การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก

20 ต.ค. 2557 | อ่านแล้ว 3566 ครั้ง


·         อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 42

·         มูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 58.8 พันล้านหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2010 ไปอยู่ที่ 63.4 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2011 นับเป็นสถิติใหม่ สาเหตุมาจากการส่งเครื่องพีซีไปจำหน่ายยังตลาดเกิดใหม่ที่พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงในลำดับต้นๆ

·         ยังคงมีช่องว่างในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายในตลาดเกิดใหม่และตลาดที่เจริญแล้ว ยกตัวอย่างเช่น จีนใช้จ่ายในเรื่องนี้น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนที่มีการใช้จ่ายกันในรัสเซีย อินเดีย และบราซิล ต่อเครื่องพีซีหนึ่งเครื่อง และเท่ากับแค่ร้อยละ 7 ของจำนวนที่ใช้จ่ายกันในสหรัฐอเมริกา

·         ผู้ใช้ที่ยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุด คือ กลุ่มเยาวชนและผู้ชาย โดยมีสัดส่วนไม่เท่ากัน และพวกเขามีพฤติกรรมในการติดตั้งซอฟต์แวร์ทุกประเภทบนเครื่องพีซีมากกว่าผู้ใช้กลุ่มอื่น

·         ผู้ใช้กลุ่มที่เป็นองค์กรธุรกิจยอมรับว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บ่อยครั้งมากกว่าผู้ใช้กลุ่มอื่น

·         ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา : ผู้ใช้เครื่องพีซี 7 ใน 10 สนับสนุนให้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อไป

ตารางแสดงอัตราการละเมิดลิขสิทธ์ิซอฟต์แวร์ระดับภูมิภาค/มูลค่าความเสียหาย

แบบพิมพ์เขียวของบีเอสเอเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ความก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปของหลายๆ ประเทศ ในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ แสดงให้เห็นคุณค่าของการรณรงค์ต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา วิธีการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลที่รัฐบาลในหลายๆ ประเทศ ทั่วโลกสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

·         เพิ่มการสื่อสารเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยร่วมมือกับภาคเอกชน และหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

·         พัฒนาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และงานอันมีลิขสิทธิ์อื่นๆ ให้ทันสมัย เพื่อก้าวให้ทันนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง และการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากของอุปกรณ์เคลื่อนที่เน็ทเวิร์คต่างๆ

·         เพิ่มความเข้มงวดเรื่องการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมด้วยปัจจัยที่จำเป็น ได้แก่ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญ การฝึกอบรมสำหรับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ยุติธรรม เพิ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงทริปส์ขององค์การค้าโลก

·         เป็นผู้นำตัวอย่าง โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับอนุญาตครบถ้วนเท่านั้น ลงมือปฏิบัตินโยบายบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ (SAM) ส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายในหน่วยงานของรัฐ รวมถึงหน่วยงานที่รัฐจ้างให้ทำงาน หรือจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้แก่ภาครัฐ

เกี่ยวกับการศึกษา

การศึกษาการละเมิดลิขสิทธิซอฟต์แวร์ทั่วโลกของบีเอสเอร่วมกับไอดีซี และไอพีเอสโอเอส พับลิค แอฟแฟร์ส ได้รวมเอาข้อมูลจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้จำนวน 182 แห่งสำหรับแต่ละประเทศและภูมิภาคที่ทำการศึกษาทั้งหมด 116 ประเทศ นักวิจัยและวิเคราะห์ของไอดีซีในเกือบ 100 ประเทศ ใช้เวลามากกว่า 6 เดือน ในการเก็บรวบรวมและประเมินข้อมูลที่เป็นแนวโน้มของซอฟต์แวร์และเครื่องพีซี ในขณะเดียวกัน ไอพีเอสโอเอสสำรวจผู้ใช้เครื่องพีซีที่เป็นผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจประมาณ 15,000 ราย ทั่วโลก

การศึกษาครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทุกประเภทที่ทำงานอยู่บนเครื่องพีซี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktops) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ laptops และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ netbooks และรวมถึงระบบปฏิบัติการ (operating systems) ซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบ (systems software) (เช่น ดาต้าเบส (databases) และ ซอฟต์แวร์แบบซิเคียวริตี้ (security packages) และซอฟต์แวร์ใช้งานอื่นๆ (applications software) นอกจากนี้ การศึกษายังรวมซอฟต์แวร์ที่ให้ใช้งานโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแบบถูกกฎหมาย และโอเพนซอร์สด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการศึกษา (methodology) และรายงานการศึกษาฉบับเต็ม สามารถเข้าดูได้ที่ www.bsa.org/globalstudy

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง แก้'พรบ.ลิขสิทธิ์'เพิ่มโทษแอบถ่ายในโรง จับตาเอาผิดคนซื้อ-เจ้าของสถานที่ขาย

ที่มา

บีเอสเอ

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.cctvbangkok.com

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: