ท่านสามารถเข้าดูพ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับเต็มได้ตาม link ด้านล่างนี้
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
http://www.asa.or.th/download/03media/04law/cba/cba22.pdf
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่2) พ.ศ.2535
http://www.asa.or.th/download/03media/04law/cba/cba35-02.pdf
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่3) พ.ศ.2543
http://www.asa.or.th/download/03media/04law/cba/cba43-03.pdf
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่4) พ.ศ.2550
http://www.asa.or.th/download/03media/04law/cba/cba50-04.pdf
กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
http://www.thaicondoonline.com/lw-prb/257-law-control-building
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
http://www.asa.or.th/download/03media/04law/cba/bb/bb44-03.pdf
**ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มีขึ้นเนื่องจากพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้บังคับใช้เป็นเวลากว่า20ปีแล้ว อีกทั้งกฎกระทรวงที่ออกมามีรายละเอียดบางประการที่ไม่ครอบคลุมกับข้อเท็จจริงในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงได้ประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2544**
รายละเอียด กฎหมายควบคุมเพลิงไหม้อาคารสูง ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) สำหรับอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
หมวด 1 ลักษณะของอาคาร
- ต้องมีที่ว่างรอบอาคาร ความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ให้รถดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้
- อาคารส่วนใต้ดินตั้งแต่ชั้น 3 หรือ 7 เมตรลงไป ต้องมีระบบลิฟต์ และบันไดหนีไฟที่มีระบบแสงสว่างและอยู่ห่างกันไม่เกิน 60 เมตร ผนังบันไดหนีไฟทุกด้านเป็นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร มีระบบอัดลมไม่น้อยกว่า 38.6 pa (0.15 นิ้วน้ำ) ที่ทำงานตลอดเวลา
หมวด 2 ระบบระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า และระบบป้องกันเพลิงไหม้
- วัสดุหุ้มท่อลมของระบบระบายอากาศ ต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ และไม่ทำให้เกิดควันเมื่อเกิดเพลิงไหม้ , ท่อลมที่ผ่านผนังกันไฟ ต้องติดตั้งลิ้นกันไฟที่ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 74 องศาเซลเซียส และมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที
- ต้องมีระบบป้องกันฟ้าผ่า , มีระบบจ่ายไฟสำรอง แยกเป็นอิสระ ที่สามารถจ่ายไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง สำหรับบันได ทางเดิน และระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และจ่ายได้ตลอดเวลาสำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ลิฟต์ดับเพลิง และระบบสื่อสาร
- มีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทุกชั้นของอาคาร , มีสวิตช์เปิด-ปิดพัดลมของระบบระบายอากาศ อยู่ในที่ที่สามารถปิดได้ทันที และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันที่สามารถหยุดการทำงานของพัดลมได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
- มีระบบป้องกันเพลิงไหม้ ประกอบด้วย ท่อยืน ที่เก็บน้ำสำรอง และหัวรับน้ำดับเพลิง โดยมีรายละเอียดดังนี้ , ท่อยืน ต้องทนแรงดันใช้งานไม่น้อยกว่า 175 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
- มีตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงทุกชั้น ห่างกันไม่เกิน 64 เมตร ในตู้ประกอบด้วย หัวสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 1 นิ้วและหัวต่อสารชนิดสวมเร็วขนาด 2.5 นิ้ว
- หัวรับน้ำดับเพลิงภายนอกอาคาร เป็นข้อต่อชนิดสวมเร็ว ขนาด 2.5 นิ้ว ,ปริมาณการส่งจ่ายน้ำ ไม่น้อยกว่า 30 ลิตรต่อวินาที สำหรับท่อยืนแรก และไม่น้อยกว่า 15 ลิตรต่อวินาทีสำหรับท่อยืนต่อๆ ไป
- สามารถจ่ายน้ำดับเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 30 นาที , มีที่เก็บน้ำสำรองและระบบส่งน้ำที่มีแรงดันต่ำสุด ไม่น้อยกว่า 65 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แต่ไม่เกิน 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
- ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่ไม่เกิน 1000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร สูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร , ต้องมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น Sprinkler System หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า
- มีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 2 ชุด อยู่ห่างกันไม่เกิน 60 เมตร ลำเลียงคนทั้งหมดออกนอกอาคารได้ภายใน 1 ชั่วโมง และต้องไม่เป็นบันไดเวียน , บันไดหนีไฟที่อยู่ภายในอาคาร ต้องมีระบบอัดลมไม่น้อยกว่า 38.6 pa มีผนังกันไฟโดยรอบ มีระบบแสงสว่างฉุกเฉิน มีป้ายบอกชั้น ป้ายบอกทางหนีไฟ
- ประตูหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร มีอุปกรณ์บังคับให้ปิดได้เอง และต้องไม่มีธรณีประตู , อาคารสูง ต้องมีที่ว่างสำหรับหนีไฟทางอากาศ กว้างยาวไม่น้อยกว่า ด้านละ 6 เมตร
- อาคารสูง ต้องมีลิฟต์ดับเพลิง อย่างน้อย 1 ชุด สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 630 กิโลกรัม โถงหน้าลิฟต์ต้องมีตู้สายฉีดน้ำหรือหัวต่อสาย
กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540) สำหรับอาคารเก่าที่เป็นอาคารสูงและอาคารสาธารณะ อาคารสูง 4 ชั้นขึ้นไป ต้อง
- ติดตั้งบันไดหนีไฟที่มิใช่บันไดแนวดิ่ง เพิ่มจากบันไดหลัก
- จัดแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้น ติดไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณห้องโถงหรือหน้าลิฟต์ทุกชั้น และบริเวณชั้นล่างต้องมีแบบแปลนของทุกชั้นเก็บไว้
- ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
- ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น
- ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างสำรอง
- ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) โครงสร้างอาคาร
- ส่วนประกอบของโครงสร้างหลักและทางหนีไฟของอาคารที่มีความสูงเกิน 3 ชั้น ต้องไม่เป็นวัสดุติดไฟ
- โครงสร้างหลักของอาคารต่อไปนี้
1) คลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด สถานพยาบาล
2) อาคารพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา สาธารณสุข และสำนักงาน ที่มีความสูงเกิน 3 ชั้น และมีพื้นที่รวมเกิน 1000 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างโครงสร้างหลักโดยใช้วัสดุทนไฟ เสาและคานมีอัตราการทนไฟไม้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง พื้นหรือตงมีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ปรับปรุงกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535)
- อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีผนังทนไฟหรือประตูทนไฟ ที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
- มีแผนผังอาคารแต่ละชั้นแสดงที่หน้าลิฟต์แต่ละชั้น และให้เก็บแผนผังอาคารของทุกชั้นที่บริเวณชั้นล่าง แสดงตำแหน่งห้องทุกห้อง อุปกรณ์ดับเพลิง ประตู ทางหนีไฟ และลิฟต์ดับเพลิง
- ช่องเปิดทะลุตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไปและไม่มีผนังปิดล้อม ต้องจัดให้มีระบบควบคุมการแพร่กระจายของควัน
- อาคารสูงต้องมีดาดฟ้า และพื้นที่บนดาดฟ้ากว้างยาวไม่น้อยกว่าด้านละ 10 เมตร
กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) กำหนดลักษณะ แบบ เนื้อที่ ที่ตั้งของอาคาร ที่ว่างภายนอกอาคารฯ
- สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายให้ทำด้วยวัสดุทนไฟทั้งหมด เสา คาน พื้น บันไดและผนังของอาคารที่สูง 3 ชั้นขึ้นไป โรงงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารขนาดใหญ่ ต้องก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟ ,ครัวในอาคาร ต้องมีพื้นและผนัง ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ส่วนฝาและเพดาน หากไม่ทำด้วยวัสดุทนไฟ ก็ให้บุด้วยวัสดุทนไฟ
- ช่องทางเดินในอาคารอยู่อาศัย ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารสาธารณะ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร , อาคารสูง 4 ชั้นขึ้นไปและสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคาร 3 ชั้นและมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่ 3 ที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร ต้องมีบันไดหนีไฟที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ อย่างน้อย 1 ชุด
- บันไดหนีไฟต้องมีความลาดชันไม่เกิน 60 องศา , บันไดหนีไฟภายนอกอาคาร ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตรและผนังส่วนที่บันไดพาดผ่านต้องเป็นผนังทึบสร้างด้วยวัสดุทนไฟ
- บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร มีผนังทึบสร้างด้วยวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ เว้นแต่ส่วนที่เป็นช่องระบายอากาศและช่องประตูหนีไฟ และต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ มีแสงสว่างเพียงพอ
- ประตูหนีไฟ ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร เป็นบานเปิดชนิดผลักสู่ภายนอกเท่านั้น ต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่บังคับให้ประตูปิดได้เอง และสามารถเปิดออกได้โดยสะดวกตลอดเวลา ประตูหรือทางออกสู่บันไดหนีไฟต้องมีธรณีประตูหรือขอบกั้น
- พื้นด้านหน้าบันไดหนีไฟ ต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร , คลังสินค้าที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างแนวเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 6 เมตร 2 ด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- คลังสินค้าที่มีพื้นที่รวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีพื้นที่ว่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 เมตร 2 ด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร
- โรงงานที่มีพื้นที่ของอาคารรวมกันตั้งแต่ 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร 2 ด้าน โดยผนังอาคารทั้ง 2 ด้านนี้ให้เป็นผนังทึบทำด้วยอิฐหรือคอนกรีต ยกเว้นประตูหนีไฟ ส่วนด้านที่เหลือให้มีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร
- โรงงานที่มีพื้นที่ของอาคารรวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 1000 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 เมตรทุกด้าน โรงงานที่มีพื้นที่ของอาคารรวมกันเกิน 1000 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ