วันที่ 14 มิถุนายน คมชัดลึกออนไลน์รายงานว่า นายจอห์น สแกนลอน เลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) เปิดเผยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ว่า การล่าช้างเพื่อเอางาในแอฟริกา ยังแพร่หลายในระดับอุตสาหกรรม เฉพาะปี 2556 ปีเดียว มีช้างถูกล่าเพื่อเอางากว่า 20,000 ตัว รุนแรงที่สุดคือแถบแอฟริกากกลาง ซึ่งสูญเสียประชากรช้างอย่างน้อย 60เปอร์เซนต์ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ขอบคุณภาพจาก
http://resources0.news.com.au/images/2011/04/02/1226032/373020-thailand-wildlife-crime.jpg
ไซเตส ระบุว่า ปี 2554 มีช้างแอฟริกาถูกล่า 25,000 ตัว ก่อนลดลงในปีต่อมาอยู่ที่ 22,000 ตัว แม้จำนวนช้างที่ถูกล่าในแอฟริกาปีที่แล้ว ลดลงจากสองปีก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับอันตราย และเกินอัตราการเกิดตามธรรมชาติ ทำให้จำนวนประชากรช้างในแอฟริกาลดลงในภาพรวม
นับจากเริ่มศตวรรษที่ 20 แอฟริกามีช้างประมาณ 10 ล้านตัว ก่อนลดลงเหลือ 1.2 ล้านตัว ภายในปี 2523
และมาอยู่ที่ประมาณ 5 แสนตัว ในปัจจุบัน หากแนวโน้มนี้ยังดำเนินอยู่ต่อไป ช้างในแอฟริกากลางอาจหมดไปใน 10 ปีข้างหน้า
ในแอฟริกาตะวันตก ประชากรช้างเหลือไม่มากนัก อาจกล่าวได้ว่าช้างสูญพันธุ์แล้วในเซเนกัล เช่นเดียวกับโซมาเลีย และซูดาน ทางตะวันออกของทวีป ประชากรช้างที่พบเห็นได้แห่งเดียวในแอฟริกาตะวันตก คือในอุทยานที่คาบเกี่ยวชายแดนโตโก เบนิน บูร์กินา ฟาโซ และไนเจอร์ อย่างไรก็ดี สัญญาณบวกในรายงานไซเตสล่าสุดคือความพยายามกวาดล้างการลักลอบขนค้างาช้างผิดกฎหมาย
ขอบคุณภาพจาก http://img.tnews.co.th/tnews_1301647031_9271.jpg
ปีที่แล้ว มีการยึดงาช้างทั่วโลกมากเป็นประวัติการณ์ที่ 40,000 กิโลกรัม และเป็นครั้งแรกที่การยึดงาช้างล็อตใหญ่ (มากกว่า 500 กิโลกรัม) เกิดขึ้นในแอฟริกามากกว่าในเอเชีย โดยเฉพาะเคนยา แทนซาเนีย และยูกันดา เป็นสามประเทศที่ยึดงาช้างรวม 80 เปอร์เซนต์ จากทั้งหมด แต่ปริมาณงาช้างล็อตใหญ่ที่ยึดได้นั้น ก็สะท้อนอีกด้านว่าแก๊งอาชญากรรม และกลุ่มกบฏที่พยายามหารายได้จุนเจือการสู้รบในแอฟริกา เข้ามาเกี่ยวข้องกับการล่าช้างมากขึ้น ประกอบกับความต้องการงาช้างเพื่อทำเครื่องประดับและยาแผนโบราณจากจีน ยังสูงอยู่มาก
รายงานไซเตส เรียกร้องประเทศผู้บริโภคและทางผ่านหลัก อย่างจีน ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพิ่มมาตรการกวาดล่างาช้างมากขึ้นอีก หลังพบสัญญาณการล่าช้างผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นในเอเชีย และการค้าช้างป่าให้กับคณะละครสัตว์จีน และป้อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย
นอกจากนี้ไซเตสยังประเมินสถานการณ์ล่าช้างโดยเก็บข้อมูลจากพื้นที่ 51 แห่งทั่วแอฟริกา ซึ่งเป็นที่อยู่ของช้าง 30-40 เปอร์เซนต์จากประชากรทั้งหมดในภูมิภาค
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ