โซเชียลมีเดียรุมจวกศธ. ยุบรร.ผลักเด็กพ้นชุมชน

เอมพงศ์ บุญญานุพงศ์ ศูนย์ข่าว TCIJ 10 พ.ค. 2556 | อ่านแล้ว 1472 ครั้ง

 

ศูนย์ข่าว TCIJ รายงานว่า หลังจากนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ออกมาประกาศนโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กกว่า 14,000 แห่งทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนในสังคมที่มองว่า การศึกษาเป็นเรื่องพื้นฐานของสังคม ที่ไม่ควรมีการจัดขนาดว่าใหญ่หรือเล็ก โรงเรียนพร้อมไม่พร้อม หรือความทุรกันดาร ซึ่งรัฐบาลควรมีหน้าที่ในการดูแลบริหารจัดการ หรือดำเนินการแก้ไขปัญหามากกวาใช้วิธีตัดปัญหาเช่นกรณีที่เกิดขึ้น ทำให้ใน Social media โดยเฉพาะใน Facebook มีการออกมาคัดค้านจำนวนมาก

 

เช่น วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เขียนใน Facebook ของตัวเองระบุว่า “เมื่อโรงเรียนประถมถูกยุบ” เมื่อต้นปี ไปเดินป่าลึกแถบดอยเชียงดาว พบโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งกลางหมู่บ้าน ถูกยุบทิ้งตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า มีวันหนึ่งครูก็มาบอกว่าจะไม่สอนแล้ว เด็กต้องไปเรียนรวมกับโรงเรียนอีกแห่งหนึ่ง เดินไปสิบกว่ากิโล เพราะเป็นเส้นทางในป่า ไม่มีรถประจำทางรับส่ง ต้องเดินอย่างเดียว หากเป็นหน้าฝน ก็คงต้องเลิกเรียนชั่วคราว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ใหญ่ทุกยุค ตัดสินใจคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยจากห้องแอร์ส่วนกลาง โดยใช้ฐานคิดสำคัญคือค่าใช้จ่ายต่อหัว ความคุ้มค่า แต่ไม่เคยไปถามคนในหมู่บ้านเหล่านี้เลยว่า จะปรับตัวอย่างไร จะลำบากขนาดไหน เพราะรถตู้รับส่งนักเรียนแบบชนชั้นกลางคงไม่สามารถขับไปรับเด็กรากหญ้าเหล่านี้ได้หรอกครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หรือ ผู้ที่ใช้นามแผงว่า หงส์แดง เขียนในหัวข้อ “ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ก็เท่ากับ พรากเด็กๆ พรากกระบวนการเรียนรู้ออกจากชุมชน” ระบุว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ ๆ 2 ปีที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ ผลงานที่เห็นชัดเจนที่สุดคือการทุ่มงบประมาณละลายไปกับนโยบายประชานิยม "บ้านหลังแรก , รถคันแรก, แจกแท็บเล็ต...หมกเม็ดด้วยการแก้ไขกติกาการปกครองบ้านเมือง" ไหนจะเพิ่งผ่านเรื่องเงินกู้ 2.2 ล้านๆ บวกด้วยงบประมาณแผ่นดินประจำปี แต่ทำไม รัฐถึงไม่มีนโยบายเพื่อการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม แถมยังประกาศยุบโรงเรียนขนาดเล็ก 14,816 โรง ทั้ง ๆ ที่ศธ.น่าจะเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณในระดับต้น ๆ เสียด้วยซ้ำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่ต้องไปนับการแจกแท็บเล็ตว่าเป็นนโยบายเพื่อการศึกษาหรอกครับ ผ่านไป 1 ปีการศึกษาแล้วก็น่าจะพอมองออกว่าผลที่ออกมาคุ้มค่ามากเพียงใดกับเงินที่ต้องสูญเสียไป มันแปลกที่รัฐบอกว่า “ไม่มีกำลังงบประมาณจะพัฒนาโรงเรียนทุกแห่ง และไม่สามารถนำงบประมาณจาก เงินภาษีมาดูแลทุกโรงเรียนได้เท่าเทียมกัน" แต่่เกือบ ๆ 2 ปีที่ผ่านมารัฐผลาญเงินสูญเปล่าไปกับ บ้าน,รถ ฯ ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริงคือ บริษัทอสังหาริมทรัพย์และยี่ห้อรถต่าง ๆ ที่มีบริษัทแม่เป็นต่างชาติทั้งสิ้น แท็บเล็ตนั่นก็ของจีน นำเงินตราไปให้ต่างชาติแท้ ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แต่ทำไมถึงบอกว่าไม่มีงบประมาณให้โรงเรียนขนาดเล็ก ปิดโรงเรียนล็ก ๆ ประจำหมู่บ้าน ประจำตำบลไปแล้ว ผลกระทบที่จะตามมาคืออะไร ภาระของผู้ปกครองและเด็ก ๆ จะมีตามมาขนาดไหน แทนที่จะกระจายความรู้สู่ชุมชน รัฐกลับต้องการให้ศูนย์กลางการศึกษาอยู่ตามโรงเรียนมาตราฐาน ถ้าลดหรือเลิกประชานิยมเสียบ้าง เจียดเงินที่ผลาญชาติมาพัฒนาการศึกษา มาปรับปรุงโรงเรียนที่ว่ามีเด็กเรียนน้อยให้มีคุณภาพดีๆ ที่สุดแล้วผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมือง หรือหากมีชุมชนใกล้เคียงใดที่ ร.ร.ประจำชุมชุนมีจำนวนน้อยมากอยู่ติดๆกัน ยุบรวมน่าจะดีกว่าก็ควรพิจารณากันเป็นเรื่องๆไป น่าจะดีกว่าการอ้างขาดงบแล้วเหมารวมหมดทั้งประเทศ 14,816  โรง....มิใช่หรือ

 

อนาถแท้ กู้เงินตั้ง 2.2 ล้านล้าน แต่ไม่มีตรงไหนเอ่ยถึงการศึกษาของเยาวชนไทยเลย....แม้แต่น้อย

 

และยังมีการจัดรณรงค์เพื่อคัดค้านนโยบายดังกล่าวใน Change.org ในประเด็น “ขอคืนพื้นที่การศึกษาให้ชุมชน : คัดค้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่โยนประเด็นมาถึงสังคมว่า “ควรยุบกระทรวงศึกษาธิการมากกว่ายุบโรงเรียนขนาดเล็ก”

 

นั่นแสดงให้เห็นว่า สังคมส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรแก้ปัญหาหรือหาทางออกอื่นที่ดีกว่านี้ เช่น การพัฒนาคุณภาพ การทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาในส่วนนี้ มากกว่าใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการโครงการอื่น ฯลฯ

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: