มอ.ปัตตานีเลิกทุนหนุนเรียนฟรี ชี้เด็กตจว.เมิน-ผลการเรียนตกต่ำ

ฮูซณา ติโบซู โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) 30 ก.ย. 2555 | อ่านแล้ว 3271 ครั้ง

จากกรณีงานหลักสูตรและพัฒนาคณาจารย์ กองบริการการศึกษา วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ปิดรับสมัครนักศึกษาโครงการจัดสรรทุนการศึกษา เพื่อจูงใจนักเรียนต่างพื้นที่ให้เข้ามาศึกษาในม.อ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา

 

ผศ.ดร.ยุพดี ชัยสุขสันต์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะผู้จัดการโครงการฯ เปิดเผยว่า โครงการนี้เริ่มเมื่อปีการศึกษา 2553 เพื่อสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นในม.อ.ปัตตานี เนื่องจากเหตุการณ์ไม่สงบส่งผลให้นักเรียนต่างพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เข้ามาเรียนต่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้น้อยลง ทำให้นักศึกษาที่นี่ขาดการเรียนรู้ในเชิงแลกเปลี่ยน ทั้งความรู้ ทัศนคติและวัฒนธรรม ทางมหาวิทยาลัยจึงขอทุนจากรัฐบาลมาให้นักเรียนต่างพื้นที่เข้ามาศึกษาต่อใน ม.อ.ปัตตานี

 

อย่างไรก็ตามการรับสมัครครั้งนี้จะเป็นรุ่นสุดท้าย ซึ่งผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจากนักเรียนที่ได้รับทุน ส่วนใหญ่ยังเป็นคนในภาคใต้ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตกับคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการนี้มีทุนให้แก่นักเรียนคนละ 50,000 บาทต่อปี รวมค่าเทอมและค่าที่พัก ปีการศึกษาละ 250 ทุน เดิมตั้งหลักเกณฑ์ว่า ในการเรียนที่ม.อ.ปัตตานี จะต้องได้เกรดเฉลี่ยในแต่ละเทอม 2.75 ขึ้นไป แต่ปรากฏว่าผู้รับทุนส่วนใหญ่ทำเกรดได้ไม่ถึง ทางมหาวิทยาลัยจึงปรับลดเกณฑ์ลงเหลือ 2.50 แต่ก็ยังมีผู้ทำได้น้อยมาก ทางมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเกรดลงอีกครั้งเหลือเพียง 2.00

 

 

                                “ถึงกระนั้นก็ยังมีนักศึกษาที่ได้รับทุนนี้ทำเกรดเฉลี่ยได้ต่ำกว่า 2.00 เสียอีก ทางโครงการจึงงดทุนในเทอมนั้น แต่หากนักศึกษาสามารถปรับปรุงตัวและตั้งใจเรียนมากขึ้น จนได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 ก็จะมีโอกาสได้รับทุนอีกครั้ง” ดร.ยุพดีกล่าว

 

 

ดร.ยุพดีกล่าวว่า นักเรียนที่ได้รับทุนนี้ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฏร์ธานี เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนคนที่มาจากภาคกลาง ภาคอีสานและภาคเหนือ และนับถือศาสนาพุทธก็มีบ้าง แต่น้อยมาก

 

 

               “โครงการนี้ไม่ได้คาดหวังถึงขั้นการสร้างสันติภาพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอแค่ให้มีนักศึกษาต่างพื้นที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็พอ เพื่อสร้างความหลากหลาย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ความแตกต่าง และสามารถแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้ เพราะจะช่วยเปิดวิสัยทัศน์ของนักศึกษาให้กว้างขึ้น นี่คือความคาดหวังสูงสุด” ดร.ยุพดีกล่าว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ดร.ยุพดีกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่คนนอกเข้ามาเรียนที่ม.อ.ปัตตานีน้อย เนื่องจากผู้ปกครองเป็นห่วง จึงไม่ต้องการให้มาเรียนที่นี่ ส่วนสาเหตุที่นักศึกษาทุนโครงการนี้ส่วนใหญ่มีผลการเรียนต่ำ เนื่องจากมีผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาต่ำอยู่แล้ว มีนักเรียนเก่งๆ ที่ได้รับทุนโครงการนี้น้อยมาก

 

ในปีการศึกษา 2555 มีนักศึกษาต่างชาติได้รับทุนโครงการนี้ด้วย โดยม.อ.ปัตตานีร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (มอย.) ในการขอนักเรียนต่างชาติ ผ่านการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เข้ามาเป็นศึกษาที่ม.อ.ปัตตานี เพื่อสร้างความหลากหลายให้กว้างขึ้น ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน

 

 

                  “ถ้าเป็นไปได้ ต้องการให้มีโครงการนี้ขึ้นมาอีก แต่จะเลือกเฉพาะเด็กเก่งมาเรียนที่นี่เท่านั้น โดยแบ่งเป็นการให้ทุนเด็กเก่งในพื้นที่และเด็กเก่งนอกพื้นที่” ดร.ยุพดีกล่าว

 

ผู้ได้รับทุนโครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อจูงใจนักเรียนต่างพื้นที่เข้าศึกษาต่อใน ม.อ.ปัตตานี

 

 

ลำดับ

คณะ

2535

2554

2555

1

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

8

3

79

2

คณะศึกษาศาสตร์

9

12

82

3

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

14

16

15

4

วิทยาลัยอิสลามศึกษา

26

21

19

5

คณะวิทยาการสื่อสาร

29

25

22

6

คณะรัฐศาสตร์

37

51

18

7

คณะศิลปกรรมศาสตร์

53

51

5

 

รวม

176

179

250

 

 

 

จำนวนผู้ได้รับทุนแบ่งตามภาค

 

 

ลำดับ

ภาค

2553

2554

2555

1

ภาคใต้

163

156

183

2

ภาคกลาง

9

14

30

3

ภาคเหนือ

1

3

4

4

ภาคอีสาน

3

5

15

5

ภาคตะวันออก

0

1

1

6

ต่างชาติ

0

0

17

 

 

170

179

250

 

 

เหตุผลของนักเรียนที่สมัครทุน แต่กลับสละสิทธิไม่ยอมศึกษาที่ ม.อ.ปัตตานี ประจำปีการศึกษา 2555 โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ จำนวน 33 คน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตภาคใต้ ผลการสำรวจดังตาราง

 

 

 

สาเหตุ

จำนวน

1.       

ระยะทางไกลบ้าน การเดินทางในการไปเยี่ยมเยียนลำบาก

9

2.       

ผู้ปกครองเป็นห่วง เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบ

17

3.       

ได้ที่เรียนที่ดีกว่าและใกล้บ้าน

3

4.       

ไม่มีเพื่อนที่เป็นคนในพื้นที่

1

5.       

มีที่เรียนที่ใกล้บ้านมากกว่า

1

6.       

ดูแลพ่อแม่

2

รวม

 

33

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: