จำนวนเรืออวนลากและเรืออวนรุน

24 ก.ค. 2557 | อ่านแล้ว 5910 ครั้ง


จำนวนเรือประมงที่ขออาชญาบัตร

จากการรวบรวมพบว่า จํานวนเรือที่มาขออาชญาบัตรทําการประมงด้วยเครื่องมือต่างๆ ในปี 2554 มีจํานวนทั้งสิ้น 17,203 ลํา จําแนกเป็นเครื่องมือประเภทอวนลาก 3,466 ลํา (ร้อยละ 20.1) อวนล้อมจับ 1,498 ลํา (ร้อยละ 8.7) อวนติดตา 7,825 ลํา (ร้อยละ 45.5) อวนครอบ 3,719 ลํา (ร้อยละ21.6) อวนช้อน อวนยก 274 ลํา (ร้อยละ 1.6) อวนรุน 375 ลํา(ร้อยละ 2.2) อวนอื่นๆ 3 ลํา เบ็ดราว32 ลํา และ เครื่องมืออื่นๆ 11 ลํา

เมื่อเปรียบเทียบจํานวนเรือประมงที่อยู่ในความครอบครองเป็นรายจังหวัด พบว่าจังหวัดที่มีจํานวนเรือประมงมากที่สุด คือจังหวัดสงขลา 3,578 ลํา (ร้อยละ 20.8) รองลงมาคือจังหวัดชุมพร 1,628 ลํา (ร้อยละ 9.5) และจังหวัดปัตตานี 1,601 ลํา (ร้อยละ 9.3)

จํานวนเรือประมงที่จดทะเบียน

จากการจดทะเบียนการมีไว้ในครอบครองซึ่งเครื่องมือทำการประมง พบว่าเรือประมงประเภทอวนติดตา มีการจดทะเบียนมากที่สุดโดยมีจํานวนทั้งสิ้น 7,825 ลํา (ร้อยละ 45.5) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือประมงขนาดเล็ก คือ มีระวางบรรทุกน้อยกว่า10 ตันกรอส และมีความยาวน้อยกว่า 14 เมตร รองลงมาได้แก่ เรือประเภทอวนครอบ ซึ่งมีจํานวน 3,719 ลํา หรือ คิดเป็นร้อยละ 21.6 ของเรือที่จดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีระวางบรรทุกตั้งแต่ 10 ตันกรอสขึ้นไป และมีขนาดความยาวเรือน้อยกว่า 18 เมตร

เรือประมงที่มีการจดทะเบียนมากเป็นอันดับสาม ได้แก่ เรือประมงประเภทอวนลาก ซึ่งมีจํานวน 3,466 ลํา หรือร้อยละ 20.1 ของเรือที่จดทะเบียนทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นเรือประมงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีระวางบรรทุกตั้งแต่ 50 ตันกรอสขึ้นไป และมีขนาดความยาวเรือมากกว่า 18 เมตร สําหรับเรือประเภทอวนล้อมจับ ซึ่งเป็นเรือประมงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีการจดทะเบียนจํานวน 1,498 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 8.7 ของเรือที่จดทะเบียนทั้งหมด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเรือที่มีระวางบรรทุกตั้งแต่ 50 ตันกรอสขึ้นไป และมีความยาวเรือมากกว่า 18 เมตร ส่วนเรือประเภทอื่นมีจํานวนไม่มากนัก

จังหวัดที่มีเรืออวนลากและเรืออวนรุนมากที่สุด

เรืออวนลากจำนวน 3,466 ลํา แบ่งเป็นเครื่องมือหลักๆ 3 ชนิด ได้แก่

1.อวนลากแผ่นตะเฆ่ 2,256 ลำ ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีอยู่ในความครอบครองมากที่สุด โดยมีจํานวนทั้งสิ้น 321 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 14.2 ของจํานวนเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ที่จดทะเบียนทั้งหมด รองลงมาคือจังหวัดสงขลา 273 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 12.1 และจังหวัดตรังเป็นจังหวัดที่มีอยู่ในครอบครองมากเป็นอันดับสาม คือมีจํานวนทั้งสิ้น 236 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 10.5

2.อวนลากคู่  1,092 ลํา จังหวัดที่มีอยู่ในความครอบครองมากที่สุดมีจํานวนถึง 410 ลํา คือจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 37.5 ของจํานวนเรืออวนลากคู่ที่จดทะเบียนทั้งหมด รองลงมา คือจังหวัดสมุทรปราการ 204 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 และ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีมากเป็นอันดับสาม คือมีจํานวนทั้งสิ้น 100 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 9.2 ตามลําดับ

3.อวนลากคานถ่าง 118 ลำ จังหวัดที่มีอยู่ในความครอบครองมากที่สุด คือจังหวัดสมุทรสาคร จํานวน 50 ลํา หรือคิดเป็นร้อยละ 42.4 ของจํานวนเรืออวนลากคานถ่างที่มาจดทะเบียนทั้งหมด รองลงมาได้แก่จังหวัดสตูล 36 ลํา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.5 ส่วนอันดับที่สามคือจังหวัดสมุทรปราการ จํานวน 23 ลํา หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5

ส่วนเรืออวนรุนจำนวน 375 ลำ จังหวัดที่มีอยู่ในความครอบครองมากที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจํานวนทั้งสิ้น 115 ลํา รองลงมาคือจังหวัดสมุทรสาคร 91 ลํา และจังหวัดสมุทรปราการมีเรืออวนรุนมากเป็นอันดับสาม คือมีจํานวน 65 ลํา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30.7 24.3 และ 17.3 ของเรือประมงที่จดทะเบียนประเภทอวนรุน ตามลําดับ

*******************

ที่มา

กรมประมง

ขอบคุณรูปภาพจาก http://oceana.org/

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ประมงเล็กจวกกรมประมงหนุนเรือเถื่อน จ่อยัดไส้จดทะเบียน-ชี้ทะเลไทยพินาศแน่

http://tcijthai.com/office-tcij/view.php?ids=4629

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: