กรีนพีซจี้หยุดรฟฟ.กระบี่ ชี้ไม่โปร่งใส-ไม่ชอบธรรม

13 มิ.ย. 2557 | อ่านแล้ว 1633 ครั้ง

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557 นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการรณรงค์กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตัวแทนเครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหิน ประกอบด้วย 1.กลุ่มรักลันตา 2.กลุ่มพิทักษ์ปกาสัย 3.สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวลันตา 4.สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมเกาะลันตา 5.มูลนิธิอันดามัน 6.ศูนย์สร้างเสริมจิตสำนึกนิเวศวิทยา 7.กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 8.สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 9.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้(กปอพช.) 10.โครงการปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งภาคใต้ 11.กลุ่มรักตรังปกป้องตรัง 12.กลุ่มรักษ์อันดามัน 13.กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมปกาสัย จังหวัดกระบี่ 14.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ 15.เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่16.องค์การความร่วมมือเพื่อการ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน 17.เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านอ่าวพังงา อันดามัน 18.เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ 19.เครือข่ายติดตามผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตำบลเขาหินซ้อน 20. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ 21.เครือข่ายถ่านหิน ประเทศไทย 22.เครือข่ายถ่านหินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมสำเนาถึงคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

เรื่อง หยุดเร่งรัดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินกระบี่เข้าสู่การพิจารณา

ของคณะกรรมนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช) ภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และทบทวนทางเลือกการผลิตไฟฟ้าที่ยั่งยืน โปร่งใสและเป็นธรรมในพื้นที่

เนื้อหาระบุว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งแต่งตั้งคณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (คำสั่งฉบับที่ 54/2557) โดยให้มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายพลังงานต่อ คสช. กำหนดหลัก เกณฑ์และเงื่อนไขให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงาน ติดตามดูแล ประสาน สนับสนุนและเร่งรัดงาน ทั้งในส่วนราชการ เอกชนและรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ รวมทั้งประเมินผล การปฎิบัติงานตามนโยบายพัฒนาพลังงานของประเทศนั้น ทางกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินซึ่งประกอบด้วย กลุ่มและองค์กรตามรายชื่อท้ายจดหมายนี้ในฐานะ ภาคประชาสังคม ขอเรียกร้องต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ในฐานะเจ้าของโครงการโรง ไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ ดังนี้

1.หยุดเร่งรัดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินที่ จ.กระบี่เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่แต่ง ตั้งขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พร้อมกันนี้ ให้ยุติการดำเนินกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และการรับฟังความคิดเห็นประชาชนด้วยเหตุที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้ เห็นว่ากระบวนการดังกล่าวขาดความโปร่งใสตรวจสอบได้และสร้างความขัดแย้งทาง สังคมขึ้นในพื้นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ควรนำผลการไต่สวนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีการละเมิดสิทธิชุมชน ในพื้นที่จากกระบวนการดังกล่าวมาพิจารณาเป็นบทเรียนในการบริหารจัดการตามแนว ทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักสากลและมีการบริหารงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพโปร่งใส เป็นธรรม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

2.แม้จะมีข้ออ้างมาโดยตลอดว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหิน นั้นสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan) โดยระบุว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหิน สะอาดในภาคใต้และเพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศและเสริมความมั่นคง ของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ต้องยอมรับความจริงที่ว่าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 สะท้อนถึงกระบวนการวางแผนพลังงานที่เป็นปัญหาถึงขั้นวิกฤต การเลือกสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนมากที่ก่อมลพิษ สร้างความขัดแย้ง มีต้นทุนและความเสี่ยงสูง แทนที่จะเป็นทางเลือกอื่นๆ ที่ปลอดภัยกว่า สะอาดกว่า และสมเหตุสมผลในทางเศรษฐกิจนั้นขัดกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทยและยัง ขัดกับผลประโยชน์ของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอีกด้วย

3.เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัด กระบี่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนพลังงาน หมุนเวียนที่สะอาดและปลอดภัยในทุกระดับ จังหวัดกระบี่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดพื้นที่หนึ่งใน ภาคใต้สามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ได้ ถึงร้อยละ 100 ภายใน 4 ปีข้างหน้า หากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯในฐานะรัฐวิสาหกิจชั้นนำในภาคการไฟฟ้าริเริ่มนำแผน อนุรักษ์พลังงานปี พ.ศ. 2554-2573 และแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกปี พ.ศ. 2555-2564 มาปฏิบัติใช้อย่างจริงจังและมีส่วนเร่งผลักดันกลไกที่มีประสิทธิภาพ เช่น กฎหมายพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เกิดขึ้นที่กระบี่และในประเทศไทย

ทางกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเครือข่ายปกป้องกระบี่จากถ่านหินมีความยินดีอย่าง ยิ่งที่จะเข้าพบผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เพื่อปรึกษาหารือถึงรายละเอียดในการจัดการวางแผนระบบการผลิตไฟฟ้าที่เป็น ธรรม โปร่งใส และยั่งยืนสำหรับจังหวัดกระบี่และในภาพรวมของประเทศไทยในวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2557 ในเวลาตามที่ท่านสะดวก

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

www.facebook.com/tcijthai

 

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: