เด็กยุคนี้ใช้มือถืออย่างไร

4 ก.ค. 2557 | อ่านแล้ว 4710 ครั้ง


  • วัยรุ่นไทยใช้โทรศัพท์มือถือโทรหาเพื่อนบ่อยที่สุด ร้อยละ 55.9 รองลงมาเป็นแฟน ร้อยละ 26.2 ตามมาด้วยพ่อแม่ ร้อยละ 16.5 (ข้อมูลปี 2552 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
  • เด็กประถมเสียเงินเติมโทรศัพท์มือถือ 300 บาทต่อเดือน เด็กมัธยม 400-500 บาทต่อเดือน เด็กมหาวิทยาลัยมากกว่า 500 บาทต่อเดือน (ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ)
  • เด็กหญิงอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 15 ปีอย่างน้อย 12 คน ถูกล่อลวงและหายตัวไปหลังแชทผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ (ข้อมูลปี 2551 ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา)
  • ทั้งเด็กประถม มัธยม และอาชีวะมีแนวโน้มเล่นพนันบอลมากขึ้นทุกปี ร้อยละ 13.84 ของเด็กไทยเล่นพนันบอล (ข้อมูลปี 2550 โครงการเฝ้าระวังเด็ก Child Watch)
  • สิ่งแรกที่เด็กไทยร้อยละ 51.1 ทำอย่างแรกหลังจากตื่นนอนคือการเช็คโทรศัพท์มือถือ และสิ่งสุดท้ายที่เด็กไทยร้อยละ  35 ทำก่อนนอนคือการเล่น facebook และ line (ข้อมูลปี 2556 สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.))
  • ร้อยละ 20.3 มีการใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ (ข้อมูลปี 2556 สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.))
  • เด็กไทยร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ (ข้อมูลปี 2556 สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.))
  • เด็กไทยร้อยละ 28.7 ระบุว่าถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันบน social media (ข้อมูลปี 2556 สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.))
  • เด็กวัยมัธยมศึกษา-อุดมศึกษามีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้ถึงประมาณร้อยละ 44  และมีโทรศัพท์มือถือใช้ถึงร้อยละ 82 (ข้อมูลปี 2552 โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch))
  • เด็กและเยาวชนใช้เวลากับสื่อและเทคโนโลยีเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาคุยโทรศัพท์ถึงวันละประมาณ 90 นาทีเล่นอินเทอร์เน็ตประมาณ 130 นาที หากรวมสื่อโทรทัศน์ที่เด็กไทยให้เวลาอีกเกือบ 3 ชั่วโมงต่อวัน ก็เท่ากับว่าเด็กไทยใช้เวลากับสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ ไปถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวัน (ข้อมูลปี 2552 โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch))
  • คลิปโป๊เป็นสื่อลามกอันดับหนึ่งที่เข้าถึงเด็ก โดยมีเด็กถึงร้อยละ 30 ที่ระบุว่าตนดูคลิปโป๊เป็นครั้งคราวถึงเป็นประจำในขณะที่การรับสื่อลามกแบบอื่นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 20 เท่านั้น (ข้อมูลปี 2552 โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch))
  • เด็กอายุ 6-14 ปีใช้อินเตอร์เน็ตร้อยละ 54.1 เด็กอายุ 15-24 ปีใช้อินเตอร์เน็ตร้อยละ 58.4 ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าคนวัยทำงานเสียด้วยซ้ำ (ข้อมูลปี 2556 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)
  • ร้อยละ 10-15 ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศเสพติดเกมขั้นรุนแรงจนไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้ ที่สำคัญยังพบว่า ไทยติดอันดับ 1 ของการเล่นเกมออนไลน์ ทั้งทางโทรศัพท์และทางอินเทอร์เน็ต สูงถึง 3.1 ชั่วโมงต่อวัน ติดอันดับ 1 ในประเทศแถบเอเชีย เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลี และจีน (ข้อมูลปี 2557 พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์)
  • จากที่มีพ่อแม่ ผู้ปกครอง โทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องลูกติดเกมทั้งทางอินเทอร์เน็ตและมือถือกับสายด่วนกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กเกิดปัญหาสุขภาพจิต ความเครียด และการเรียนตกต่ำร้อยละ 54 เด็กเกี่ยวข้องกับการพนันร้อยละ 27.2  เด็กเสพติดจากเกมเพราะเป็นหนี้สินไม่สามารถหยุดเล่นได้ร้อยละ 19 เด็กมีปัญหาครอบครัวร้อยละ 14 เด็กเกิดปัญหาความสัมพันธ์ทางสังคมและครอบครัวลดลงร้อยละ 9 เด็กมีปัญหาการฆ่าตัวตายที่เกิดจากเกมร้อยละ 4-5  (ข้อมูลปี 2557 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์)
  • โฆษณาที่ไม่เหมาะสมผ่านบริการโทรศัพท์มือถือ 3 ลำดับแรก ได้แก่ คลิปหรือภาพลามกร้อยละ 86.4 โชว์ลามกร้อยละ 53.9 และการพนันร้อยละ 47.5 (ข้อมูลปี 2554 สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง คลิก เด็กไทยเสี่ยง‘เซ็กส์-เกม-แชต’โทรมือถือ เหตุพ่อแม่ตามใจ อนุบาล-4ขวบมีใช้แล้ว

***************************

ที่มา

รายงานสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กในหัวข้อ “1 วันในชีวิตเด็กไทย” โดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เดือนมกราคม 2556

โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch)

รายงานการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2556 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

รายงานการสำรวจปัญหาของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระหว่างปี 2551 – 2554 โดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ร่วมกับสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คู่มือเพื่อการใช้โทรศัพท์มือถือของเด็กอย่างสร้างสรรค์ เท่าทัน และปลอดภัย โดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: