WWFพบสัตว์ใหม่น้ำโขง ชี้'ไซยะบุรี'ตัวการทำลาย

18 ธ.ค. 2555 | อ่านแล้ว 1718 ครั้ง

 

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) รายงานค้นพบค้างคาวสายพันธุ์ใหม่ที่ได้ชื่อตามหน้าตาราวปีศาจ ปลาตาบอดในธารน้ำใต้ดิน งูเขียวหางไหม้ตาทับทิม และกบที่ร้องราวกับนก เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธ์ใหม่ 126 สายพันธุ์ ที่เพิ่งมีการค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2554 และมีการกล่าวถึงในรายงาน Final Frontier ของ WWF

 

ในจำนวนสัตว์สิบสายพันธุ์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษในรายงาน มีค้างคาวจมูกท่อบีลเซอบับ ที่ได้รับการตั้งชื่ออย่างเหมาะสมรวม อยู่ด้วย มันเป็นสัตว์ตัวเล็กจิ๋วแต่มีหน้าตาราวปีศาจที่พบได้เฉพาะในเวียดนาม ค้างคาวบีลเซอบับ พึ่งพาป่าเขตร้อนในการดำรง ชีวิตเช่นเดียวกับค้างคาวจมูกท่ออีกสองชนิดที่ค้นพบในปี 2554 และพวกมันเปราะบางต่อการทำลายป่าอย่างยิ่ง ซึ่งในช่วง เพียงสี่ทศวรรษ ป่าในแถบลุ่มแม่น้ำโขงหายไปถึงร้อยละ 30 แล้ว

 

 

               “การค้นพบในปี 2554 เป็นข้อพิสูจน์ว่าลุ่มแม่น้ำโขง เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีววิทยาอย่างน่าทึ่ง แต่ขณะเดียวกัน สัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบ ก็ต้องดิ้นรนเพื่อมีชีวิตรอดเพราะถิ่นอาศัยเหลือน้อยลง” นิก ค็อกซ์ ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขง WWF กล่าว “มีเพียงการลงทุนเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะในพื้นที่สงวน และการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว เท่านั้น ที่เราจะได้เห็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ ได้รับการปกป้อง และทำให้ยังมีความหวังจะค้นพบสายพันธุ์สัตว์ที่น่าสนใจ ต่อไปในอนาคต”

 

 

ปลาตีนสายพันธุ์ใหม่ (Clarias gracilentus) ที่ค้นพบในลำธารบนเกาะฟู ก๊วก (Phu Quoc) สามารถเคลื่อนที่ข้ามพื้นดิน โดยใช้ ครีบอกเพื่อดันตัวให้ตรงขณะค่อยๆขยับตัวไปข้างหน้าด้วยวิธีการเคลื่อนที่คล้ายงู และปลาตัวจิ๋วเหลือบสี (Boraras naevus) ยาวเพียง 2 เซ็นติเมตร ที่มีการค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทย และตั้งชื่อตามจุดสีดำบนลำตัวสีทองของมัน (ซึ่งคำว่า naevus แปลว่าตำหนิ ในภาษาละติน)

 

ปลาตัวสีขาวมุกอมชมพูจากตระกูลปลาคาร์ป พบอยู่ในฝูงปลาที่จับจากแม่น้ำเซบั้งไฟ แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงบริเวณภาค กลางของประเทศลาว ซึ่งมีช่วง 7 กิโลเมตรที่ไหลผ่านน้ำพุหินปูนใต้ดิน ปลา Bangana musaei ที่อาศัยในถ้ำ เป็นปลาที่ตา บอดสนิท และได้รับการกำหนดให้เป็นปลาที่เสี่ยงสูญพันธุ์ทันที เพราะความที่มันต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด

 

แม่น้ำโขงค้ำจุนปลาราว 850 สายพันธุ์ และยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่มีการทำประมงมากที่สุดในโลก ซึ่งการตัดสินใจของ ประเทศลาว ในการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีในลำน้ำโขง จึงเป็นการคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพที่สุดพิเศษ และความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขง ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกื้อหนุนวิถีชีวิตของประชากร มากกว่า 60 ล้านคน

 

 

                “แม่น้ำโขงค้ำจุนความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำเป็นรองเพียงแม่น้ำอะเมซอน” ค็อกซ์กล่าวเสริม “แต่เขื่อนไซยะบุรีจะกลายเป็นปราการที่ไม่สามารถก้าวข้ามได้ สำหรับปลาหลายสายพันธุ์ จึงเป็นเหมือนกับสัญญาณมรณะของสัตว์ ทั้งที่เป็นที่ รู้จัก และที่เพิ่งมีการค้นพบ”

 

 

กบต้นไม้สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบในป่าพื้นที่สูงในประเทศเวียดนาม มีเสียงร้องที่ซับซ้อนจนฟังดูเหมือนเสียงนกร้องมากกว่ากบ ทั่วไป นอกจากนี้ขณะที่กบตัวผู้ส่วนใหญ่จะร้องเสียงเดิมซ้ำไปมาเพื่อดึงดูดตัวเมีย แต่กบต้นไม้ “ก๋วง” (Quang) จะเปลี่ยน เสียงร้องต่างไปในแต่ละครั้ง ไม่มีเสียงไหนที่เหมือนเดิม และเสียงร้องแต่ละครั้งก็จะเป็นเสียงที่มีการผสมกันของเสียงกริ๊ก เสียงหวีด และเสียงเชี้ยบ เรียงกันเป็นเอกลักษณ์

และเมื่อพูดถึงกบในตระกูลอึ่ง Leptobrachium ทุกอย่างอยู่ที่ดวงตา ในจำนวนกว่า 20 สายพันธุ์ สิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือ ดวงตาที่มีสีสันหลายหลาก อึ่ง Leptobrachium leucops ค้นพบในปี 2554 ที่ป่าดิบชื้นและป่าดิบเขาสูงในพื้นที่ภาคใต้ของ เวียดนาม มีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นเพราะมีดวงตาสีขาวดำตัดกันชัดเจน

 

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงูสายพันธุ์ใหม่อีก ไล่เรียงมาอีก 21 สายพันธุ์ในปี 2554 ซึ่งรวมถึงงูเขียว หางไหม้ตาทับทิม (Trimeresurus rubeus) ที่พบในป่าใกล้นครโฮจิมินห์ อัญมณีแห่งป่าเม็ดใหม่นี้ ยังแพร่พันธุ์อยู่ตามแถบภูเขา เตี้ยๆทางใต้ของเวียดนาม และตามป่าตะวันออกบนที่ราบสูง Lang Bian ในเขตกัมพูชาด้วย

 

งูเหลือมหางสั้นได้รับการค้นพบบริเวณก้นลำธารในศูนย์สงวนพันธุ์สัตว์ไจก์ทิโย Kyaiktiyo ในประเทศพม่า แต่แม้ว่าจะมีการ สำรวจซ้ำภายหลัง กลับไม่พบตัวงูเหลือมแคระไจก์ทิโย (Python kyaiktiyo) ที่หายากนี้อีก ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับนิเวศวิทยา การกระจายพันธุ์หรือภัยคุกคามของสัตว์สายพันธุ์นี้ จึงมีน้อยมาก อย่างไรก็ตา งูหลามขนาด 1.5 เมตรนี้ น่าจะเผชิญภัยกับภัย คุกคามเช่นเดียวกับงูเหลือมพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งรวมไปถึงการสูญเสียถิ่นอาศัย และการลักลอบล่าเอาเนื้อ หนัง และเพื่อขายเป็น สัตว์หายาก

 

 

               “การลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อค้าอย่างผิดกฎหมาย กลายเป็นภัยคุกคามที่หนักที่สุด และเสี่ยงจะทำให้สัตว์หลายสายพันธุ์ทั่วเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้สูญพันธุ์” ค็อกซ์กล่าวเพิ่มเติม “เพื่อรับมือกับภัยคุกคามนี้ WWF และ TRAFFIC จึงร่วมกันเปิดตัวแคมเปญ ระดับโลกในปีนี้ เพื่อเพิ่มการบังคับใช้กฎหมาย ออกข้อห้ามที่เข้มงวด และลดความต้องการสินค้าจากสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์”

 

 

รายงาน Final Frontier เน้นให้เห็นถึงสัตว์สายพันธุ์ใหม่ 10 สายพันธุ์ที่เพิ่งมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ จากจำนวนพืช 82 พันธุ์ ปลา 13 พันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน 21 พันธุ์ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 5 พันธุ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีก 5 พันธุ์ ที่มีการค้นพบในปี 2554 ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ครอบคลุมกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม ไปจนถึงพื้นที่มณฑลยูนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา มีการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในเขตลุ่มน้ำโขงที่ได้รับการบันทึกทาง วิทยาศาสตร์มากถึง 1,710 สายพันธุ์

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: