เปิดตัวเลข'ผลิต-ใช้'ไฟฟ้ายังพอ ‘จินตนา’ชี้ปัญหาต้องแก้ทั้งระบบ จวกรัฐจ้องผุดโรงไฟฟ้าหนุนอุตฯ

ทีมข่าวศูนย์ข่าว TCIJ 28 พ.ค. 2556 | อ่านแล้ว 4856 ครั้ง

หลังจากเกิดปัญหากระแสไฟฟ้าดับทั่วทั้งภาคใต้ เมื่อค่ำวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา กระทั่งหลายฝ่ายออกมาตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุเกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการใช่หรือไม่ หรือเป็นปฏิกิริยาการเตือนแบบกลาย ๆ จากรัฐบาล และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่พยายามผลักดันให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นอีกหลายแห่งในภาคใต้ใช่หรือไม่ ขณะที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตะพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน ออกมาระบุว่า ในภาคใต้มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในภาคใต้ แต่หากไม่สามารถก่อสร้างได้ จะส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานในภาคใต้อย่างแน่นอน

 

 

ศูนย์ข่าว TCIJ พบข้อมูลการผลิตกระแสไฟฟ้าของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ส่งเข้าสู่การจ่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คือ “รายงานไฟฟ้าของประเทศไทย 2554” จัดทำโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน รายงานสถานภาพโรงไฟฟ้าของระบบต่าง ๆ เมื่อปีพ.ศ.2554 ระบุว่า พลังความร้อน 8,115 เมกะวัตต์ หรือ 42,330 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง กังหันก๊าซ 812 เมกะวัตต์ หรือ 345 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง พลังความร้อนร่วม 16,090.9 เมกะวัตต์ หรือ 87,374 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ดีเซล 35 เมกะวัตต์ หรือ 28 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง พลังงานร่วม 2,924.6 เมกะวัตต์ หรือ 16,205 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เครื่องยนต์ก๊าซ 116.4 เมกะวัตต์ หรือ 351 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง อื่นๆ 179.3 เมกะวัตต์ หรือ 89 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวม 28,273.2 เมะวัตต์ หรือ 146,722 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

ขณะที่พลังงานไฟฟ้าที่ได้รับจากการผลิตของเขื่อนต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 55 แห่ง ที่อยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก รวม 3,500.10 เมกะวัตต์ หรือ 8,164 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมกำลังการผลิตทั้งหมดทั่วประเทศ 31,773.3 เมกะวัตต์ หรือ 154,886 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

 

ขณะที่การผลิตพลังงานไฟฟ้าแบ่งตามพื้นที่ ในรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า เขตนครหลวงคือ พื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวม 44,191 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ขณะที่เขตภูมิภาคคือ พื้นที่ที่เหลือทั้งหมดของประเทศ มีการใช้พลังงานไฟฟ้ารวม 104,509 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งหากรวมทั่วประเทศพบว่า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น 148,700 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเมื่อแยกตามภาคต่างๆ พบว่า ภาคเหนือใช้พลังงานไฟฟ้า 12,132 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พลังงานไฟฟ้า 14,778 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ภาคกลาง ใช้พลังงานไฟฟ้า 64,090 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ภาคใต้ ใช้พลังงานไฟฟ้า 13,550 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งจะเหลือพลังงานไฟฟ้าสำรองอีก 6,186 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

หากดูข้อมูลการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยแยกรายภาค และที่ตั้งของหน่วยงานการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ระบุชื่อในรายงาน ซึ่งไม่นับรวมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็กและผู้ผลิตไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั่วประเทศ 16,205 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก 351 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง และของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 28 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

ในภาคเหนือมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง 18,518 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าลานกระบือ จ.กำแพงเพชร 332 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 2,058 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ 1,861 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนบ้านขุนกลาง จ.เชียงราย 1 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ 36 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่ฮ่องสอน 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่กึมหลวง 14 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยแม่ผง จ.พะเยา 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 3 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่มาว จ.เชียงใหม่ 11 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่สาป จ.เชียงใหม่ 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่สะงา จ.แม่ฮ่องสอน 20 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่หาด จ.เชียงใหม่ 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนน้ำขมึน จ.พิษณุโลก 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยแม่สอด จ.เชียงใหม่ 1 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยน้ำขุ่น จ.เชียงราย 8 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยยะโม่ จ.ตาก 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่เทย จ.เชียงใหม่ 7 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่ยะ จ.เชียงใหม่ 6 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่เศียน จ.เชียงใหม่ 6 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่ใจ จ.เชียงใหม่ 2 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแม่ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 10 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมกำลังการผลิต 22,918 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ขณะที่ภาคเหนือใช้พลังงานไฟฟ้า 12,132 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เท่ากับว่าในภาคเหนือ มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าเกินความต้องการ 10,186 ล้านกิโลวัตต์

 

สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น 3,612 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง  เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 31 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 180 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี 99 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ 172 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยปะทาว จ.ชัยภูมิ 23 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา 1 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนน้ำหมัน จ.เลย 24 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนน้ำสาน จ.เลย 27 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี 30 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา 181 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ 5 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,385 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พลังงานไฟฟ้า 14,778 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ขาดกระแสไฟฟ้ารวม 10,393 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

 

 

ขณะที่ ภาคกลางผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 7,820 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด จ.ราชบุรี 3,346 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด จ.ราชบุรี 10,722 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท บีแอลซีพี จำกัด จ.ระยอง 11,145 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าระยอง บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด 2,208 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง บริษัทผลิตไฟฟ้าอิสระ จำกัด 4,532 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท ไตรเอ็นเนอร์ยี จำกัด 2,949 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท อีสเทิร์น เพาเวอร์ แอนด์ อิเล็คทริค จำกัด 2,730 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

โรงไฟฟ้า บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด 4,928 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรขั่น จำกัด จ.สระบุรี 9,112 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท ราชบุรี เพาเวอร์ จำกัด 6,955 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 8,855 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนคีรีธาร จ.จันทบุรี 32 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนวชิราลงกรณ์ จ.กาญจนบุรี 667 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 49 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 1,513 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี 214 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาคกลาง 77,777 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ขณะที่ภาคกลางใช้พลังงานไฟฟ้า 64,090 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้การผลิตมากกว่าการใช้ 13,687 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ในพื้นที่ภาคใต้พบว่า ในภาคใต้ มีการผลิตที่โรงไฟฟ้ากระบี่ 504 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี 10 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด จ.นครศรีธรรมราช 5,234 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนบางลาง จ.ยะลา 300 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนบ้านสันติ 8 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี 516 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนคลองลำปลอก จ.พัทลุง 4 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนคลองดุสน จ.สตูล 2 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนห้วยลำสินธุ์ จ.พัทลุง 2 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมพลังงานไฟฟ้า รวมพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในภาคใต้ จำนวน 6,580 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เท่ากับว่าหากภาคใต้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเอง และใช้เฉพาะในภาคใต้ จะขาดพลังงานไฟฟ้าอีก 6,970 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ในปัจจุบันจึงต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากภาคอื่นเข้ามาเพิ่มเติม

 

ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพียง 2 แห่งคือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ กรุงเทพฯ 254 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 4,584 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง รวมกำลังการผลิต 4,838 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ขณะที่ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ารวม 44,191 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เกินกำลังการผลิต 39,353 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตามหากมองตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้าตามที่ปรากฎในรายงานฉบับนี้ แม้นับย้อนหลังกลับไป 4 ปี จะพบว่า จากทั่วประเทศ ภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด มากกว่าธุรกิจและบ้านอยู่อาศัย ทั้งจำนวนรายของผู้ใช้และปริมาณการใช้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทางด้าน นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ที่รัฐบาลพยายามออกมาระบุว่าภาคใต้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นว่า หากจะกล่าวถึงการสร้างไม่สร้างโรงไฟฟ้า จะบอกว่าเป็นของภาคใครภาคมันไม่ได้ แต่รัฐบาลต้องพูดถึงภาพรวมทั้งประเทศ และพูดให้ชัดเจนว่าปัจจุบันการก่อสร้างโรงไฟฟ้ายังมีความจำเป็นหรือไม่ รัฐบาลจะผลักภาระให้แต่ละภาคจัดการไม่ได้ ต้องพูดภาพรวม แต่สิ่งที่สงสัยก็คือ ประเทศไทยสามารถใช้พลังงานทางเลือกได้หรือไม่ หรือเรามีไฟฟ้าสำรองไม่เพียงพอจริงหรือไม่

 

จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ้านกรูด-บ่อนอก ที่เกิดปัญหาเพราะรัฐบาลหมกเม็ดข้อมูล โดยอ้างเพียงอย่างเดียวว่าพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอ ซึ่งต่อมาเราพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่ เพราะหากจะดันทุรังสร้างต่อไปก็มีแต่จะเสียค่าชดเชย จึงถามว่าวันนี้ในส่วนของประชาชนการใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงพอแล้วหรือไม่ ก็ต้องบอกว่าเพียงพอแล้ว ก็ต้องไปดูว่าแล้วรัฐบาลจะสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อตอบสนองอะไร ตอบสนองอุตสาหกรรมก็ต้องไปถามว่าคนในพื้นที่ว่าเขาต้องการหรือเปล่า ต้องไปทำความเข้าใจในพื้นที่นั้นว่าทำลายฐานทรัพยากรของเขาหรือเปล่า เขาต้องการหรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    “ที่ผ่านมากฟผ.ไม่เคยตระหนักเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนของชาวบ้าน รัฐบาลไม่ตระหนักเรื่องนี้เลย ทำให้โครงการพัฒนาต่างๆเกิดขึ้นเต็มไปหมด กฟผ.เอาโรงไฟฟ้าไปไล่ตามแจกให้กับอุตสาหกรรม ทำให้คนในชุมชนอยู่ยาก ชาวบ้านต้องมาตอบสนองโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ ทั้งที่เราไม่ได้ประโยชน์จากโรงไฟฟ้าใหม่เหล่านั้นเลย เพราะประชาชนใช้เพียงพอแล้ว เรื่องนี้จริง ๆ ไม่ใช่การวิกฤตของประเทศ เพียงแต่รัฐบาลต้องการให้อุตสาหกรรมอยู่ได้ แต่ไม่เกี่ยวกับชาวบ้านเลย แต่รัฐวางแผนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอย่างเดียว ส่วนที่เติบโตเป็นพวกอุตสาหกรรม บริการ แต่ประชาชนไม่ใช่” นางจินตนากล่าว

 

 

นางจินตนากล่าวด้วยว่า อย่างวิกฤตไฟดับในภาคใต้เมื่อวันก่อน ชาวบ้านอย่างเราก็รู้ว่า รัฐบาลสามารถรองรับปัญหาไฟฟ้าดับได้ แต่ไฟดับเหมือนเป็นการชี้โพรงให้กระรอกว่า สายไฟฟ้าจอมบึง-บางสะพาน ขาด แสดงว่าควรจะมีโรงไฟฟ้าที่ประจวบฯ มองว่าประจวบฯเป็นปัญหา

 

 

 

 

 

            “กฟผ.มีวิศวะกรเยอะแยะ สามารถทำไม่ให้ไฟฟ้าดับได้ แต่ไม่ทำ กฟผ.ไม่ทำอะไรเลย มันห่วยแตก และกลับมาโยนภาระให้กับชาวบ้านว่า ขัดขวางการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้อีกกลุ่มเจริญก้าวหน้าไม่ได้ คุณมีแผนที่จะทำได้ให้เพียงพอแต่คุณไม่ทำ” นางจินตนากล่าว

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: