ประมงพื้นบ้านกับกลุ่มทุน
ข้อพิพาทระหว่างกลุ่มประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวปัตตานีกับกลุ่มผู้ประกอบการเลี้ยงหอยแครง ต่างฝ่ายต่างใช้พื้นที่ในอ่าวปัตตานีทำกินกลับมีปัญหาขัดแย้งเป็นคดีความถึงชั้นศาล เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 ชาวบ้าน 6 คน ถูกออกหมายเรียกข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ “หอยแครง” ในอ่าวปัตตานี โดย นายมูฮามัดซุลกิฟลี ดาโอ๊ะ และนายประกิจ แซ่ตัน อ้างเป็นนายทุนผู้เลี้ยงหอยแครง เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.เมืองปัตตานี เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50,373,876 บาท
ชวนเหตุเริ่มจากคำประกาศของข้าราชระดับสูงในจังหวัดว่า “ทะเลเป็นของสาธารณะที่อัลลอฮ์ (ซบ.) สร้างมา ทุกคนสามารถหาสัตว์น้ำในทะเลได้หมด” ต่อกลุ่มประมงพื้นบ้านเป็นผลให้ชาวประมงพื้นบ้านทั้งในและนอกเขต อ.เมืองปัตตานี พากันไปงมหอยแครงในเขตพื้นที่กลุ่มผู้เลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี กรณีที่เกิดขึ้นกลายเป็นคดีความถึงชั้นศาล เมื่อนายทุนยื่นฟ้องจำเลยอีกครั้งถึงเก้าคน ประกอบด้วย นายเจะมือดา แวหามะ, นายสมาน โต๊ะเร็ง, นายกอเดร์ สาแม, นายอาลี มามะ, นายอามะ ปะจูมะ, นายแวอูเซ็ง สะนิ, นายมักตาร์ สะแม เป็นจำเลยที่ 1-7 ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ส่วนจำเลยที่ 8 คือ นายสุนันท์ หลีเจริญ ประมงอำเภอเมืองปัตตานี และว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ว่าฯปัตตานี เป็นจำเลยที่ 9
ทั้งนี้ศาลจังหวัดปัตตานีได้สืบพยานจำเลย 2 รายจาก 9 ราย คือจำเลยที่ 8 และ 9 คือ นายสุนันท์ หลีเจริญ ประมงอำเภอเมืองปัตตานี และว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 โดยมีอัยการจังหวัดเป็นทนายให้กับทั้งคู่เนื่องจากเป็นพนักงานของรัฐ โดยก่อนหน้านี้ นายสุนันท์ หลีเจริญ ประมงอำเภอเมืองปัตตานี ได้ใช้ตำแหน่งยื่นประกันตัวบุคคลทั้งสามได้แก่ นายเจะมือดา แวหามะ อายุ 58 ปี นายกอเดร์ สาแม อายุ 54 ปี และนายสมาน โต๊ะเร็ง อายุ 57 ปี เป็นชาวประมงพื้นบ้านบ้านแหลมนก ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นอิสระ หลังศาลปัตตานี อนุญาติให้ประกันตัวในวงเงินรายละ 50,000 บาท เนื่องจากบุคคลทั้งสามเป็นชาวประมงพื้นบ้านที่ยากจน หาเช้ากินค่ำ จึงไม่มีหลักทรัพย์ที่จะใช้ยื่นประกันตัว จึงต้องนำตัวไปที่ห้องขังชั่วคราวของศาลแต่โชคดีที่นายสุนันท์ใช้ตำแหน่งประกันตัวให้แทน
ศาลจังหวัดปัตตานีได้นัดสืบพยานจำเลย 2 รายจาก 9 ราย คือจำเลยที่ 8 และ 9 คือ นายสุนันท์ หลีเจริญ ประมงอำเภอเมืองปัตตานี และว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี โดยมีอัยการจังหวัดทำหน้าที่ทนายให้กับทั้งคู่ เนื่องจากเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ โดยอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอเลื่อนการเข้าให้การของจำเลยที่ 8 และ 9 ออกไป ทำให้ศาลนัดใหม่เป็นวันที่ 17 ต.ค.2554 ส่วนจำเลยอีก 7 คนที่เป็นประมงพื้นบ้านนั้น ได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนแล้ว
สำหรับความคืบหน้าในคดีดังกล่าว ศาลปัตตานีได้นัดสืบพยานนายสุนันท์อีกครั้ง ในวันที่ 6 ธันวาคม 2556 จำเลยในคดีนี้ทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นายเจะมือดา แวหามะ, นายสมาน โต๊ะเร็ง, นายกอเดร์ สาแม, นายอาลี มามะ, นายอามะ ปะจูมะ, นายแวอูเซ็ง สะนิ, นายมักตาร์ สะแม เป็นจำเลยที่ 1-7 ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ส่วนจำเลยที่ 8 คือ นายสุนันท์ หลีเจริญ ประมงอำเภอเมืองปัตตานี และว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองผู้ว่าฯปัตตานี เป็นจำเลยที่ 9
เมื่อทะเลเป็นของสาธารณะ
นุกูล รัตตนดากุล คณะวิทยาศาสตร์ มอ.ปัตตานี ผู้คลุกคลีกับกลุ่มประมงพื้นบ้านปัตตานีนับ 10 ปี กล่าวว่า เมื่อมี พรบ.ประมงออกมา ให้อ่าวปัตตานีเป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าผู้ใดล้วนมีสิทธิใช้อ่าวปัตตานีทำมหากินได้ อย่างไรก็ตามในเชิงความมายนั้นต่างจากแผนที่ทางความคิดของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพบริเวณรอบอ่าว นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เรือประมงพาณิชย์หรือใครก็ตามเข้าไปร่วมใช้ประโยชน์โดยทันรู้ว่าได้บุกรุกพื้นที่ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
กรณีการเพาะเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านมาแต่เดิมไม่เห็นด้วยกันนโยบายนี้แต่มีการคบคิดกันอย่างเป็นกระบวนการ เกิดการยึดพื้นที่บางส่วนในอ่าวปัตตานีซึ่งเป็นสมบัติสาธารณะประกอบกิจการเลี้ยงหอยแครง กระทบสิทธิชุมชนแต่เดิม
อย่างไรก็ตาม สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กรมประมงรับนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุนมาปฏิบัติ พยายามออกโฉนดน้ำและผลักดันโครงการซีฟู้ดแบงก์แต่ชาวบ้านคัดค้าน เพราะมีบทเรียนจากกรณี หอยแครง เป็นเหตุให้โครงการถูกยกเลิก
โฉนดชุมชนคือทางรอด
ดลลยา สาแลแม นักวิจัยชาวบ้านลุ่มน้ำสายบุรี แนะการแก้ปัญหา ให้สิทธิชุมชนจัดการตัวเอง ดูแลที่ทำกินสาธารณะ
“การทำโครงการใดใดก็ตามทั้งของภาครัฐและเอกชน ควรผ่านการระดมความเห็นจากชุมชน พื้นที่เกิดโครงการ สำคัญคือต้องบอกข้อมูลทั้งด้านบวกและลบให้ครบถ้วน เคารพสิทธิชุมชน โดยเฉพาะพื้นที่วัฒนธรรมเดิมของชุมชน ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมให้มาก รับรู้ให้มาก ที่ผ่านมาหลายโครงการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเผยเฉพาะด้านดี สุดท้ายมักจบด้วยความขัดแย้ง”
ดลยากล่าวถึงคดีข้อพิพาทหอยแครงว่า ถือเป็นคดีตัวอย่าง เรื่องการยกพื้นที่สาธารณะให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม การไม่เข้มงวดตรวจสอบสาธารณะสมบัติ ที่ผ่านมาหน่วยราชการมักปล่อยผ่านเหตุเพราะกลัวอิทธิพลจากกลุ่มทุนกระทบหน้าที่การงาน ชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ถูกแจ้งจับกล่าวกับตนว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากความคับข้องใจเรื่องที่ทำกินนับแต่อ่าวปัตตานีถูกปันส่วนให้ประมงพาณิชย์ ทรัพยากรในอ่าวลดลง อย่างไรก็ตามฝากถึงภาครัฐเรื่อง โฉนดชุมชนชน ถือเป็นทางออกของปัญหาดังกล่าว ก่อนที่ชุมชนจะไม่มีโฉนดหากเกิดโฉนดชุมชน ชาวบ้านจะสามารถสร้างการป้องกันชุมชนจากการบุกรุกและแย่งที่ทำกินจากทั้งกลุ่มทุนและชุมชนเอง
“ที่ผ่านมา เราไม่เคยถอดกระบวนการความล้มเหลวของโครงการต่างที่เกิดขึ้นกับชุมชน โดยมากเพียงแค่เรียกประชุม แจงงบจากส่วนกลางถามความต้องการชาวบ้านเชิงวัตถุ เช่น หมู่บ้านไหนต้องการทางราดยาง สะพานคอนกรีต แต่ไม่เคยพูดถึงสิทธิการทำมาหากิน” ดลยากล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณภาพจากสำนักข่าวอามาน
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ