จี้คพ.ยื่นฎีกาคดีคลองด่าน ฟ้องแพ่งเรียกคืน2หมื่นล.

19 ธ.ค. 2556 | อ่านแล้ว 2178 ครั้ง

จากกรณีที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินยกฟ้องคดีคลองด่านเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 มีผลทำให้บริษัทเอกชนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดิน ที่กรมควบคุมมลพิษเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 พ้นผิด จากที่ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ให้จำคุกบุคคลรายละ 3 ปี และนิติบุคคลสั่งปรับรายละ 6000 บาท พร้อมกับยกฟ้องบริษัทกิจการร่วมค้า NVPSKG นั้น

น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ และดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนชาวบ้านคลองด่านแถลงว่า กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ควรรีบยื่นฎีกาโดยเร็วที่สุด เพื่อต่อสู้คดีนี้ให้ถึงที่สุด และรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เนื่องจากถ้าหากแพ้คดี หรือไม่สามารถฎีกาได้ทันภายในกำหนดวันที่ 19 ธ.ค.เท่ากับสละสิทธิ์ ซึ่งเท่ากับแพ้คดีดังกล่าว

หากคดีนี้คพ.ต่อสู้จนได้รับชัยชนะ จะสามารถนำผลของคดีนี้ไปฟ้องคดีแพ่ง เพื่อเรียกเงินคืนจากกลุ่มผู้รับเหมาเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาท นั่นหมายรวมถึงที่ดิน ที่ปัจจุบันถูกเพิกถอนโฉนดแล้ว จำนวน 4 แปลง รวม 1300 กว่าไร่ เป็นเงินรวม 1300 ล้านบาท กลับคืนให้รัฐ

อย่างไรก็ตามหากโจทก์ (กรมควบคุมมลพิษ) สละสิทธิ์ฎีกา หรือแพ้คดี จะส่งผลกระทบต่อการฟ้องคดีคลองด่านที่คพ.เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดเรื่องข้อพิพาทอนุญาโตตุลาการ ซึ่งจะทำให้ คพ. จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กลุ่มผู้รับเหมาโครงการ (5 บริษัท) กว่า 10,000 ล้านบาท

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ควรรีบยื่นฎีกาโดยเร็วที่สุด และมีความจริงจังในการต่อสู้คดีนี้ให้ถึงที่สุด เรายินดีร่วมสนับสนุนการต่อสู่คดีนี้อย่างเต็มที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและเงินภาษีของประชาชน ขณะที่สาธารณชนเองก็ควรร่วมติดตามกรณีนี้อย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้นักการเมืองและบริษัทเอกชนใช้อิทธิพลกดดันจนสามารถล้มคดีนี้ได้

เราขอเรียกร้องให้ทนายฝ่ายโจทก์ทำคดีนี้อย่างเต็มความสามารถและด้วยจิตสำนึกของความเป็นตัวแทนประชาชนผู้เสียภาษี  เนื่องจากเราเชื่อว่ากรณีนี้มีโอกาสสูงที่จะถูกแทรกแซงจากกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ จึงเรียกร้องให้ คพ. และทนาย อย่าตกอยู่ภายใต้แรงกดดันของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากการแพ้คดี

 

1.       การแบ่งปันผลประโยชน์ภายใต้โครงการ (งบประมาณรวม 22,950 ล้านบาท)

 

การแบ่งผลประโยชน์ โครงการ

 งบประมาณรวม 22,950 ล้านบาท

 

NVPSKGJoint Venture

ทำสัญญาในลักษณะหุ้นส่วนสามัญ

ออกแบบ

332 ล้านบาท

 

บริษัท VSK Pipe Jacking มี 8 บริษัทร่วม

บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด  (VCC)

บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด (SSKY)

บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด (KTE)

บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำกัด  (PEC)

บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์ฯจำกัด

บริษัท บ้านเมืองการพิมพ์จำกัด

บริษัท อริยะโฮลดิ้งจำกัด

บริษัท VSK ร่วมค้า

ระบบรวบรวมน้ำเสีย

14,432 ล้านบาท

 

ผลิตท่อบริษัท ไทยเรืองอุตสาหกรรม จำกัด

บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด  (VCC)

บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด (SSKY)

บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด (KTE)

บริษัท บ้านเมืองการพิมพ์จำกัด

 

บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำกัด  (PEC)

ระบบบำบัดน้ำเสีย

4,425 ล้านบาท

 

บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (GDC)

ที่ดิน 2,200 ล้านบาท

 

บริษัทสมุทรปราการออพเปอร์แรทติ้งจำกัด

มี 6 บริษัทร่วม

บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด  (VCC)

บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำกัด  (PEC)

บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด (SSKY)

บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัด (KTE)

บริษัท เกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (GDC)

บริษัท ยูเอสฟิวเตอร์ จำกัด

ทดลองระบบและบำรุงรักษา  1,500

ล้านบาท

ซึ่งตามสัญญา คือ บริษัท นอร์ทเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งถอนตัวออกไปก่อนการเซ็นสัญญา อันนำมาซึ่งการฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญา

 

 

 

ขอบคุณภาพประกอบข่าวจากไทยรัฐออนไลน์

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: