ใครบ้างได้ค่าภาคหลวง'น้ำมัน-ก๊าซ'

16 มิ.ย. 2557 | อ่านแล้ว 2193 ครั้ง


มิถุนายน 2539 - มิถุนายน 2544

จัดสรรตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกฏกระทรวงมหาดไทย โดยมีหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจัดสรรค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ดังนี้

ค่าภาคหลวงสำหรับแหล่งบนบก จะจัดสรรเงินค่าภาคหลวงที่รับชำระให้อัตราร้อยละ 20 ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และร้อยละ 30 ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นำฝากไว้ที่กรมบัญชีกลาง เพื่อรอการโอนเงินให้แก่ท้องถิ่นตามเวลาที่กำหนด (ทุก 3 เดือน) ส่วนที่เหลือร้อยละ 50 แจ้งกองคลัง นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

ค่าภาคหลวงสำหรับแหล่งในทะเล ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด

กรกฎาคม 2544 - ปัจจุบัน

คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตรา การจัดสรรค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฏาคม 2544 เป็นต้นไป ดังนี้

ค่าภาคหลวงสำหรับแหล่งบนบก ให้จัดสรรแก่ท้องถิ่นตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

ก. อัตราร้อยละ 20 ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)และเทศบาลในเขตพื้นที่สัมปทานที่มีการผลิตปิโตรเลียม

ข. อัตราร้อยละ 10 ให้แก่ อบต. และเทศบาลอื่นที่อยู่ในจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมการผลิตปิโตรเลียม

ค. อัตราร้อยละ 10ให้แก่ อบต. และเทศบาลที่อยู่ในจังหวัดอื่น (ทั่วประเทศ)

ง. อัตราร้อยละ 20 ให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

จ. ส่วนที่เหลือร้อยละ 40 นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

การจัดสรรตาม ก ให้จัดสรรตามจำนวนองค์กร ส่วนการจัดสรรตาม ข และ ค ให้จัดสรรตามสัดส่วนจำนวนประชากร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร

ค่าภาคหลวงสำหรับแหล่งในทะเล ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหม

ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บจากผู้รับสัมปทานที่มีการผลิตและขายปิโตรเลียม โดยแบ่งเก็บตามประเภทของผู้รับสัมปทานซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ

1.1 ผู้รับสัมปทานกลุ่มที่ 1 อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติปิโตรเลียมก่อนการแก้ไขในปี พ.ศ. 2532 (Thailand I) เสียค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขาย ได้แก่ผู้รับสัมปทานบริเวณอ่าวไทย ที่แหล่งเอราวัณและใกล้เคียง แหล่งไพลิน แหล่งนางนวล แหล่งบงกช แหล่งจัสมิน และบริเวณบนบก ที่แหล่งน้ํามันดิบสิริกิติ์ แหล่งก๊าซน้ําพอง และแหล่ง ก๊าซสินภูฮ่อม

1.2 ผู้รับสัมปทานกลุ่มที่ 2 อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติปิโตรเลียมหลังการแก้ไขในปี พ.ศ. 2532 (Thailand III) เสียค่าภาคหลวงในอัตราแบบขั้นบันใดตามระดับการผลิตในอัตรา ร้อยละ 5 – 15 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขาย ได้แก่ ผู้รับสัมปทานบริเวณอ่าวไทยที่แหล่งน้ํามันดิบทานตะวันและเบญจมาศ แหล่งบัวหลวง แหล่งสงขลา และบริเวณบนบกที่แหล่งน้ํามันดิบกําแพงแสนและอู่ทอง แหล่งน้ํามันดิบบึงหญ้าและบึงม่วง แหล่งน้ํามันดิบวิเชียรบุรีและศรีเทพ แหล่งบึงหญ้าตะวันตก หนองสา

เมื่อครบกำหนดเวลาที่จะต้องจัดสรรเงินค่าภาคหลวงปิโตรเลียมให้แก่ท้องถิ่น ให้จัดทำรายงานสรุปรายละเอียดจำนวนเงินที่จัดสรรและนำฝากไว้ที่กรมบัญชีกลาง และโอนเงินดังกล่าวให้แก่องค์กรท้องถิ่นต่างๆ โดยส่งรายงานการจัดสรรเงินให้แก่ กองคลัง ปีละ 4 งวด ดังนี้

ระยะเวลา          เงินที่จัดเก็บในเดือน      จัดสรรภายในเดือน

งวดหนึ่ง                 ตุลาคม - ธันวาคม                มกราคม

งวดสอง                 มกราคม - มีนาคม                 เมษายน

งวดสาม                เมษายน - มิถุนายน              กรกฏาคม

งวดสี่                     กรกฎาคม - กันยายน           ตุลาคม

ดูเอกสารย้อนหลังได้ที่ http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=revenue

****************************

ที่มา

กรมเชื้อเพลิงพลังงาน

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

ขอบคุณรูปภาพจาก http://daily.bangkokbiznews.com/

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: