เกือบสองทศวรรษที่จีเอ็มโอใส่หน้ากากมายาคติความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำศึกรุกรานพืชพันธุ์การเกษตรของไทยอย่างไม่ชอบธรรม จนกระทั่งนำไปสู่กำหนดวันตัดสินคดีการปนเปื้อนมะละกอจีเอ็มโอในสิ่งแวดล้อมระหว่างกรีนพีซและกรมวิชาการเกษตรในวันนี้ หลังจากที่กรีนพีซเปิดโปงกรมวิชาการเกษตรว่าเป็นต้นเหตุทำมะละกอไทยปนเปื้อนจีเอ็มโอ และปล่อยให้มีการทดลองมะละกอจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด ที่สถานีวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนย่อยพืชสวน อำเภอท่าพระ จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2547 และในที่สุด ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณายกฟ้องกรมวิชาการเกษตร และตัดสินว่าไม่ได้ละเลยต่อหน้าที่ในการจัดการการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอที่ขอนแก่น
เกือบยี่สิบปีก่อน: เมื่อกรมวิชาการเกษตร และบริษัทมอนซานโต้ พาจีเอ็มโอมาสู่ไทย
วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2538 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ทำความรู้จักกับจีเอ็มโออย่างเป็นทางการ ผ่านการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมของบริษัท มอนซานโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยที่กรมวิชาการเกษตรได้อนุญาตให้ปลูกทดสอบในแปลงเปิด และหลังจากนั้นอีกสองปีต่อมา ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 กรมวิชาการเกษตรก็ได้เดินหน้าทำการทำลองด้วยตนเอง โดยเป็นผู้นำเข้าต้นกล้าและเนื้อเยื่อมะละกอจีเอ็มโอ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล เข้ามาทดลองในประเทศไทย
หลายคนอาจกำลังสงสัยว่า พืชที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม ให้เกิดพืชที่มีคุณลักษณะตามที่ต้องการนั้นน่าจะเป็นผลดีมิใช่หรือ จะเป็นเรื่องเลวร้ายอย่างไร แต่แท้ที่จริงแล้วธรรมชาติได้สร้างสรรค์ทุกอย่างไว้อย่างตั้งใจ และทุกสิ่งมีเอกลักษณ์ในตัวเอง มีความแตกต่างหลากหลายเพื่อการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อทุกสรรพสิ่งบนโลกโดยที่มนุษย์ไม่มีทางควบคุมได้
การดัดแปลงพันธุกรรมนี้เป็นการละเมิดธรรมชาติ เช่น กรณีของมะละกอไทยที่มีการทดลองดัดแปลงให้ทนทานกับพาพาย่า ริงสปอต ไวรัส (Papaya Ring Spot Virus: PRSV) แต่การทดลองตัดต่อยีนส์แบบสุ่มเสี่ยงนี้มีบ่อยครั้งที่ล้มเหลว และถึงแม้สำเร็จก็จะก่อให้เกิดผลกระทบอื่น โดยการทดลองจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดหรือในระดับไร่นานั้นไม่สามารถควบคุมการหลุดรอดหรือแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ และหลีกไม่พ้นการปนเปื้อนของจีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อม
สิบห้าปีที่แล้ว: ปนเปื้อนจนได้!
ในที่สุดการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมูลนิธิชีววิถี และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก รายงานว่า พบการปนเปื้อนของฝ้ายจีเอ็มโอ (บีที) ที่จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2542 ซึ่งถือเป็นการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อมและแปลงของเกษตรกรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และต่อมาได้รับการยืนยันจากกระทรวงเกษตรฯ ว่ามีการปนเปื้อนของฝ้ายจีเอ็มโอจริง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านของภาคประชาชนต่อการทดลองจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2544 และให้มีการร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพขึ้น
ถึงแม้จะมีมติครม.ห้ามการทดลองจีเอ็มโอในไร่นาน แต่การปนเปื้อนครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 กรีนพีซได้เปิดโปงการพบการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอในสิ่งแวดล้อมและในแปลงของเกษตรกร ซึ่งต้นเหตุมาจากแปลงทดลองแบบเปิดของกรมวิชาการเกษตร ที่สถานีวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ส่วนย่อยพืชสวน อำเภอท่าพระ จังหวัดขอนแก่น แต่ครั้งนั้น กระทรวงเกษตรฯ ไม่ยอมรับว่าเกิดการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอจริง พร้อมกับกล่าวหาว่า กรีนพีซเป็นผู้ทำให้เกิดการปนเปื้อนเสียเอง จนนำไปสู่การดำเนินคดีอาญากับนักกิจกรรมและเจ้าหน้าที่กรีนพีซในข้อหาอาญาที่ร้ายแรง คือ บุกรุก ลักทรัพย์ และทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งยืดเยื้อมาถึงการตัดสินคดีในวันนี้
ห้าปีที่แล้ว: ศาลยกฟ้องนักกิจกรรมกรีนพีซ
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ยกฟ้องเจ้าหน้าที่กรีนพีซ และระบุว่าการกระทำของกรีนพีซในครั้งนั้นเป็นการแสดงออกที่มีความชอบธรรมเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอในอีกรูปแบบหนึ่ง และภายหลังกระทรวงเกษตรฯ จึงออกมายอมรับการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโออย่างเป็นทางการ เพราะจนมุมด้วยหลักฐานจากภาคประชาชนมากมาย แต่กลับไม่มีการดำเนินการเพื่อสืบสวนหาสาเหตุการปนเปื้อน และดำเนินการผลักดันการทดลองจีเอ็มโอสารพัดชนิดโดยไม่มีหน่วยงานเป็นกลางในการตรวจสอบความปลอดภัย กรีนพีซจึงเผยรายงานการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และเมื่อปราศจากการตอบรับจากกระทรวงเกษตรฯในการจัดการการปนเปื้อนอย่างจริงจรัง กรีนพีซจึงร้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ หยุดการทดลองมะละกอจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด และให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการตรวจสอบมะละกอจีเอ็มโอในแปลงเกษตรกรที่รับการจำหน่ายจ่ายแจก หรือรับเมล็ดพันธุ์จีเอ็ มโอต่ออีกทอดหนึ่งจากผู้อื่น ซ้ำใหม่ทั้งหมด และให้มีการกำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่กระจายของมะละกอจีเอ็มโอไปสู่แปลงเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมในทันที
“ถึงแม้ในวันนี้กรมวิชาการเกษตรจะพ้นข้อหาฐานละเลยต่อหน้าที่ในการจัดการการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอที่ขอนแก่น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ความจริงก็คือมีการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอขยายเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ นี่คือบทเรียนสำคัญของประเทศไทยและเป็นข้อพิสูจน์ว่าการทดลองจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดนั้นควบคุมไม่ได้” นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
ยุติจีเอ็มโอ ก่อนเสียอธิปไตยทางอาหาร
ภัยร้ายจีเอ็มโอนั้นแฝงมากับรูปลักษณ์พืชพันธุ์ที่ภายนอกมิได้แตกต่างกัน แต่เมื่อพืชจีเอ็มโอหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว ไม่มีทางที่เราจะกำจัดมันได้หมด เช่น ฝ้ายจีเอ็มโอที่เกิดการปนเปื้อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 แต่ยังคงตรวจพบตกค้างในสิ่งแวดล้อมหลังจากนั้นอีกกว่า 10 ปี หรือ เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่มูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย พบการปนเปื้อนของข้าวโพดจีเอ็มโอ ซึ่งปัจจุบันการปนเปื้อนนี้ได้ส่งผลต่อการส่งออกพืชผลการเกษตรของไทย ดังที่เกิดปัญหาการตีกลับมะละกอจากไทยโดยญี่ปุ่น จนกระทั่งเป็นวิกฤตการส่งออกสินค้าอาหารไปสหภาพยุโรปหลังจากตรวจพบสินค้าอาหารปนเปื้อนจีเอ็มโอที่ไทยส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนก โดยเพิ่มขึ้นจาก 11 ตัวอย่างในปีพ.ศ.2555 เป็น 24 ตัวอย่างก่อนสิ้นปีพ.ศ.2556 โดยตัวอย่างทั้งหมดคือมะละกอ จากข้อมูลการตรวจพบของไบโอไทย
กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลไทยหยุดผลักดันการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด
ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษากรณีการปนเปื้อนของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษากรณีการปนเปื้อนของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษากรณีการปนเปื้อนของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษากรณีการปนเปื้อนของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษากรณีการปนเปื้อนของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ฟังศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษากรณีการปนเปื้อนของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
กรีนพีซระบุว่าการห้ามการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในไร่นาจะทำให้รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับระบบนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศที่มีความเฉพาะแบบของตน และปกป้องอธิปไตยทางอาหารของประเทศจากการครอบงำและผูกขาดของบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า "ไม่ว่ากรมวิชาการเกษตรจะถูกตัดสินในคดีปกครองฐานละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ก็ตามในการจัดการการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอที่ขอนแก่น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ความจริงก็คือมีการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอขยายเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ (1) นี่คือบทเรียนสำคัญของประเทศไทยและเป็นข้อพิสูจน์ว่าการทดลองจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดนั้นควบคุมไม่ได้"
ภาพ: สิทธิชัย จิตตะทัต/ กรีนพีซ
ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผลผลิตทางการเกษตรไม่ใช่การดัดแปลงพันธุกรรม แต่เป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืน การห้ามการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในไร่นาจะทำให้รัฐบาลสามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับระบบนิเวศ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศที่มีความเฉพาะแบบของตน และปกป้องอธิปไตยทางอาหารจากการครอบงำและผูกขาดของบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ ไม่ใช่การผลักดันการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นเดือนตุลาคมนี้ที่รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังพิจารณาว่าจีเอ็มโอนั้นช่วยพัฒนาพืชเศรษฐกิจสี่ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม และอ้อย แม้จะมีผลการศึกษาว่าการปลูกพืชจีเอ็มโอไม่ได้ทำให้เพิ่มผลผลิต แต่จะทำให้ต้นทุนสูงและใช้สารเคมีในการผลิตมากขึ้นก็ตาม
การรุกรานของจีเอ็มโอทำให้คนไทยกลายเป็นหนูทดลอง และแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเราปนเปื้อนไปด้วยพืชที่ไม่มีความชัดเจนเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว เกษตรกรไทยจะกลายเป็นทาสของบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่ของโลกอย่างเช่น มอนซานโต้ ด้วยเหตุที่เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอนั้นมีเจ้าของและถูกจดสิทธิบัตรไว้แล้วทั้งสิ้น เมื่อจีเอ็มโอแพร่กระจายปนเปื้อนอยู่ในแปลงของเกษตรกร เกษตรกรจะต้องเผชิญกับปัญหาการฟ้องร้องฐานละเมิดสิทธิบัตรจีเอ็มโอ ซึ่งทั่วโลกมีเกษตรกรที่ถูกฟ้องร้องและแพ้คดีความ ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตรให้กับบรรษัทเหล่านี้ นับพันคดี และสุดท้าย ประเทศไทยจะสูญเสียอธิปไตยทางอาหาร เพราะการผลิตอาหารของเราได้ถูกครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างสิ้นเชิง
“ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” แผ่นดินไทยของเราอุดมสมบูรณ์เป็นอู่น้ำอู่ข้าวเสมอมา แม้คำตัดสินของศาลปกครองจะออกมาเช่นนี้ อย่างไรก็ตามการอ้างว่าจีเอ็มโอคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นเป็นเพียงมายาคติที่กำลังพรากความอุดมสมบูรณ์อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยไป ร่วมกันยุติจีเอ็มโอ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารของไทย ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และอธิปไตยทางอาหารของชาวไทยทุกคน
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ