WWFชี้ค้าเสือยังมีมาก ยึดซากได้กว่า1,400ตัว

8 มี.ค. 2556 | อ่านแล้ว 1458 ครั้ง

 

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่า (TRAFFIC) รายงานว่า จากการวิเคราะห์การตรวจยึดเสือที่มีการรวบรวมข้อมูลใหม่ ของปี 2553-2554 พบว่าในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา มีการตรวจยึดชิ้นส่วนอวัยวะของเสือมากกว่า 1,400 ตัว

 

จากรายงานเรื่อง “เหลือเพียงกระดูกและหนัง” พบว่า ทั่วโลกมีการตรวจยึดชิ้นส่วนอวัยวะของเสืออย่างน้อย 1,425 ตัว ระหว่างปี 2543 - 2555 ยกเว้นเพียงกัมพูชาประเทศเดียว ที่ไม่มีรายงานการตรวจยึดแม้แต่กรณีเดียว ในช่วงเวลาดังกล่าว แม้จะยังไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ชัดเจน แต่บทวิเคราะห์ได้ให้หลักฐานที่เด่นชัดว่า การลักลอบค้าเสือ อวัยวะ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเสือ ยังคงเรื้อรัง และยังเป็นข้อห่วงใยหลักสำหรับการอนุรักษ์

 

ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการยึดชิ้นส่วนอวัยวะเสือได้ 654 ตัว ตั้งแต่หนังจนถึงกระดูก จากฟัน อุ้งตีนและ กะโหลก เฉลี่ยเท่ากับมีเสือถูกฆ่า 110 ตัวต่อปี หรือมากกว่า 2 ตัวต่อสัปดาห์ ร้อยละ 89 ของการตรวจยึด เกิดขึ้นที่นอกเขตอนุรักษ์ จึงกลายเป็นสิ่งที่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ ป่า เพื่อขัดขวางวงจรการค้าและป้องกันการบุกรุกเข้าสู่ถิ่นอาศัยของเสือ ซึ่งการวิเคราะห์ในลักษณะนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อความพยายามบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องเสืออย่างชัดเจน

 

 

            “ยิ่งมีการเก็บข้อมูลที่ตรงไปตรงมา มีการวิเคราะห์ และแบ่งปันระหว่างประเทศอยู่เป็นประจำก็จะสามารถ จู่โจมเข้าถึงเป้าหมายคือแก๊งลักลอบค้าเสือที่อยู่เบื้องหลังได้มากเท่าน้ัน” นาตาลี เพอร์วูชินา หัวหน้าโครงการค้าเสือของ TRAFFIC และ WWF กล่าว

 

 

รายงานฉบับนี้เป็นความพยายามร่วมกันระหว่าง TRAFFIC และ โครงการริเริ่ม Tigers Alive ของ WWF และมีการเปิดตัวในวันนี้ ในการประชุมอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ที่กำลังหารือกันที่กรุงเทพมหานคร โดยในสัปดาห์นี้รัฐบาลประเทศสมาชิกจะถกกันถึง ความพยายามที่กำลังดำเนินการเพื่อปกป้องเสือ และแมวใหญ่สายพันธุ์อื่น ๆ ในเอเชีย

 

การค้นพบที่สำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า การตรวจยึดเสือในช่วง 3 ปี นับตั้งแต่การประชุมCITES วงใหญ่ เมื่อปี 2553 มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการยึดเสือที่ยังมีชีวิตรวมอยู่ด้วย 61 ตัว คิดเป็นร้อยละ 50 ของการตรวจยึดทั้งหมดรวม 123 ตัว นับตั้งแต่ปี 2543 และประเทศไทยยังเป็นแหล่งสำคัญที่มีการลักลอบค้า เสือที่ยังมีชีวิตมากที่สุด(30) ตามมาด้วยลาว (11) อินโดนีเซีย (9) และเวียดนาม (4)

 

 

            “หากพิจารณาจากประมาณการประชากรเสือป่า ที่หลงเหลืออยู่น้อยนิดในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม รวมเข้ากับเสือในฟาร์มเลี้ยงที่มีอยู่ในสามประเทศนี้ จึงเกิดคำถามที่น่าสงสัยอย่างยิ่งถึงแหล่งที่มาของเสือที่ยังมีชีวิตจากการค้า” นิก ค็อกซ์ ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ WWF ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กล่าว

 

 

ในบรรดาประเทศที่มีประชากรเสือทั้ง 13ประเทศ (บังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล รัสเซีย ไทย เวียดนาม) มีเพียงอินเดียเท่านั้นที่เก็บรายละเอียดข้อมูลการตรวจยึดได้ อย่างมีประสิทธิภาพพอเพียง สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุ “แหล่งเป้าหมาย”ที่มีการค้าเสือเกิดขึ้น หากอ้างอิงจากข้อมูลของอินเดีย “แหล่งเป้าหมาย” 5 แห่งที่สามารถระบุสถานที่ได้ มีกรุงเดลลีรวมอยู่ด้วย ส่วนอีก 4 แห่งนั้น ล้วนอยู่ใกล้แหล่งอนุรักษ์ในหลายพื้นที่ของประเทศ (อุตรประเทศ อินเดียกลาง เบงกอล ตะวันตก (ซุนดาร์บานส์) และกาตส์ตะวันตก ในพื้นที่ตอนใต้ของอินเดีย)

 

 

            “คุณภาพของข้อมูลจากอินเดีย ทำให้เราวิเคราะห์พิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ และระบุพื้นที่หลักที่มีการ ค้าเสือ” ซาราห์ สโตนเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญข้อมูลการค้าเสือของ TRAFFIC และผู้เขียนรายงานฉบับนี้กล่าว “แต่ละประเทศควรรักษาคำมั่นที่ให้ไว้ต่อ CITES ในการปกป้องเสือด้วยการจัดทำรายงานสถานการณ์ ปัจจุบันที่ตรงไปตรงมา”

 

 

ภายใต้ข้อตกลงที่มีขึ้นในการประชุม CITES ก่อนหน้านี้ ประเทศที่มีประชากรเสือจะต้องแสดงถึงมาตรการที่ได้ทำเพื่อปกป้องเสือใหญ่แห่งเอเชียนี้ ซึ่งในช่วงต้นของการประชุมที่กำลังจัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร มีเพียงจีน อินเดียและไทยเท่านั้นที่ส่งรายงานที่เข้าหลักเกณฑ์ เพื่อให้เป็นไปตาม ข้อกำหนดของ CITES

WWF และ TRAFFIC เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ที่มีพันธะต่อโครงการฟื้นฟูเสือโลก (Global Tiger Recovery Program) พัฒนาระบบที่มีความสอดคล้องต่อการรายงานต่อ GTRP อันจะเป็นการเติมเต็มข้อกำหนดของ CITES ที่เกี่ยวข้องกับเสืออีกด้วย

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ

เสือ  WWF  

Like this article:
Social share: