ขนมปังกรอบ หรือเรียกอย่างฝรั่งว่า แครกเกอร์ (Cracker) เป็นขนมอบกรอบอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมรับประทานกันมากพอสมควร นิยมกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะรับประทานกับชีสต่าง ๆ ร่วมกับการดื่มชาหรือกาแฟ หรือเวลาจัดงานเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงค็อกเทลก็จะเห็นมีการนำมาจัดวางกับพวกผักสลัด ชีส แฮม/ไส้กรอก ทำเป็นของกินเล่นได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มขนมปังกรอบและแครกเกอร์ในประเทศไทย มีการขยายตัวทางการตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ มีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ปัจจุบันมูลค่าตลาดขนมปังกรอบในไทย โดยรวมปี 2554 อยู่ที่ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วน แครกเกอร์ 38 เปอร์เซนต์ คุกกี้ 32 เปอร์เซนต์ และเวเฟอร์ 30 เปอร์เซนต์ โดยมีอัตราการเติบโตที่ 13 เปอร์เซนต์ แน่นอนว่าเราจะพบเห็นโฆษณาที่มากขึ้นของขนมชนิดนี้ในสื่อต่าง ๆ และความหลากหลายของยี่ห้อที่พบวางอยู่บนชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ต
เมื่อพิจารณาจากส่วนประกอบในแครกเกอร์ ซึ่งมีแป้งสาลี ไขมัน น้ำตาลและเกลือ เป็นหลักแล้ว คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมหลาย ๆ คนจึงชอบแครกเกอร์ ทั้งนี้คงเพราะติดใจในรสชาติเค็ม ๆ มัน ๆ แบบ ชิ้นเดียวไม่เคยพอ แต่เมื่อลองหยิบฉลากมาดู พบว่าแคลอรีกับโซเดียมมีจำนวนไม่น้อย ขนมปังแผ่นบางๆ แค่ไม่กี่แผ่น ถ้าเผลอกินเพลินไปทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากอย่างแน่นอน
ดังนั้นก่อนหยิบแครกเกอร์กินในครั้งต่อไป โปรดเช็คฉลากสักนิดว่า พลังงานและปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าจะดูรายละเอียดก่อนไปหยิบฉวยในซูเปอร์มาร์เก็ต
ความต่างของคุกกี้ บิสกิตและแครกเกอร์
ทั้งหมดต่างเป็นขนมอบ ส่วนใหญ่ทำจากแป้งสาลีลักษณะกรอบ แห้ง
คุกกี้ ได้จากการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเข้าเตาอบ (เดิม)เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก
คำว่า “คุกกี้” (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า “บิสกิต” (biscuit)
ส่วน แครกเกอร์ (cracker) จะเป็นขนมปังกรอบแผ่นบาง ๆ แห้ง ๆ รสเค็มเอาไว้กินกับชีส ครีมชีส หรือทำเป็นขนมชีสเค้กต่างๆ
ความเสี่ยงของขนมปังกรอบ คุกกี้ บิสกิต แครกเกอร์
นอกจากเรื่องแคลอรีและโซเดียมที่สูง ก็คือ ไขมันทรานส์ และสารอะคริลาไมด์ (AA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในอาหารประเภทแป้งที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนสูง
ข้อมูลและข่าวจากนิตยสารฉลาดซื้อ
ติดตามข้อมูลข่าวสารจากแฟนเพจเฟสบุ๊คของ TCIJ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ