เอ็นจีโอไทย-เกาหลีลุยดูฟลัดเวย์ เตรียมแฉบริษัทดัง‘เค วอร์เตอร์’   ชี้งานในไทยไม่ง่ายถ้าเมินชุมชน

ชุลีพร บุตรโคตร ศูนย์ข่าว TCIJ 25 มิ.ย. 2556 | อ่านแล้ว 1262 ครั้ง

 

หลังการเปิดซองประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทของ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ในโครงการทั้งหมด 9 โมดูล 10 โครงการ จนต่อรองราคากันเป็นที่พอใจเป็นที่เรียบร้อย พร้อมกับนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมครม. เพื่อขออนุมัติงวงเงินแผนการใช้เงินและแผนการกู้เงิน และยันยันพร้อมดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอย่างเต็มที่ โดยไม่สนเสียงคัดค้าน ทัดทานจากสังคม โดย 4 บริษัทประกอบด้วย

 

1.บริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น (เค-วอเตอร์) ได้โครงการไป 2 โมดูล คือ Module A 3 การปรับปรุงพื้นที่เกษตรชลประทานในพื้นที่โครงการชลประทานเหนือ จ.นครสวรรค์ เพื่อเก็บกักน้ำหลากชั่วคราว โดยใช้ งบประมาณไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ยื่นเสนอราคา 9,999.99 ล้านบาท ต่อรองราคาเหลือ 9,799.99 ล้านบาท ลดลงไป 200 ล้านบาท

 

Module A 5 การจัดทำทางผันน้ำ (Flood diversion channel) ขนาดประมาณ 1,500 ลบ.ม./วินาที รวมทั้งการก่อสร้างถนนเพื่อรองรับการคมนาคม โดยใช้ งบประมาณไม่เกิน 1.53 แสนล้านบาท โดยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ยื่นเสนอราคา 1.53 แสนล้านบาท เท่าราคากลาง ต่อรองราคาเหลือ 150,000 ล้านบาท ลดลงไป 3,000 ล้านบาท

 

2.ITD POWER CHINA JV ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี กับบริษัท พาวเวอร์ ไชน่า ของประเทศจีน ได้โครงการไป 5 โมดูล รวมเงิน 109,999.627 ล้านบาท ต่อรองราคาลดลงไป 3,152 ล้านบาท เหลือ 106,800 ล้านบาท

 

Module A 1 การสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง, ยม, น่าน, สะแกกรัง และป่าสัก ให้ได้ความจุเก็บกัก 1.3 ล้านลบ.ม. โดยใช้ งบประมาณไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี โดยเสนอราคาที่ 49,999,894 บาท ต่อรองราคาเหลือ 48,500 ล้านบาท

 

Module A 2 การจัดทำผังการใช้ที่ดิน / การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการจัดทำพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลัก สำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา งบประมาณไม่เกิน 2.6 หมื่นล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ยื่นประมูลที่ราคา 2.6 หมื่นล้านบาท เท่ากับราคากลาง ต่อรองราคาเหลือ 25,000 ล้านบาท

 

Module A 4 การปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลักและการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมแม่น้ำ ในพื้นที่แม่น้ำยม, น่าน และเจ้าพระยา โดยใช้ งบประมาณไม่เกิน 1.7 หมื่นล้านบาท ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ยื่นเสนอราคาประมูล 1.7 หมื่นล้านบาทเท่าราคากลาง ต่อรองราคาลงมาอีก

 

Module B 1 การสร้างอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ โดยใช้งบประมาณไม่เกิน 1.2 หมื่นล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ยื่นเสนอราคา 11,999.733 ล้านบาท ต่อรองราคาลงมาอีก

 

Module B 3 การปรับปรุงสภาพลำน้ำสายหลักและการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมแม่น้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ งบประมาณไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี เสนอราคาที่ 5,000 ล้านบาทเท่ากับราคากลาง ต่อรองราคาลงมาอีก

 

3.กิจการร่วมค้า ซัมมิท เอสยูที ได้โครงการไป 1 โมดูล คือ

Module B 2 การจัดทำผังการใช้ที่ดิน/การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการจัดทำพื้นที่ปิดล้อมพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจหลักในพื้นที่ลุ่มน้ำ 17 ลุ่มน้ำ งบประมาณไม่เกิน 1.4 หมื่นล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี ยื่นเสนอราคา 13,933.74 ล้านบาท ต่อรองราคาเหลือ 13,633.74 ล้านบาท ลดลงไป 300 ล้านบาท

 

4.กลุ่มบริษัทค้าร่วม ล็อกซเล่ย์  โดยกลุ่มเค-วอเตอร์ และกลุ่มอิตาเลียนไทยฯ ได้โครงการไป 2 โมดูล คือ

Module A 6 และ B 4 ระบบคลังข้อมูลเพื่อการพยากรณ์และเตือนภัย รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ โดยใช้ งบประมาณไม่เกิน 4,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 5 ปี ยื่นเสนอราคาประมูลเป็นเงิน 3,997.520 ล้านบาท  ต่อรองราคาเหลือ 3,797.520 ล้านบาท ลดลงไป 200 ล้านบาท

 

 

ล่าสุดนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคัดเลือกบริษัทเอกชนเข้าร่วมโครงการออกแบบบริหารจัดการน้ำ ออกมาระบุว่า ขั้นตอนต่อไปที่จะมีการดำเนินการคือการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา ภายใต้งบประมาณ 8,730 ล้านบาท ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการทำความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นกับภาคประชาชน  โดยเน้นรูปแบบที่เข้าใจง่าย ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างทั่วถึง

 

เป็นความมั่นใจจากฝ่ายรัฐบาล ที่พยายามเดินหน้าตามแผน ท่ามกลางความกังวลใจของภาควิชาการ และภาคประชาชน ที่พยายามทักท้วงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนจะไม่ได้อยู่ในสายตาของ กบอ.แต่อย่างใด

 

ขณะหาญณรงค์ เยาวเลิศ ในฐานะเอ็นจีโอ ผู้เคลื่อนไหวด้านการบริหารจัดการน้ำมาโดยตลอด ระบุว่า หากความพยายามในการคัดค้านรัฐบาลที่เป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการไม่ได้ผล และ กบอ.จะเดินหน้าก่อสร้างโครงการทั้งหมด ตนก็มั่นใจว่าประชาชน โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีปฏิกิริยาเรื่องนี้อย่างแน่นอน และถึงที่สุดแล้วชาวบ้านคงจะไม่ยอมให้เข้าพื้นที่ เพื่อไปก่อสร้างอะไรได้ตามแผนเป็นแน่ เพราะที่ผ่านมามีการดำเนินการที่กลับหัวกลับหาง ผิดขั้นตอนไปแบบนี้ย่อมเป็นสิ่งที่นอกจากจะน่าเป็นห่วงต่อเงินก้อนมหาศาลนี้ ยังเห็นได้ว่า รัฐบาลไม่คิดที่จะสนใจเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนเลย และแม้จะพยายามลงพื้นที่ทำความเข้าใจก็เป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะเข้าใจได้

 

พร้อมกับนี้หาญณรงค์ ยังจัดทำการสรุปข้อมูลจากการประมูลโครงการดังกล่าว พร้อมประเด็นการตั้งข้อสังเกตความผิดเพี้ยนของกระบวนการนี้ พร้อมทั้งเชิญตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ จากประเทศเกาหลี ร่วมลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก และ จ.นครสวรรค์ ก่อนที่จะขึ้นเวทีวิพากษ์วิจารณ์โครงการยักษ์ของรัฐบาลนี้ร่วมกัน โดยเฉพาะการเจาะลึกเบื้องหลังของบริษัท เค วอเตอร์ ที่เคยรับงานต่าง ๆ ในประเทศเกาหลีด้วย โดยประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 

 

 

 

 

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: