สถิติเครื่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล

9 มิ.ย. 2557 | อ่านแล้ว 2203 ครั้ง


ทั้งนี้ ได้ออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์แบบมีจอภาพแสดงผล หรือ Integrated Digital Television (iDTV) จำนวน 104 แบบ/รุ่น เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์แบบไม่มีจอภาพแสดงผล หรือกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล (Set Top Box) จำนวน 62 แบบ/รุ่น และเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลแบบพกพา/เคลื่อนที่/ติดรถยนต์ (Portable) จำนวน 10 แบบ/รุ่น

ขณะที่จำนวนอุปกรณ์ มีการออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ แบ่งเป็น จอโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (iDTV) จำนวน 516,216 เครื่อง กล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล จำนวน 462,650 เครื่อง และอุปกรณ์ Portable จำนวน 211,760 เครื่อง รวมจำนวน 1,190,626 เครื่อง

นอกจากนี้ ยอดสะสมตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามประกาศสำนักงาน กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไปแล้วรวม 282 แบบ/รุ่น แบ่งเป็น จอโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (iDTV) จำนวน 173 แบบ/รุ่น กล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล จำนวน 99 แบบ/รุ่น และอุปกรณ์ Portable จำนวน 10 แบบ/รุ่น

ทางด้านจำนวนการออกเครื่องหมายแสดงการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลทุกประเภทรวม 1,728,565 เครื่อง แบ่งเป็น จอโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (iDTV) ที่ผ่านการจดทะเบียนแล้วจากสำนักงาน กสทช. จำนวน 718,270 เครื่อง กล่องรับสัญญาณดิจิทัล จำนวน 798,535 เครื่อง และอุปกรณ์ Portable จำนวน 211,760 เครื่อง

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติได้เก็บข้อมูลซึ่งสะท้อนถึงการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ในสังคมไทย โดยการสำรวจการครอบครองโทรทัศน์ของครัวเรือนในประเทศไทย พบว่า ครัวเรือนส่วนบุคคลของไทยร้อยละ 94.9 มีโทรทัศน์ โดยครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเมือง (เขตเทศบาล) มีโทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 94.5 ส่วนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชนบท (นอกเขตเทศบาล) มีโทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 95.3 ซึ่งจะเห็นว่ามีสัดส่วนแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

และจากการสำรวจการใช้เวลาของประชากรในปี 2552 พบว่า คนไทยใช้เวลาในการดู/การฟังโทรทัศน์ เฉลี่ยวันละ 2.7 ชั่วโมง โดยคนในกรุงเทพมหานครใช้เวลาในการดู/การฟังโทรทัศน์มากที่สุดคือ เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง รองลงมาคือภาคกลางใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 2.8 ชั่วโมง ภาคใต้ใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 2.8 ชั่วโมง ภาคเหนือใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 2.6 ชั่วโมง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 2.6 ชั่วโมง ตามลำดับ

และการสำรวจสัดส่วนบ้านที่รับสัญญาณโทรทัศน์ประเภทต่างๆ ปี 2555 ของ Nielsen Media Research พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ชมโทรทัศน์ผ่านระบบจานดาวเทียมร้อยละ 45 รองลงมาคือผ่านระบบเสาอากาศร้อยละ 35 ผ่านระบบเคเบิลร้อยละ 11 ผ่านระบบกล่องรับสัญญาณร้อยละ 9 ตามลำดับ

**********************

ที่มา

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

บทความ "ทีวี Digital" จุดเปลี่ยนทีวีไทย เมื่อมิถุยายน 2556 โดยศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ขอบคุณรูปภาพจาก http://img.tarad.com/

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: