วสท.ออกโรงเบรกงบ3.5แสนล้าน แนะแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะสั้นก่อน

23 ก.ค. 2555 | อ่านแล้ว 1908 ครั้ง

 

จากกรณีวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือวสท. ได้จัดประชุมวิพากษ์ ทีโออาร์ ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดย วสท.ได้ตั้งข้อสังเกตในเบื้องต้น  ในความ ไม่เหมาะสมของรายละเอียดในประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Plan) เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไข ปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ซึ่งวิเคราะห์จากประเด็นหลักของคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ระบุไว้ ในหัวข้อ 2.2 ว่า  ผู้ยื่นข้อเสนอต้องเคยมีผลงานด้านการออกแบบระบบการพัฒนา แหล่งน้ำขนาดใหญ่หรืองานออกแบบหรือก่อสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ หรืองานออกแบบหรือก่อสร้างระบบป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอุทกภัยแล้งในช่วงระหว่างปี 2545-2555 ใน ประเทศไทยหรือในต่างประเทศ มูลค่าการก่อสร้าง ไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาท ในกรณีผู้ยื่น ข้อเสนอเป็นกลุ่มของนิติบุคคลในลักษณะ Consortium หรือ Joint Venture มูลค่าผลงาน ดังกล่าวให้นับรวมผลงานของแต่ละนิติบุคคลเข้าด้วยกัน แต่ผลงานที่จะนำมานับรวมเข้าด้วยกัน อย่างน้อยต้องมีมูลค่าการก่อสร้างไม่ต่ำกว่าผลงานละสองพันล้านบาท จากคุณสมบัติดังกล่าว วสท.เห็นว่าทำให้เกิดความไม่ชัดเจน และไม่เหมาะสม เป็นประเด็นที่ต้องวิพากษ์ ดังนี้


1.ทีโออาร์ เน้นในเรื่องของการออกแบบและก่อสร้างเท่านั้น โดยมิได้ให้ความสำคัญการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอควรระบุให้มีผลงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและจะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิ์จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการภายใต้กฎหมายไทย  2. การขาดคุณสมบัติดังกล่าวตามข้อ 1 เห็นได้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะรวบรัดหรือข้ามขั้นตอนใน การจัดทำโครงการต่างๆอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงอาจขาดความรอบคอบที่จะศึกษาหาทางเลือกที่เหมาะสมของแต่ละโครงการ ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการยอมรับโดยเกิดผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสภาพสิ่งแวดล้อมในภาพรวมน้อยที่สุด ทั้งนี้โครงการขนาดใหญ่ไม่อาจหลีกเลี่ยงกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมาย และ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมได้

และ ข้อ 3. ในการกำหนดคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอที่ต้องมีผลงานมูลค่าการก่อสร้างไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาท มีข้อสังเกตว่าบริษัทนิติบุคคลไทยมีเพียงไม่กี่ราย ที่จะผ่านหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ซึ่งข้อสังเกตเบื้องต้นในประเด็นนี้ จึงอาจเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทต่างชาติเข้ามาเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มของผู้ยื่นข้อเสนอ

อย่างไรก็ตาม ในฐานะองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศ วสท. มีความเห็นเพิ่มเติมว่าวิศวกรและนิติบุคคลไทยมี ความสามารถเพียงพอในการเป็นผู้นำที่จะเสนอกรอบแนวคิดดังกล่าว ดังนั้นในการรวมกลุ่ม ของผู้ยื่นข้อเสนอ ควรให้นิติบุคคลไทยเป็นผู้น้าในการรวมกลุ่ม แทนที่จะกำหนดให้นิติบุคคลที่เข้า รวมกลุ่มยื่นข้อเสนอต้องมีนิติบุคคลอย่างน้อย 1 นิติบุคคลซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ตามที่ระบุในคุณสมบัติข้อที่ 2.1 ใน TOR

 

ส่วนแผนระยะยาวที่จะใช้เป็นกรอบดำเนินการต่อไปนั้น เนื่องจากโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาวิศวกรรม จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบควรมีการศึกษาอย่างรอบคอบ  วสท.เห็นว่าวิศวกรไทยมีองค์ความรู้มากเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินการ ดังนั้นจึงควรปรับ คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอเพื่อเปิดกว้างในประเด็นนี้ โดยเน้นให้มีผลงานการศึกษาความ เหมาะสมของโครงการในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและกำหนดมูลค่าของผลงานของผู้ยื่นข้อเสนออย่างสมเหตุสมผล

ทั้งนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จึงขอสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งดำเนินโครงการเพื่อแก้ปัญหาน้ำระยะสั้นก่อน ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวควรจะชะลอไว้ก่อน เพราะมีความจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่า ในการดำเนินการ โดยการจัดทำ TOR ของ โครงการ ควรมีกลุ่มที่ปรึกษาที่ข้าใจหลักวิชาการ ด้านการวางแผน และการจัดการโครงการด้านวิศวกรรม ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านการบริหารจัดการน้ำด้าน สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานมาให้ค้าแนะนำที่ถูกต้อง
 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: