หลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2547 กระทั่งปัจจุบัน “โครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล” ที่จ.ปัตตานี คืบหน้าไปได้ไม่มากนัก ทั้งที่ส่วนหนึ่งเป็นความต้องการของคนในท้องถิ่น ที่คาดหวังว่าหากมีนิคมฯ แห่งนี้เกิดขึ้น จะส่งผลดีต่อคนในท้องถิ่น มีการจ้างงานเกิดขึ้น และทำให้แรงงานไทยที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซีย กลับมาทำงานที่บ้าน ขณะที่มุมมองที่แตกต่างออกไปกลับมองว่า ค่าแรงขั้นต่ำในเมืองไทยวันละ 300 บาท ไม่เพียงพอที่จะดึงดูดให้คนกลับมา และแรงงานส่วนใหญ่อายุเกินกว่า 40 ปี ซึ่งไม่ได้เป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งมองว่าอุตสาหกรรมจะส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน และก่อมลพิษให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นด้วย
10 ปี ทุ่มงบหนุนเกือบ 600 ล้าน
แต่ความไม่คืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งทางความคิดของคนในชุมชน 3 จังหวัดภาคใต้ แต่อย่างใด แต่กลับถูกมองว่าเป็นเรื่องของรัฐบาลที่ไม่จริงจังที่จะดำเนินการมากกว่า แม้ว่าที่ผ่านมา มีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินการในส่วนต่างๆ ไปเกือบ 600 ล้านบาทแล้วก็ตาม
ปีงบประมาณ |
รายการ |
อนุมัติ(ล้านบาท) |
2548 |
จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล รายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล |
84
12.183 |
|
โครงการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง(ภายใต้ (แผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ 2552-2555) |
415.14 |
2553 |
กนอ.ว่าจ้าง ม.เกษตรฯ ศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียด(โครงการเดิม) |
9.02 |
2555 |
สำนักงานชลประทานที่ 17 ซ่อมแซมท่อส่งน้ำข้ามคลองน้ำจืด และท่อแยกสามทางที่เสียหายจาการถูกเผาทำลาย |
36 |
|
รวมงบประมาณ |
566.343 |
จริงใจจะเดินหน้าหรือแค่เป็นทางผ่านของโครงการอื่น
ขณะที่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของนิคมฯ แห่งนี้คือ การลงตรวจพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ที่จ.ปัตตานี ของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นสัญญาณของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ต้องการสานต่อนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างจริงจัง หรือเพียงเพราะนิคมฯฮาลาล เป็นหนึ่งในหลายโครงการที่บรรจุในแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ (สงขลา ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส) ภายใต้แผนงานพัฒนาเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรม ซึ่งในนั้นปรากฏโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปัตตานี และโครงการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อรองรับท่าเรือน้ำลึก นั่นหมายความว่า หากโครงการนิคมฯ แห่งนี้ เดินหน้าอย่างจริงจังโครงการท่าเรือน้ำลึกปัตตานี อาจเป็นโครงการต่อไปที่ตามมา
ปมขัดแย้งกว้านซื้อที่ดิน
นอกจากข้อสันนิษฐานข้างต้นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ถูกจับตามองว่า นิคมฯฮาลาลสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในพื้นที่ปัตตานี นั่นคือ ความผันผวนของราคาที่ดิน จนหลายรายผันแปรเป็นความขัดแย้ง ในการกว้านซื้อที่ดินทั้งข้ออ้างว่าเพื่อดำเนินโครงการนี้ หรือพื้นที่โดยรอบ ที่จะเปลี่ยนจากที่ดินราคาถูกมาเป็นทำเลทองในพริบตา
รายงานวิจัย “วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการที่ดิน บริเวณลุ่มน้ำสายบุรี” ระบุว่า ที่ดินย่าน อ.ปานาเระ สายบุรี มีปัญหาสืบเนื่องจากการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล บริเวณพื้นที่ต.น้ำบ่อ บ้านท่าสู ต.บางเก่า อ.สายบุรี ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นพื้นที่ที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ในระยะที่ 1 รวม 933 ไร่ และในระยะที่สองอีกประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าจะสร้างที่ไหน
งานวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มทุนซื้อไปแล้วในหลายพื้นที่ ที่ดินได้หลุดมือจากชาวบ้านไปอยู่ในมือกลุ่มทุนหลาย กลุ่ม ส่วนพื้นที่สร้างนิคมฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวบ้านเดิม บางพื้นที่มีปัญหาเอกสารสิทธิทับซ้อนกัน แย่งชิงที่ดินกันอยู่แต่เดิม โดยไม่คิดว่าในอนาคตที่ดินจะเปลี่ยนมือ แต่ในระยะหลังที่ดินมีราคาสูง เมื่อมีการพัฒนานิคมฯ จึงมีการจับจองบ้าง ขายสิทธิบ้าง และมีความขัดแย้งเรื่องแนวเขตทับซ้อนกันบ้าง แม้จะมีแผนกำหนดเขตนิคมฮาลาลในเนื้อที่ 933 ไร่ แต่ความเป็นจริงสามารถทำได้เพียงสิบไร่กว่า ส่วนที่เหลือชาวบ้านไม่ยอมขาย เหตุเพราะเดิมพื้นที่ที่ชาวบ้านถือครองนั้น จะขายให้กับนายหน้าที่มาติต่อซื้อที่ดินทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในราคาเพียงไร่ละ 40,000-60,000 กว่าบาท แต่ยังไม่ได้จ่ายเงิน เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ตอนหลังทราบว่า มีบริษัทในจ.ปัตตานี ต้องการซื้อที่ดินในราคาสูงกว่า โดยเสนอราคาเป็นไร่ละแสนบาท ชาวบ้านจึงไม่ขายให้นิคมฯ แม้จะกำหนดแผนไว้แล้วก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นจากการระดมความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า ที่ดินเกิดการเปลี่ยนมือมากที่สุด นับแต่เริ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด
พื้นที่เป้าหมายโครงการอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
จุดที่ |
สถานที่ |
เนื้อที่ |
ลักษณะพื้นที่/การใช้ประโยชน์ |
เอกสารสิทธ์ |
ผู้ขาย/สาเหตุ |
ผู้ซื้อ/สาเหตุ |
หมายเหตุ |
1 |
ตำบลไม้แก่น (อ่าวละเวงถึงสายบุรี) |
ระยะทางประมาณ 2.5 ก.ม. |
ป่าชายหาดผสมพรุ ปลูกพืชล้มลุก เช่น แตงโมข้าวโพด มันขี้หนู |
มีเอกสารสิทธิ์เป็นจุดๆ(พื้นที่ฟันหลอ) |
ชาวบ้านขายเนื่องจากที่ดินไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ |
เดิมนายทุนซื้อเพื่อขุดทราย ปัจจุบันหยุดแล้ว อำเภอสั่งหยุด จากนั้นโครงการราชินีมาซื้อต่อ |
|
2 |
อำเภอตากใบ ปูลาเจ๊มูดอทั้งเกาะ ในอำเภอตากใบ |
|
เป็นชุมชนที่ตั้งมานานพอควร พื้นที่ยางส่วนยังมีคนอาศัยอยู่ |
|
ชาวประมงต้องการเงินจากการขายที่ดินเพื่อใช้จ่า/วิธีการขายต้นมะพร้า2ต้น |
ซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้โดยมิได้ใช้ประโยชน์/อดีต สส.คนภาคเหนือ สุชาติ ตันเจริญ |
หลักการรอบครองที่ดินใช้หลักคิด บ้านอยู่ตรงไหนเอาความยาวของที่ดินไปจนถึงสุดทะเล |
3 |
อ.เมืองถึงตำหนักกะลุวอ เหนือ บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งหมด |
ไปตามยาวริมทะเล |
เดิมเป็นป่าเสม็ด มีป่ามะพร้าว |
มีเอกสารสิทธิ์เป็นจุดๆ |
|
นายทหารนอกราชการขายโรงงานทำท่อก๊าซ ราคาประมาณ 8 หมื่นบาต่อไร่ |
ขายที่ดินริมชายฝั่งย้ายบ้านริมถนน |
4 |
ต.โคกเคียน |
จาก อ.เมือง ประมาณ 1 กิโลเมตร |
ที่ดินชายฝั่ง ที่ดินพรุใช้ในการปลูกปาล์ม เป็นของนิคมสหกรณ์ฝ่ายผู้นำศาสนา โรงเรียนเอกชน นักการเมือง นายทุนคนมีเงิน |
|
|
สมัยพลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ ขายให้นายทุน ซื้อเพื่อจะทำโครงการท่าน้ำลึก รีสอร์ท เพื่อรอรับการทำท่าเรือน้ำลึก สมัยรัฐบาลชวน หลักภัย เป็รโครงการของประเทศมาเลเซีย 4,000 ไร่ ติดพรุบาเจาะ |
ขายไปจนถึงสนามบินบ้านทอนบางจุดเท่านั้นที่ไม่ขาย เช่า 30 ปเพื่อปลูกปาล์ม จากนั้นจะคืนจัดสรรที่ดินให้กับคนยากจนในพื้นที่ การจัดสรรที่ดินแปลงละ 18-20 ไร่ และทำเมืองใหม่ |
5 |
อ.ปะนาเระ บ้านน้ำบ่อ ท่าสู พ่อมิ่ง บ้านกลาง ท่าข้าม บางส่วนของต.บางเก่า แป้น เป็นของ อ.สายบุรี |
ประมาณ 10,000 ไร่ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ราคาที่ดินไร่ละ 7 หมื่น ถึง 130,000 บาท |
น้ำบ่อ พื้นที่นา สวนมะพร้าว แตงโม พื้นที่พรุสาคู ป่าเสม็ด ท่าสู พ่อมิ่งป่าเสม็ด พรุ บ้านกลางพื้นที่นา บ้านดอน
|
มีเอกสารสิทธิ์เป็นจุดๆ |
ชาวบ้านขายเพราะโดนบีบ/พอใจที่จะขายชาวงเปิดโครงการอาหารฮาลาล |
บริษัท |
มีการบีบบังคับให้ขายที่ดิน มีการตายของผู้นำ เพราะแย่งเป็นนายหน้า |
6 |
พรุ รามัน |
ประมาณ600 ไร่ |
บึ่งโต๊ะแนแว เป็นพื้นที่ทำนาเดิมของชาวบ้านในอดีต ปัจจุบันเป็นพื้นที่ว่างเปล่า สามารถทำโฉนด แต่อีกที่หนึ่งทำโฉนด |
สค.1 แต่มีการยกเลิก |
|
|
100 กว่าราย เนื้อที่ประมาณครึ่งไร่ |
7 |
ศรีสาคร |
แบ่งเป็นโซนพื้นที่นิคมกาหลง และพื้นี่ป่าที่ชาวบ้านทำสวน ราคาประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อไร่ (สำหรับพื้นที่เปล่า หากเป็นพื้นที่สวนราคาจะแพงขึ้น ประมาณ 70,000-100,000 บาทต่อไร่) |
พื้นที่ภูเขา ทำสวนยางสวนผลไม้ |
ไม่มี |
ขายเพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย (กลัวโจร) |
ทำสวนยาง ยุคแรทำสวนผลไม้แลพแปลงเป็นทำสวนยาง |
ตั้งแต่อดีต คนสายบุรีย้ายไปอยู่กันมากที่ศรีสาคร |
8 |
สุคิริน |
|
พื้นที่ภูเขา ทำสวนยาง สวนผลไม้ |
ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ส่วนน้อยที่มี สค.1 |
ไม่มีความมั่นคงในที่ดินทำกิน เนื่องจากที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ |
ซื้อทำสวนยางสวนผลไม้ สภาพของที่ดินสมบูรณ์ |
มาในรูปแบบมูลนิธิ เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านช่วยหาที่ดิน |
9 |
จะแนะ |
|
พื้นที่ภูเขา ทำสวนยางสวนผลไม้ |
|
|
หมอโอภาค สมัยสัมปทานป่าไม้ ขายต่อทหาร จัดสรรให้คนนอกพื้นที่ |
|
10 |
เมืองยะลา |
พื้นที่พรุแบเมาะ เป็นพื้นที่เปล่า ถูกถมให้สูง |
|
ที่ดินราคาสูง |
|
เป็นการขยายพ้นที่เป็นเขตเมืองธุรกิจใหม่ เป็นโครงการสร้างบ้านอาคารพาณิชย์ |
|
ความไม่สงบอีกปมที่ถูกโยง
นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญอีกประเด็น ที่ถูกนำมาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการดำเนินการแทบทุกอย่างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นคือสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ยูโซะ (นามสมมติ) ผู้นำชุมชน กล่าวถึงเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นบริเวณเขตนิคมฯ ว่า ชาวบ้านโดยมากเชื่อว่าเป็นฝีมือการสร้างสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้เสียประโยชน์ทางธุรกิจ มากกว่าเป็นฝีมือของขบวนการก่อความไม่สงบ ยูโซะตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการณ์ยิงถล่มอาคารศูนย์บริการฯ เผาทำลายสิ่งปลูกสร้าง มักเกิดในระหว่างรอยต่อรัฐบาล โดยเฉพาะเมื่อมีคำสั่งเดินหน้าโครงการ เหตุการณ์ยิงถล่มด้วยอาวุธสงคราม 66 นัด เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ส่งผลให้ตัวอาคาร กระจก และฝาผนัง อาคารศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรได้รับความเสียหายและยังไม่ได้รับการซ่อมแซมจนบัดนี้
หากย้อนรอยถอยกลับไป เมื่อต้นปี 2550 เคยเกิดเหตุการณ์ข่มขวัญในลักษณะแบบเดียวกันนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก เป็นเหตุการณ์เผาท่อน้ำขนาดใหญ่ ที่ทางนิคมฯ ฮาลาล นำมากองเตรียมต่อท่อดึงน้ำจากแม่น้ำสายบุรี มาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมฯ ส่งผลให้ผู้ดำเนินโครงการเร่งนำท่อฝังดิน ต่อท่อเชื่อมสู่แม่น้ำสายบุรีในเวลาต่อมา ครั้งต่อมาเป็นเหตุการณ์เผารถแบคโฮ ที่เข้ามาเกลี่ยพื้นที่เตรียมสร้างถนน 4 เลน เข้านิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ส่งผลให้การก่อสร้างถนนไม่คืบหน้าเท่าที่ควร กระทั่งถึงบัดนี้แม้จะมีการปักเสาไฟฟ้าแรงสูงเข้าไปในพื้นที่นิคมฯฮาลาลเสร็จไปแล้วก็ตาม แต่ทุกอย่างก็ยังสงบเงียบ และไม่มีทีท่าว่าจะเดินหน้าต่อไปเมื่อใด กระทั่งล่าสุด ที่มีเสียงตอบรับอย่างชัดเจนจากประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะให้เกิดนิคมฯ ฮาลาลภาคเหนือขึ้น และดูแนวโน้มจะเป็นจริงมากขึ้นด้วย
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ