เคเบิ้ลฉบับนี้ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เป็นช่วงปลายสมัย ยุคที่สองของเครือข่ายการเมืองพลังประชาชน ซึ่งมีขั้วพลังทางการเมืองที่สำคัญ 3 ขั้ว คือ “สมัคร-สมชาย-เนวิน” ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้ขั้วภูมิใจไทยแตกออกมาหนุนประชาธิปัตย์ให้อภิสิทธิ์ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯ แล้วตัวอภิสิทธิ์จะเผชิญวิกฤตทางการเมืองในอีกสองปีข้างหน้า สร้างมลทินทางการเมืองที่ล้างไม่ออกจนปัจจุบัน จากนั้นขั้วทางการเมืองที่หนุนเพื่อไทยขึ้นมาใหม่ จะกลายเป็น "ยิ่งลักษณ์-เยาวภา-นปช." แทนที่
ในเคเบิ้ลฉบับนี้ มีส่วนที่น่าสนใจ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
ส่วนแรกส่วนวิเคราะห์สถานการณ์
คีย์เวิร์ดสำคัญคือ นี่ไม่ใช่อย่างที่มักจะวิเคราะห์กันแบบลดรูป (reductionist) ความซับซ้อนลงมาง่ายเกินไป (overly simplified) ว่าเป็นความขัดแย้งระหว่าง “เครือข่ายราชสำนัก” และ “เครือข่ายทักษิณ” เพราะไม่มีใครจะคุมใครได้จริง และขุนพลระดับรองลงมาของแต่ละฝ่ายต่างก็มี “วาระ” ของตนเอง
ตอนท้ายของย่อหน้าที่ 3 สรุปว่าความเปลี่ยนแปลงนี้ก็เหมือนกับประเทศเอเชียตะวันออกอื่น ที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ “ล้ำหน้า” (outstrip) การมีวุฒิภาวะระบอบประชาธิปไตยในเชิงสถาบัน (democratic institutional maturation) และการขึ้นมาท้าทายของกลุ่มใหม่ต่ออภิสิทธิ์ที่เคยมีของชนชั้นนำเดิม
3. (C) The battle lines in Thailand's political environment
are clearly drawn, even if there are multiple actors in play.
However, reductionist arguments that the crisis is about
“the King vs. Thaksin” are overly simplified; neither camp
controls all who claim allegiance to each, and key secondary
figures in both camps have differing agendas. While all
countries have their unique dynamics--Thailand's revolves
around the institution of monarchy--Thailand nevertheless is
experiencing a version of a scenario that has played out in
other East Asian countries: economic growth outstripping the
pace of democratic institutional maturation, and new groups
challenging the prerogatives of old elites.
ในย่อหน้าที่ 4 สรุปความสลับสับสนวุ่นวายไว้ได้ดี ซึ่งก็อย่างที่ใครที่ติดตามการเมืองกันอยู่ก็ทราบดี คือทักษิณให้การสนับสนุนทางการเงินกับเครือข่ายของเขา และมีฐานเสียงอยู่ในทางเหนือและอีสาน ส่วนฝ่ายตรงข้ามทักษิณก็คือพวกนิยมกษัตริย์ (royalist), คนชั้นกลางในกรุงเทพฯ, และประชากรในภาคใต้
ทั้งสองฝ่ายห้ำหั่นกันด้วยความเชื่อหรือความกลัวว่า อีกฝ่ายอาจจะใช้อำนาจทางการเมืองที่มีในการกีดกันฝ่ายตรงข้าม (หากไม่สามารถกำจัดให้หมดไปได้) ซึ่งทั้งหมดเตรียมการเพื่อ "ห้วงเวลาแห่งสัจจะ" ที่คาดกันว่ากำลังจะมาถึง
ตรงท่อนนี้ มีเนื้อหาบางส่วนที่ผมไม่สามารถนำมาแสดงได้ทั้งหมดดังนี้
4.(C) Although both sides in this polarized society have
independent-minded and middle-class participants, former
Prime Minister Thaksin Shinawatra provides direction and, we
assume with confidence, financing for his allies, relying on
a loyal electorate in the northeast and north of Thailand
which benefited from his populist policies from 2001-06. The
Thaksin machine faces off against a mix of royalists, Bangkok
middle class, and southerners, with xxxxxx having
emerged as their champion, as xxxxxxxxxxxxx.
The two sides are competing for
influence and appear to believe, or fear, that the other will
use the political power it has to marginalize (if not
eliminate) the opposing side. They are positioning
BANGKOK 00003289 002.2 OF 004
themselves for what key actors on both sides freely admit to
us in private will be Thailand's moment of truth--royal
succession xxxxxxxxxxx.
ส่วนที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งคือการวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ในระยะสั้น ซึ่งเขาวิเคราะห์ออกมาเป็นฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ 4 อย่างคือ (1) สถานะเดิมคือไม่เปลี่ยนรัฐบาล (2) รัฐบาลใหม่ (3) ยุบสภา และ (4) รัฐประหาร จะเห็นว่าถ้าเราวิ่งเวลาไปข้างหน้าเลยเคเบิ้ลฉบับนี้ ฉากทัศน์ที่ปรากฎขึ้นคือ (2) รัฐบาลใหม่ ซึ่งก็คือรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถ้าจะพูดไปความมั่นคงของรัฐบาลอภิสิทธิ์นี่ยังยืนยาวกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์เสียอีกแม้จะเผชิญวิกฤตที่หนักกว่า [อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 231 วัน) ในขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 2 กุมภาพันธ์ 2557 (2 ปี 150 วัน) ดู https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152149935426518&set=a.10150123272946518.323308.251446551517&type=1]
ผมจะพูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในตอนท้ายบทความนี้
ส่วนที่สามสุดท้ายที่น่าสนใจก็คือการประเมินบทบาทของราชสำนักในการแทรกแซงเพื่อยุติสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นที่เคยปรากฎในสมัย14 ตุลา 16 หรือ พฤษภาทมิฬ 35 ในเคเบิ้ลนี้ประเมินว่า "ยากที่จะเกิดขึ้น" เพราะพระองค์ทรงถอนตัวจากแวดวงสาธารณะ ยกเว้นราชพิธีสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ (Note ว่า มักจะมีการ "อ้างสถาบันกษัตริย์ เพื่อประโยชน์ตนเองเสมอ" เช่นเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ หรือ ในช่วงรายงานเคเบิลตอนนั้นก็คือ "พันธมิตรฯ")
9.(C) In our last review of scenarios looking forward (ref
G), we included another: an extraordinary intervention by
King Bhumibol, as he did in 1973 and 1992, to stop bloodshed
and allow a deeply divided Thai society a time out to
recalibrate. Thais consistently claim publicly that the King
is and should be above politics, and he personally appears to
appreciate the boundaries of his limited role. However,
throughout his reign, others have sought to use the
institution of the monarchy for their own political purposes,
starting with Field Marshal/PM Sarit (1957-63). That is
again the case now, particularly with the PAD, but at a time
the King himself has withdrawn from public life for all but
the most important ceremonial functions. Therefore, we
BANGKOK 00003289 004.2 OF 004
believe this intervention scenario remains unlikely.
ประเมินสถานการณ์
จะเห็นว่าตอนนี้สถานการณ์ก็ย้อนกลับมาเหมือนในช่วงเคเบิ้ลปี 2008 อีก และเราก็ต้องมานั่งคิดว่าใน 4 ฉากทัศน์นั้นอะไรจะเป็นไปได้ (ตอนนี้อยู่ในฉากทัศน์ที่ 3 คือยุบสภา แต่อะไรถัดจากนี้ก็เกิดขึ้นได้) ส่วนตัวผมคิดว่า "รัฐประหาร" โดยเฉพาะจากกองทัพยากที่จะเกิด อันนี้ไม่ใช่แค่ว่าเงื่อนไขความเป็นไปได้ (condition of possibility) ต่างจากสมัยปี 2549 มาก เช่น ตอนนั้นไทยรักไทยยังไม่มีการจัดตั้งมวลชนที่เข้มแข็งอย่าง นปช., นักวิชาการส่วนใหญ่สนับสนุนพันธมิตรฯ (ในช่วงนั้นอย่าว่าแต่เสียงคัดค้านความเป็นไปได้ของการเกิดรัฐประหาร ปัญญาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อด้วยซ้ำว่าจะเกิดการทำรัฐประหารขึ้น), มีการสับเปลี่ยนกำลังในกองทัพเพื่อทอนอิทธิพลของรัฐบาลลงไป+ ผบ.ทบ. พร้อมเสี่ยงและเป็นไปได้ที่มีการวางแผนมาพอสมควรแล้ว
แต่ครั้งนี้, เท่าที่ผมทราบ, การสับเปลี่ยนกำลังพลในกองทัพโดยเฉพาะกำลังพลในกรุงเทพฯ ไม่ได้เอื้อให้เกิดการรัฐประหารขึ้น (เรื่องนี้เกิดขึ้นจากอิทธิพลอื่น, ซึ่งไม่ได้เกิดจากความพยายามของรัฐบาล ซึ่งบทบาทในตอนนี้คือการประนีประนอมกับกองทัพเท่านั้น -- ซึ่งเป็นบทบาทที่ดำเนินการมาตามแบบอดีตนายกฯ สมัคร) นี่ยังไม่ได้พูดถึงว่า ต่อให้จะทำรัฐประหารได้จริง ก็อาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักก็ได้ (ในปี 2549 ก็ใช่ว่าจะได้รับการสนับสนุนจริง ๆ) รวมทั้งมีรายงานจากเคเบิ้ลฉบับอื่นว่า ในช่วงรัฐบาลสมชาย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้รับคำแนะนำจากราชสำนักไม่ให้ทำรัฐประหาร
ส่วนเงื่อนไขอื่น คือการใช้องค์กรพิเศษ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ และ/หรือ ปปช. ผมก็คิดว่าคงทำได้ยาก เพราะพรรคเพื่อไทย ถูกออกแบบมาให้รับมือกับการทำลายแบบนี้ (ในความเป็นจริง ควรจะมีการยุบพรรค+ตัดสินกรรมการบริหารหรือไม่ ก็ควรต้องตั้งคำถามเช่นกันว่าเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยหรือไม่)
ดังนั้นทางที่เหลือ ก็คงมีทางเดียวคือ การสร้างความวุ่นวาย และ/หรือ พยายามระงับไม่ให้มีการเลือกตั้ง และ/หรือ ถ้ามีการเลือกตั้ง ก็พยายามทำให้ผลการเลือกตั้งนั้นไม่มีความชอบธรรม มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หรือถ้าพ้นไปได้แล้ว ผมก็คิดว่ารัฐบาลยากที่จะบริหารประเทศ/งบประมาณ ได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนที่เคยเป็นมา และอาจเผชิญกับการประท้วงใหญ่บ้างเล็กบ้าง ตามฐานานุรูปไปเรื่อย ๆ ผมไม่ค่อยแน่ใจด้วยซ้ำว่า ต่อให้ผ่านการเลือกตั้งได้, รัฐบาลชุดใหม่จะมีอายุยืนยาวได้จริง ๆ
ถ้าจะพูดไป ทั้งสองฝ่าย, ต่างก็มีจุดได้เปรียบเสียเปรียบคนละอย่างต่างกันไป และตามความเป็นจริง นอกจากเครือข่ายทั้งในสายเอกชน สายวิชาการ และสายราชการแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่าง command มวลชนสนับสนุนซีกละ 10 ล้านคนขึ้นไป นี่ไม่ใช่ตัวเลขที่จะมองข้ามไปง่าย ๆ ได้เลย
แต่เราจะเห็นทั้งสองฝ่ายผลัดกันรุกผลัดกันรับ เหมือนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างมหาอำนาจกลาง และสัมพันธมิตร ซึ่งสภาพการณ์โดยรวมจะเป็นสงครามแบบคู่ค่ายสนามเพลาะ แล้วแต่ว่าแต่ละฝ่ายจะคิดนวัตกรรมอะไรขึ้นมา ชอบธรรมบ้างไม่ชอบธรรมบ้าง เพื่อรุกเอาอีกฝ่าย เช่น บอลลูน, ก๊าซพิษ, รถถัง, ฯลฯ
ดังนั้น จึงขอฝากถึงกองเชียร์ของทั้งสองฝ่ายว่าอย่ารีบดีใจ/เสียใจ หรือรีบโห่ฝ่ายตรงข้ามเวลาดูเหมือนเขาเสียเปรียบ ผมก็มองนะ ว่า ในระยะยาว นี่เป็นอะไรคล้าย ๆ กับหนัง “แนวรบด้านตะวันตก สถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง” จนกว่าจะถึง “ห้วงเวลาแห่งสัจจะ” อะไรทำนองนั้น
ทั้งนี้ ผมมองว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอะไรที่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องถึงซึ่งกันและกัน มันเป็นช่วงเวลาแบ่งระหว่าง “สมัยเก่า” กับ “สมัยใหม่” ซึ่งอันนี้แบ่งโดย การสิ้นสุดของระบบการล่าอาณานิคมของตะวันตก ถ้าใครสนใจรายละเอียดลองหาคลิปเกี่ยวกับ สงครามโลกทั้งสองครั้งมาดู ของ History Channel เป็นภาษาอังกฤษสนุกและเห็นภาพได้ชัดเจนดี
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ