวัด จากการสำรวจตัวบ่งชี้ต่างๆ 8 ด้าน พบว่า
1.ประชาชนถูกทำร้ายร่างกายในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคกลาง ร้อยละ 35.0 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 34.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 16.7 และภาคใต้ ร้อยละ 14.2 ตามลำดับ

2.ประชาชนถูกล่วงละเมิดทางเพศในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 35.2 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 34.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 18.0 และภาคใต้ ร้อยละ 12.8 ตามลำดับ

3.ประชาชนถูกลักทรัพย์/ชิงทรัพย์/ถูกทำร้ายทรัพย์สินในรอบปีที่ผ่านมา พบมากในภาคกลาง ร้อยละ 33.9 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 28.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 18.2 และภาคใต้ ร้อยละ 17.1 ตามลำดับ

4.ประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 33.8 รองลงมาคือ ภาคกลาง ร้อยละ 26.9 ภาคเหนือ ร้อยละ 20.0 และภาคใต้ ร้อยละ 15.3 ตามลำดับ

 

ใต้นำโด่งประสบภัยจากการทำงาน-สาธารณภัย

 

5.ประชาชนที่ประสบภัยจากการทำงานในรอบปีที่ผ่านมา พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 32.4 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 30.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 20.1 และภาคกลาง ร้อยละ 17.1 ตามลำดับ

6.ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยในรอบปี (ทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์) พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 36.2 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 21.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 21.7 และภาคกลาง ร้อยละ 20.3

7.คนสูญหายติดต่อไม่ได้ในรอบปี พบมากที่สุดในภาคใต้ ร้อยละ 42.6 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 22.0 ภาคกลาง ร้อยละ 21.6 และภาคเหนือ ร้อยละ 13.8 ตามลำดับ 
8.อื่นๆ เช่น ประชาชนถูกหลอกลวงฉ้อโกง/หลอกลวง วัยรุ่นก่อเหตุทะเลาะวิวาท เกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ พบมากที่สุดในภาคกลาง ร้อยละ 48.8 รองลงมาคือ ภาคใต้ ร้อยละ 45.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 4.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 2.3 ตามลำดับ 

เมื่อนำตัวบ่งชี้ทั้ง 8 ด้านมารวมกัน ภูมิภาคที่มีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด คือ ภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 33.8 รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 22.0 และภาคกลาง ร้อยละ 21.2 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) 
 

ตารางที่ 3 แสดงจำนวนประชาชนที่ประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

 

ที่มา : ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างใน  http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf


 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: