กรรมการสิทธิ์ฯ เตรียมเรียก กฟผ.ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีเขื่อนฮัตจีกระทบสิทธิข้ามแดน 

27 พ.ย. 2557


เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน  2557 ที่ผ่านมา  ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีการประชุมอนุกรรมการฯ กรณีโครงการสร้างเขื่อนฮัตจี โดยมีนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน  และมีตัวแทนชาวบ้านจากเครือข่ายจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำสาละวิน นำโดย นายพงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ ผู้ประสานงานเครือข่ายจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน   พร้อมตัวแทนชาวบ้านรวม 6 คน ร่วมกันชี้แจงข้อมูลและยื่นเอกสารประกอบ

โดยนายพงษ์พิพัฒน์ กล่าวว่า    หลังจากที่อนุฯ กสม.ได้ลงพื้นที่บ้านสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพบกับตัวแทนชาวบ้านจากทั้งฝั่งไทย และฝั่งพม่าและร่วมรับฟังข้อกังวลเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ถือเป็นข่าวดีที่ทำให้ชาวบ้านลดความกังวลลงได้บ้าง  เพราะลงทุนในเขื่อนต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการลงทุนจากประเทศไทย  ชาวบ้านลุ่มน้ำสาละวินเคยเรียกร้องให้ให้หลายหน่วยงานติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ  โดยกรณีเขื่อนฮัตจีนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ)  อินเตอร์เนชั่นแนล ( Electricity Generating Authority of Thailand - EGAT)  มีความพยายามหลายครั้งในการลงพื้นที่เพื่อร่วมทำเวทีเจรจากับชาวบ้านถึงผลกระทบ แต่ไม่ใช่ชี้แจงเพื่อให้ชาวบ้านร่วมแสดงความคิดเห็น เป็นเพียงการชี้แจงเพื่ออธิบายข้อดีของโครงการและแจ้งให้ชาวบ้านรับทราบโครงการเท่านั้น  ซึ่งผลประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ กฟผ.จ้างฝ่ายวิชาการมาศึกษาก็เป็นการตรวจข้อมูลโดย กฟผ.เอง ไม่ใช่หน่วยงานสิ่งแวดล้อมอย่าง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)  ซึ่งมีคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) เป็นผู้ตรวจสอบ ดังนั้นใน ชาวบ้านจึงยังไม่ไว้วางใจในท่าทีของ กฟผ. จึงต้องร้องเรียนให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

“ที่เป็นกังวลอย่างมาก คือ การที่พื้นที่สร้างเขื่อนฮัตจีนั้นเป็นพื้นที่ชายแดน ซึ่งขณะนี้เขตแดนไทย พม่า ก็ยังไม่แน่ชัด หากมีโครงการพัฒนาขึ้นมา สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อน เกรงว่า ความขัดแย้งเรื่องชายแดนจะซ้ำรอยกับพื้นที่เขาพระวิหารที่สร้างปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยาวนาน  ซึ่งผู้นำกองทัพกะเหรี่ยงก็เคยให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อประเทศไทยและต่างชาติแล้วว่าไม่ด้วยกับโครงการเขื่อน เนื่องจากเกรงว่าจะเพิ่มจำนวนผู้ลี้ภัยและสร้างความขัดแย้งในพื้นที่เพิ่มเติม     ขณะที่ชาวบ้านสาละวินยังห่วงกังวลเรื่องกรณีส่งผลต่อพันธุ์ปลาและทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวิน ทั้งป่าสัก ทั้งระบบเกษตรริมน้ำที่อาจจะจมหายไปเมื่อมีเขื่อนด้วย”  นายพงษ์พิพัฒน์ กล่าว 

นายไพโรจน์  พนาไพรสกุล ชาวบ้านท่าตาฝั่ง ตำบลแม่สามแลบ อำเภอแมะสะเรียง และผู้ประสานงานเครือข่ายทรัพยากรฯ  กล่าวว่า   จากงานวิจัยไทบ้านพบว่าปลาในลุ่มน้ำสาละวินจากแม่สะเรียง ถึงสบเมย มีการเคลื่อนย้ายตามจังหวะเวลาที่เหมาะสมและสร้างสมดุลในธรรมชาติให้คนทำประมงพื้นบ้านได้อาศัย  โดยเดือนที่หาปลาได้มากที่สุด คือ เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์  โดยปลาจะมีลักษณะการอพยพจากแม่น้ำสาละวินที่สบเมยไปสู่แม่สามแลบอาศัยเวลาประมาณ 1-2สัปดาห์ ช่วงน้ำนองตลิ่งก็จะมีปริมาณมาก และชาวบ้านก็จะจำจังหวะได้ว่า ปลาชุกช่วงใด ส่งผลให้วิถีชีวิตคนลุ่มน้ำสาละวินดำเนินไปอย่างราบรื่น และไม่เดือดร้อนเรื่องอาหารและรายได้จากการหาปลา

 นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า จากข้อมูลที่ได้รับฟังจากของอนุกรรมการฯ ที่ได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมชาวบ้านฯ และรับฟังตัวแทนต่างๆ ชี้แจงนั้น คาดว่าในอนาคตต้องเรียกหน่วยงานที่ทำอีไอเอ รวมทั้งเรียกตัวแทน กฟผ.อินเตอร์ เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมและอาจจะต้องลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านอีกครั้ง แต่เบื้องต้น มองว่าปัญหาเขื่อนฮัตจีที่ชาวบ้านร้องเรียน คือ เป็นปัญหาข้ามพรมแดน ดังนั้นกรณีเขื่อนฮัตจี อาจจะรับฟังแค่สถานการณ์ในไทยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องขอพิจารณาข้อมูลจากฝั่งพม่าด้วย โดยจะประสานงานหน่วยงานภาคสังคมให้มีการส่งข้อมูลมาเพิ่มเติม  อย่างไรก็ตามปัญหาข้ามพรมแดนนั้น กสม.ให้ความสำคัญอย่างมากเพราะไทยกำลังจะเข้าสู่สมาชิกอาเซียน ความรับผิดชอบต้องเพิ่มจากประชากรในประเทศเป็นประชากรในภูมิภาค ความตกลงระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ กสม.จะหารือกันอีกครั้งและอาจจะลงพื้นที่ชุมชนสาละวินในเร็วๆ นี้

อนึ่งข้อความตามหนังสือร้องเรียนที่เครือข่ายภาคประชาชนได้ยื่นแก่ กสม.มีใจความสำคัญดังนี้ กรณี กฟผ.อินเตอร์ ร่วมลงทุนในเขื่อนฮัตจีซึ่งมี กำลังการผลิต 1,360 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า  ประเทศไทยได้ให้คำมั่นที่จะซื้อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจาก เขื่อนฮัตจี 90 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังได้ร่วมลงทุนในโครงการเขื่อน ท่าซาง ในรัฐฉาน โดยมีหุ้นส่วนในโครงการอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ จากโครงการลงทุน 10,000 - 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (325,000 - 390,000 ล้านบาท) เขื่อนท่าซางจะเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยแผนกำลังการผลิต 7,100  เมกะวัตต์ เช่นเดียวกับเขื่อนฮัตจี กระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จากเขื่อนท่าซางจะส่งเข้ามายังประเทศไทย

พวกเรากังวลกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากล ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากโครงการเขื่อนฮัตจี และเขื่อน          ท่า ซาง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลพม่าและ กลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์  บริ วเณเขตพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนทั้งสองแห่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้าน จำนวนมากถูกอพยพเนื่องจากภัยสงครามกลางเมือง  มีรายงานว่าได้มีการอพยพ ชาวบ้านกว่า 60,000 คน ในพื้นที่เขื่อนท่าซาง และกว่า 50,000 คน ในพื้นที่เขื่อนฮัตจี  น้ำที่จะท่วมในพื้นที่อ่างเก็บน้ำพร้อมกับการยึดครอง ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับเขื่อน ยิ่งทำให้การส่งกลับผู้อพยพในค่ายผู้ลี้ภัยและการฟื้นคืนวิถี ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อพยพแทบจะเป็นไปไม่ได้

การส่งจำนวนมากทหารเข้าไปในพื้นที่เพื่อ ทำสงครามยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และการสู้รบเพิ่งได้เกิดขึ้นในทั้งพื้นที่เขื่อนฮัตจี และเขื่อนท่าซาง ซึ่งส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง  หลักฐานได้ชี้ให้เห็นว่าการสู้รบทางทหารซึงปฏิบัติการและ สนับสนุนโดยกองทัพพม่าต้องการที่จะควบคุมพื้นที่จากกลุ่มที่ต่อ ต้านโครงการ

ในเดือนตุลาคม 2556  กอง กำลังทหารพม่าได้ยิงถล่มหมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงเขตก่อสร้าง เขื่อนท่าซาง ซึ่งทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องหลบหนีลี้ภัยจากบ้านของตน  มีรายงานว่าชาวบ้านจำนวน 18 คนถูกบังคับให้เป็นโล่ห์มนุษย์กำบัง ให้กับกองกำลังทหารพม่า  การ สู้รบระหว่างกองกำลังทหารพม่าและกองกำลังรัฐฉาน-ใต้ (Shan State Army-South) เกิดขึ้นใน พื้นที่ดังกล่าวในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2556  ในช่วงดังกล่าว มีรายงานว่ากองกำลังทหารพม่าได้บังคับชาวบ้านให้ไปเป็นแรงงาน นอกจากขูดรีดอาหารและเงินทองชาวบ้าน

พื้นที่อ่างเก็บน้ำและพื้นที่น้ำท่วมตาม แผนเขื่อนท่าซางได้มีการตัดไม้ทำลายป่า และกองกำลังทหารพม่าซึ่งเป็นผู้ให้ความปลอดภัยกับกระบวนการตัดไม้ ดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวบ้านในพื้นที่หลายกรณี ได้แก่ การบังคับใช้แรงงาน การรีดไถอาหารจากชาวบ้าน การเรียกเก็บภาษีตามอำเภอใจ การทุบตีทำร้ายร่างกาย และวิสามัญฆาตกรรม  เนื่องจากการละเมิดสิทธิดังกล่าว ชาวบ้านชาวฉานยังคงต้องหลบหนีข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย ซึ่งพวกเขาถูกปฏิเสธสถานะผู้อพยพ

การสู้รบในพื้นที่ใกล้เคียงกับเขื่อนฮัต จี ยังคงเกิดขึ้นมาโดยตลอด เช่น ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2556 เดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2556 และอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2557  ในเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา ทหารได้ใช้ระเบิดปืนครกถล่มหมู่บ้านทำให้ชาวบ้านอย่างน้อย 2,000 คน หนีอพยพจากบ้านเรือนของตนในหมู่บ้านเมไซน์ตอง หมู่บ้านกันนยีนอง และหมู่บ้านวาโบตอง  ชาว บ้านอย่างต่ำ 100 คน ถูกบังคับไปเป็นแรงงานให้กับทหาร และผู้อพยพให้ให้ข้อมูลว่ากองกำลังร่วมทหารพม่าปล้นสะดมและ ทรัพย์สินของชาวบ้าน  ผู้ อพยพภายในพื้นที่จำนวนมากต้องการอาหาร ยา และเครื่องนุ่งห่มอย่างเร่งด่วน แต่ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องด้วยพื้นที่ดังกล่าวถูกกองกำลังทหารพม่าปิดกั้นพื้นที่  จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ทหารพม่าได้เพิ่มจำนวนกองกำลังขึ้นเป็นสามเท่าในบริเวณใกล้ เคียงพื้นที่เขื่อนฮัตจี

นอกจากความขัดแย้ง  ทั้งเขื่อนฮัตจีและเขื่อนท่าซางจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อชุมชนเกษตรและชุมชนประมงที่อาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ ซึ่งริดลอนสิทธิด้านการประกอบอาชีพและทำลายความมั่นคงทางอาหารของ ชาวบ้าน เขื่อนต่าง ๆ ในลุ่มน้ำสาละวินเป็นโครงการที่ปรับเปลี่ยนแผนการอยู่เรื่อยมา ขาดความโปร่งใสมาโดยตลอด มีการให้ข้อมูลที่ผิด และชุมชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้  ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ทำให้ยากต่อการติดตาม ตรวจสอบโครงการ และชุมชนท้องถิ่นไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการ

เป็นที่เข้าใจว่าประชาชนทั่วไปที่อยู่ใน รัฐกะเหรี่ยง รัฐกะเรนนี รัฐฉานและรัฐมอญ ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการเขื่อนท่าซางและเขื่อนฮัตจี  ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณ ใกล้เคียงเขื่อนฮัตจี ได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมประท้วงต่อต้านเขื่อนในวันที่ 14 มีนาคม 2557 เรียกร้อง ให้แม่น้ำสาละวินเป็นสายน้ำที่ปราศจากเขื่อน  ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งที่เข้าร่วมกิจกรรมประท้วงในครั้งดัง กล่าวได้ถูกยิงที่แขนโดยทหารในกองกำลังรักษาพรมแดน (Border Guard Force – BGF) ซึ่งบังคับ บัญชาโดยกองกำลังทหารพม่า  นอก จากนี้ ชาวบ้าน 33,538 คนได้ลงชื่อ เรียกร้องเพื่อต่อต้านเขื่อนซึ่งได้รับการรับรองโดยองค์กรภาค ประชาสังคมพม่า 131 แห่ง  กรณีนี้ยังเป็นการละเมิดหลักการความยินยอมที่มีการบอก แจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (Free Prior and Informed Consent – FPIC) อย่างชัดเจน ถ้าหากแผนการสร้างเขื่อนดังกล่าวยังคงเดินหน้าต่อโดยไม่มี ข้อมูลที่เพียงพอ และปราศจากความยินยอมจากชาวบ้าน

ชาวบ้านพลเรือนในท้องถิ่นได้รับความเดือด ร้อนอยู่ตลอดมา อันเป็นผลมาจากภัยสงครามทั้งในรัฐกะเหรี่ยงและรัฐฉาน  พวกเราเดือนร้อนอย่างมาก จากการลงทุนจากประเทศไทยในด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดความขัดแย้งและการสู้รบและยังคง สร้างความเดือนร้อนให้กับชาวบ้านมาโดยตลอด  ในบริบทดังกล่าว เราขอเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยมาตรวจสอบบทบาทของ ประเทศไทยที่มีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเนื่องมาจากโครงการก่อ สร้างเขื่อนฮัตจีและเขื่อนท่าซาง และกดดันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในโครงการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนดังกล่าวสู่สาธารณะ  พวกเราชื่นชมในบทบาทที่ ผ่านมาของคณะกรรมการสิทธิฯ ที่ได้เข้ามาตรวจสอบและติดตามกิจกรรมโครงการเขื่อนในลุ่มน้ำสาละ วิน และหวังว่าคณะกรรมการสิทธิฯ จะผลักดันให้มีการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมาก ขึ้น มีการวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเคารพสิทธิมนุษยชนชองชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์

http://www.facebook.com/tcijthai

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: