ภาคประชาชนไทย-พม่ายื่นหนังสือร้องเรียน กสม.ได้รับผลกระทบสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน

21 พ.ย. 2557 | อ่านแล้ว 2203 ครั้ง

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ลงพื้นที่บ้านสบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอนพบกับตัวแทนชาวบ้านจากทั้งฝั่งไทย และฝั่งพม่า เพื่อตรวจสอบกรณีได้รับการร้องเรียนความเดือดร้อนจากผลกระทบในการสร้างเขื่อนสาละวิน  พร้อมกันนี้ยังได้รับจดหมายร้องเรียนจากองค์กรภาคประชาสังคมในพม่า ระบุถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากโครงการสร้างเขื่อนต่างๆ ในแม่น้ำสาละวิน  โดยเนื้อหาจดหมายร้องเรียนดังกล่าวระบุว่า

พวกเรา เครือข่ายพันธมิตรกลุ่มภาคประชาสังคมกะเหรี่ยง กะเรนนี และฉาน เขียนจดหมายถึงท่านเพื่อหยิบยกข้อกังวลยิ่งในสถานการณ์การละเมิด สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับแผนการก่อสร้างโครงการเขื่อนในลุ่ม น้ำสาละวิน ประเทศพม่า  เนื่องด้วยการลงทุนในเขื่อนต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการลงทุนจากประเทศไทย พวกเราขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ตวรจสอบสถานการณ์การละเมิดสิทธิ และดำเนินมาตราการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (Electricity Generating Authority of Thailand - EGAT)ะ ร่วมลงทุนในเขื่อนฮัตจึ กำลังการผลิต 1,360 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า  ประเทศไทยได้ให้คำมั่นที่จะซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจาก เขื่อนฮัตจี 90 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังได้ร่วมลงทุนในโครงการเขื่อน ท่าซาง ในรัฐฉาน โดยมีหุ้นส่วนในโครงการอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ จากโครงการลงทุน 10,000 - 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (325,000 - 390,000 ล้านบาท) เขื่อนท่าซางจะเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยแผนกำลังการผลิต 7,100  เมกะวัตต์ เช่นเดียวกับเขื่อนฮัตจี กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จากเขื่อนท่าซางจะส่งเข้ามายังประเทศไทย

พวกเรากังวลกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากล ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากโครงการเขื่อนฮัตจี และเขื่อน          ท่า ซาง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลพม่าและ กลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์  บริ วเณเขตพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้าน จำนวนมากถูกอพยพเนื่องจากภัยสงครามกลางเมือง  มีรายงานว่าได้มีการอพยพ ชาวบ้านกว่า 60,000 คน ในพื้นที่เขื่อนท่าซาง และกว่า 50,000 คน ในพื้นที่เขื่อนฮัตจี  น้ำที่จะท่วมในพื้นที่อ่างเก็บน้ำพร้อมกับการยึดครอง ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเขื่อน ยิ่งทำให้การส่งกลับผู้อพยพในค่ายผู้ลี้ภัยและการฟื้นคืนวิถี ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อพยพแทบจะเป็นไปไม่ได้

การส่งจำนวนมากทหารเข้าไปในพื้นที่เพื่อ ทำสงครามยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และการสู้รบเพิ่งได้เกิดขึ้นในทั้งพื้นที่เขื่อนฮัตจี และเขื่อนท่าซาง ซึ่งส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง  หลักฐานได้ชี้ให้เห็นว่าการสู้รบทางทหารซึงปฏิบัติการและ สนับสนุนโดยกองทัพพม่าต้องการที่จะควบคุมพื้นที่จากกลุ่มที่ต่อ ต้านโครงการ

ในเดือนตุลาคม 2556  กอง กำลังทหารพม่าได้ยิงถล่มหมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงเขตก่อสร้าง เขื่อนท่าซาง ซึ่งทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องหลบหนีลี้ภัยจากบ้านของตน  มีรายงานว่าชาวบ้านจำนวน 18 คนถูกบังคับให้เป็นโล่ห์มนุษย์กำบัง ให้กับกองกำลังทหารพม่า  การ สู้รบระหว่างกองกำลังทหารพม่าและกองกำลังรัฐฉาน-ใต้ (Shan State Army-South) เกิดขึ้นใน พื้นที่ดังกล่าวในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2556  ในช่วงดังกล่าว มีรายงานว่ากองกำลังทหารพม่าได้บังคับชาวบ้านให้ไปเป็นแรงงาน นอกจากขูดรีดอาหารและเงินทองชาวบ้าน

พื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่น้ำท่วมตาม แผนเขื่อนท่าซางได้มีการตัดไม้ทำลายป่า และกองกำลังทหารพม่าซึ่งเป็นผู้ให้ความปลอดภัยกับกระบวนการตัดไม้ ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวบ้านในพื้นที่หลายกรณี ได้แก่ การบังคับใช้แรงงาน การรีดไถอาหารจากชาวบ้าน การเรียกเก็บภาษีตามอำเภอใจ การทุบตีทำร้ายร่างกาย และวิสามัญฆาตกรรม  เนื่องจากการละเมิดสิทธิดังกล่าว ชาวบ้านชาวฉานยังคงต้องหลบหนีข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย ซึ่งพวกเขาถูกปฏิเสธสถานะผู้อพยพ

การสู้รบในพื้นที่ใกล้เคียงกับเขื่อนฮัต จี ยังคงเกิดขึ้นมาโดยตลอด เช่น ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2556 เดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2556 และอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2557  ในเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา ทหารได้ใช้ระเบิดปืนครกถล่มหมู่บ้านทำให้ชาวบ้านอย่างน้อย 2,000 คน หนีอพยพจากบ้านเรือนของตนในหมู่บ้านเมไซน์ตอง หมู่บ้านกันนยีนอง และหมู่บ้านวาโบตอง  ชาว บ้านอย่างต่ำ 100 คน ถูกบังคับไปเป็นแรงงานให้กับทหาร และผู้อพยพให้ให้ข้อมูลว่ากองกำลังร่วมทหารพม่าปล้นสะดมและ ทรัพย์สินของชาวบ้าน  ผู้ อพยพภายในพื้นที่จำนวนมากต้องการอาหาร ยา และเครื่องนุ่งห่มอย่างเร่งด่วน แต่ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องด้วยพื้นที่ดังกล่าวถูกกองกำลังทหารพม่าปิดกั้นพื้นที่  จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทหารพม่าได้เพิ่มจำนวนกองกำลังขึ้นเป็นสามเท่าในบริเวณใกล้ เคียงพื้นที่เขื่อนฮัตจี

นอกจากความขัดแย้ง  ทั้งเขื่อนฮัตจีและเขื่อนท่าซางจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อชุมชนเกษตรและชุมชนประมงที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ ซึ่งริดลอนสิทธิด้านการประกอบอาชีพและทำลายความมั่นคงทางอาหารของ ชาวบ้าน เขื่อนต่าง ๆ ในลุ่มน้ำสาละวินเป็นโครงการที่ปรับเปลี่ยนแผนการอยู่เรื่อยมา ขาดความโปร่งใสมาโดยตลอด มีการให้ข้อมูลที่ผิด และชุมชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้  ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ทำให้ยากต่อการติดตาม ตรวจสอบโครงการ และชุมชนท้องถิ่นไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการ

เป็นที่เข้าใจว่าประชาชนทั่วไปที่อยู่ใน รัฐกะเหรี่ยง รัฐกะเรนนี รัฐฉานและรัฐมอญ ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการเขื่อนท่าซางและเขื่อนฮัตจี  ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณ ใกล้เคียงเขื่อนฮัตจี ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมประท้วงต่อต้านเขื่อนในวันที่ 14 มีนาคม 2557 เรียกร้อง ให้แม่น้ำสาละวินเป็นสายน้ำที่ปราศจากเขื่อน  ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งที่เข้าร่วมกิจกรรมประท้วงในครั้งดัง กล่าวได้ถูกยิงที่แขนโดยทหารในกองกำลังรักษาพรมแดน (Border Guard Force – BGF) ซึ่งบังคับ บัญชาโดยกองกำลังทหารพม่า  นอก จากนี้ ชาวบ้าน 33,538 คนได้ลงชื่อ เรียกร้องเพื่อต่อต้านเขื่อนซึ่งได้รับการรับรองโดยองค์กรภาค ประชาสังคมพม่า 131 แห่ง  กรณีนี้ยังเป็นการละเมิดหลักการความยินยอมที่มีการบอก แจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (Free Prior and Informed Consent – FPIC) อย่างชัดเจน ถ้าหากแผนการสร้างเขื่อนดังกล่าวยังคงเดินหน้าต่อโดยไม่มี ข้อมูลที่เพียงพอ และปราศจากความยินยอมจากชาวบ้าน

ชาวบ้านพลเรือนในท้องถิ่นได้รับความเดือด ร้อนอยู่ตลอดมา อันเป็นผลมาจากภัยสงครามทั้งในรัฐกะเหรี่ยงและรัฐฉาน  พวกเราเดือนร้อนอย่างมาก จากการลงทุนจากประเทศไทยในด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดความขัดแย้งและการสู้รบและยังคง สร้างความเดือนร้อนให้กับชาวบ้านมาโดยตลอด  ในบริบทดังกล่าว เราขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยมาตรวจสอบบทบาทของ ประเทศไทยที่มีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากโครงการก่อ สร้างเขื่อนฮัตจีและเขื่อนท่าซาง และกดดันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในโครงการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนดังกล่าวสู่สาธารณะ  พวกเราชื่นชมในบทบาทที่ ผ่านมาของคณะกรรมการสิทธิฯ ที่ได้เข้ามาตรวจสอบและติดตามกิจกรรมโครงการเขื่อนในลุ่มน้ำสาละ วิน และหวังว่าคณะกรรมการสิทธิฯ จะผลักดันให้มีการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมาก ขึ้น มีการวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเคารพสิทธิมนุษยชนชองชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

http://www.facebook.com/tcijthai

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: