สภาพัฒน์คาดการณ์ศก. ปี2557ขยายตัวร้อยละ4-5

18 พ.ย. 2556 | อ่านแล้ว 2123 ครั้ง

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงถึงเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2556 ระบุว่า ขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอตัวลง จากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก ขยายตัวร้อยละ 1.3 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA)

ในด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐบาล ในขณะที่การส่งออกสินค้าหดตัว ในด้านการผลิต การขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนจากสาขาการโรงแรมและภัตตาคาร การเงิน และคมนาคมขนส่งที่ยังคงขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยการบริโภคของครัวเรือน

และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.9 ตามลําดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 2.4 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP

การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 - 5.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก การดําเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ ทั้งในด้านการลงทุนภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนการลงทุนด๎านโครงสร๎างพื้นฐาน รวมทั้งราคาน้ำมันและเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับต่ำ และเอื้ออํานวยต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัว

ร้อยละ 7.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 7.1 ตามลําดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1 – 3.1 และบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2557 ประกอบด้วย 1) การเร่งรัดการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพ โดยให้ความสําคัญกับ (1) การเพิ่มรายได้จากตลาดหลัก ซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหาของภาคการผลิต (2) การเพิ่มรายได้จากตลาดใหมํที่มีศักยภาพ และ (3) การส่งเสริมการค้าชายแดนและการค้าในภูมิภาค

และการส่งเสริมผู้ประกอบการไปเจาะตลาดประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น 2) การเร่งรัดการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน โดย (1) เร่งรัดการใช้นโยบายการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนภายใต้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ให้มีความชัดเจน และ (2) การแก๎ไขปัญหาอุปสรรคตลอดกระบวนการที่ทําให้การดําเนินโครงการลงทุนของภาคเอกชนมีความล่าช้า

3) การเร่งรัดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานภายใต้พระราชบัญญัติให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ..... และแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศระยะยาว 4) การดูแลสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจและการเข้าถึงเงินทุนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการขยายประเภทหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อ การส่งเสริมการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนการจัดตั้งกลไกรวมลงทุนในธุรกิจใหมํ เป็นต้น

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า การปรับลดประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2556 ของหน่วยงานต่างๆ ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยถดถอย โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2557 หน่วยงานของกระทรวงการคลังยังเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย ยกเว้นภาษีศุลกากรที่เก็บได้ลดลง ซึ่งอาจสะท้อนว่าเรานำเข้าสินค้าลดลง

นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ประเทศไทยอาจไม่จำเป็นต้องมีการขยายตัวของเศรษฐกิจในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องจากประเทศที่ต้องการมีจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มี อัตราการจ้างงานต่ำ จึงต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก เพื่อเพิ่มสัดส่วนการจ้างงาน แต่ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการว่างงานต่ำ และอยู่ในช่วงที่กำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ดังนั้น การที่บางปีจีดีพีจะต่ำลงบ้างก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล

         “การขยายตัวที่ลดลงอาจเป็นสิ่งที่ต้องกังวล หากมองไปข้างหน้าแล้วไม่มีแผนการรองรับ แต่ประเทศไทยมีการลงทุนภาครัฐรออยู่ มีคนบอกผมว่าก็เป็นเรื่องที่น่าขำที่เราเอาอดีตมามองอนาคต เราคุ้นเคยกับการประมาณการไปข้างหน้าโดยมองไปยังอดีตซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ตรง ขณะที่การประมาณการไปข้างหน้าโดยมองไปข้างหน้าจะตรงมากกว่า” นายกิตติรัตน์กล่าว

 

อ่านฉบับเต็มได้ที่

http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/qgdp/data3_13/BookQGDP3-2013.pdf

http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/economic/eco_state/3_56/Press%20Thai%20Q3-2013.pdf

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: