ตัวชี้วัดความมั่นคงมนุษย์ 10 ประการ

12 พ.ค. 2557 | อ่านแล้ว 3992 ครั้ง


ตัวชี้วัดแรกคือความไม่มั่นคง

“ความมั่นคงมนุษย์ของไทยติดอยู่ในอันดับ 103 จาก 232 ประเทศ ความสงบสุขในสังคมยังเป็นประเด็นร้อน”

ผลพวงจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ดัชนีการก่อการร้ายโลก (Global Terrorism Index) ของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 8 จาก 158 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนขณะที่ดัชนีความสงบสุขโลก (Global Peace Index) ก็จัดให้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 126 จาก 158 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่าความสงบสุขของประเทศยังอยู่ระดับที่ต่าเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค

ตัวชี้วัดเหล่านี้สะท้อนถึงปัญหา “ความไม่สงบสุข” ที่ยังคงเป็นความเสี่ยงและความเปราะบางที่สำคัญต่อความมั่นคงทั้งของสังคมไทยและคนไทยทุกคน นอกจากนั้น ในสายตาของชาวต่างชาติยังมองว่า ธรรมมาภิบาลทางการเมืองและภาพลักษณ์การคอรัปชั่นของไทยที่ยังคงย่ำแย่กว่าอีกหลายประเทศในภูมิภาค ขณะเดียวกัน แม้ประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น ซึ่งดูได้จากตัวเลขงบประมาณด้านการศึกษา เปรียบเทียบกับงบประมาณภาครัฐโดยรวม และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการประเมินความรู้และทักษะของนักเรียนในวิชาต่างๆ กลับยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอีกหลายประเทศ ทำให้คุณภาพและประสิทธิผลของระบบการศึกษาภายในประเทศ เป็นสิ่งที่ต้องตั้งคำถามและพิจารณาแก้ไข

ส่วนความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในประเด็นการมีอาหารที่เพียงพอในเชิงปริมาณและคุณภาพ การเข้าถึงอาหารของคนไทยทุกคน การใช้ประโยชน์อาหารอย่างเหมาะสมและความยั่งยืนของการผลิตอาหารถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญต่อความมั่นคงของมนุษย์ในสังคมไทย การปฏิรูปภาคการเกษตรและระบบการผลิตอาหารของไทย จึงเป็นทางออกที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันกำหนดแนวทางดำเนินการให้เกิดความมั่นคงและเป็นธรรม

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 2 หลักประกันและความคุ้มครองทางสังคม

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 3 พลังงาน

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 4 สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 5 คุณภาพคน

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 6 อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 7 สิทธิบัตรยากับการพึ่งพาตนเอง

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 8 ความมั่นคงระหว่างประเทศ

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 9 ความเหลื่อมล้ำ

คลิกอ่าน ตัวชี้วัดที่ 10 ประชากรชายขอบ

**********************************

ที่มา

รายงานสุขภาพคนไทย 2556 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณรูปภาพ http://www.siamdara.com/

 

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: