รายงานผลการทำงานของ กสม.

24 ก.ย. 2557 | อ่านแล้ว 2522 ครั้ง


โดยสามารถตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งจากการร้องเรียนของผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือโดยผู้ทำการแทน ซึ่งอาจร้องเรียนโดยตรงหรือร้องเรียนผ่านองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน หรือจากการเสนอเรื่องขององค์การดังกล่าวที่พบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพิจารณาเบื้องต้นแล้วว่ากรณีมีมูล หรือเป็นกรณีที่ กสม. หยิบยกเรื่องขึ้นพิจารณาตรวจสอบ

การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ในปี 2555 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณา/ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน รวมทั้งสิ้น 1,014 เรื่อง เป็นเรื่องร้องเรียนที่ได้รับมาก่อนปี 2555 จำนวน 873 เรื่อง และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับในปี 2555 จำนวน 141 เรื่อง

จำนวนการร้องเรียน

ในปี 2555 (1 มกราคม-31 ธันวาคม 2555) กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเรื่องที่ กสม. หยิบยกเพื่อตรวจสอบรวม 666 เรื่อง                เฉลี่ยเดือนละ 55 เรื่อง เมื่อจำแนกเป็นรายเดือนพบว่า เดือนที่มีการรับเรื่องร้องเรียนและหยิบยกมากที่สุด คือ เดือนสิงหาคม จำนวน 68 เรื่อง และเดือนที่มีการรับเรื่องร้องเรียนและหยิบยกน้อยที่สุดคือ เดือนมกราคม จำนวน 39 เรื่อง

ประเภทสิทธิมนุษยชนที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

จากข้อมูลเรื่องร้องเรียนที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและเรื่องที่            กสม. หยิบยกเพื่อตรวจสอบในปี 2555 ซึ่งมีจำนวน 666 เรื่อง  เมื่อจำแนกข้อมูลตามประเภทสิทธิที่มีการร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน            พบว่า เป็นประเภทสิทธิในกระบวนการยุติธรรมสูงที่สุด จำนวน 127 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 19.07 รองลงมาเป็นสิทธิชุมชน   จำนวน 69 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 10.36

พื้นที่เกิดเหตุที่มีการร้องเรียนว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน

เมื่อพิจารณาจากเรื่องร้องเรียนที่มีการร้องเรียนว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและเรื่องที่ กสม. หยิบยกเพื่อตรวจสอบในปี 2555 พบว่า เป็นเรื่องร้องเรียนที่เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร      จำนวน 151 เรื่อง รองลงมาเป็นพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และภาคเหนือตอนบน ตามลำดับ

ที่มาของการร้องเรียน

เมื่อวิเคราะห์เรื่องร้องเรียนที่ กสม. ได้รับในปี 2555 จำนวน 666 เรื่อง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนด้วยตนเองสูงที่สุด จำนวน 631 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 74 รองลงมาเป็นการร้องเรียนแทน จำนวน 23 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45

ช่องทางการร้องเรียน

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนที่ร้องเรียนว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปี 2555 พบว่า ส่วนใหญ่ร้องเรียนเป็นหนังสือ จำนวน 631 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 94.74 รองลงมาเป็นการร้องเรียนทางด้วยวาจา จำนวน 11 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 1.65

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ‘อมรา’แจง5ปีกสม.ถูกวิพากษ์ไร้ผลงาน ระบุความขัดแย้งการเมืองทำงานยาก สถานการณ์ละเมิดสิทธิ์ม.112รุนแรงมาก

ที่มา

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.radioparliament.net

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: