- อุทกภัย ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี และได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก อุทกภัยมีสาเหตุจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดประชาชนได้รับความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย และในระยะหลังปัญหาอุทกภัยเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น มีมูลค่าความเสียหายสูงมากขึ้น แสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
ภัยจากดินโคลน ภัยจากดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในอดีตมีความรุนแรงไม่มากนัก โดยทั่วไปดินโคลนถล่มมักเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือเกิดตามมาหลังจากเกิดน้ำป่าไหลหลาก อันเนื่องมาจากพายุฝนที่ทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องรุนแรง ส่งผลให้มวลดินและหินไม่สามารถรองรับการอุ้มน้ำได้ จึงเกิดการเคลื่อนตัวตามอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก ปัจจุบันปัญหาดินโคลนถล่มเริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทยบ่อยมากขึ้นและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การทำการเกษตรในพื้นที่ลาดชันการทำลายหน้าดิน เป็นต้น ส่งผลให้การเกิดปัญหาดินโคลนถล่มเพิ่มมากขึ้น แสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
วาตภัย เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อพื้นที่กว้างนับร้อยตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาบริเวณที่ศูนย์กลางของพายุเคลื่อนที่ผ่านจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งความเสียหายมักผันแปรไปตามความรุนแรง เมื่อพายุมีกำลังแรงในชั้นดีเปรสชั่นจะให้เกิดฝนตกหนัก และมักมีอุทกภัยตามมา หากพายุมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน หรือพายุไต้ฝุ่น จะก่อให้เกิดภัยหลายอย่างพร้อมกัน ทั้งวาตภัย อุทกภัย และคลื่นพายุซัดฝั่ง ซึ่งเป็นอันตรายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นรุนแรง ทำให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากได้ สำหรับประเทศไทยได้เกิดภัยพิบัติจากวาตภัยหลายครั้งโดยสถิติการเกิดวาตภัย แสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
อัคคีภัย โดยส่วนมากมีสาเหตุมาจากความประมาท ขาดความระมัดระวังหรือพลั้งเผลอ เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การลุกไหม้จากการระเบิด จากการปรุงอาหารหรือจากการลอบวางเพลิง รายงานด้านอัคคีภัยของฮ่องกงพบว่าประเภทสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่เกิดเพลิงไหม้สูงสุดเกิดในสถานที่ที่เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่เพลิงไหม้ส่วนใหญ่เกิดภายในบ้านเรือน สำหรับประเทศไทยการเก็บรายงานสถิติการเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้แยกประเภท สิ่งปลูกสร้างและสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยไว้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดเพลิงไหม้ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก แสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บสารเคมี และจากการขนส่ง แต่สาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่่จะเป็นการรั่วไหลของสารเคมีและวัตถุอันตรายและการเกิดเพลิงไหม้ โดยสถิติการเกิดภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยจากการคมนาคมและขนส่ง ประเทศไทยอยูในช่วงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดภัยจากการคมนาคมและการขนส่งมากขึ้น และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญในลำดับต้น ๆ ของประชากรของประเทศ รวมทั้งความสูญเสียด้านอื่น ๆ เช่น ความเสียหายต่อครอบครัวและสังคม การสูญเสียค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ การสูญเสียแรงงานของชาติ และเกิดผล
กระทบด้านจิตใจและเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ ซึ่งร้อยละ 90 ของภัยจากการคมนาคมและขนส่ง เกิดจากการใช้รถใช้ถนนอย่างประมาท การทำผิดกฎจราจร และการเมาสุรา สถานการณ์การเกิดภัยจากการคมนาคมและขนส่ง แสดงดังตารางด้านล่าง -
ภัยแล้ง ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การขาดแคลนน้ำจึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนที่ประกอบอาชีพการเกษตร และจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้ฤดูฝนสั้นขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า ฤดูแล้งจะยาวนานขึ้นและในพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยจะมีปริมาณฝนตกน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับประชาชนใช้อุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน สิ่งที่จะเป็นปัญหาตามมา คือ ภาวะแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำ ทำให้ประชาชนต้องประสบกับความเดือดร้อนในหลายพื้นที่แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยหนาว ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ความกดอากาศสูงจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความหนาวเย็นทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่บนภูเขาหรือยอดดอยสูงจะหนาวเย็นมากซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งทำให้เกิดโรคระบาดที่มีสาเหตุมาจากสภาพความหนาวเย็น เช่น โรคติดต่อทางเดินหายใจ โรคไข้หวัดใหญ่่ และโรคระบาดสัตว์ เป็นต้น ส่งผลกระทบให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยจากไฟป่า ส่วนใหญ่ไฟป่ามักเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ก่อให้เกิดไฟเพื่อประโยชน์ของมนุษย์เอง เช่น เพื่อทำการเกษตร เพื่อการล่าสัตว์ และจากความประมาท โดยทิ้งเศษบุหรี่หรือเศษไฟที่ยังไม่ดับให้สนิท สถิติการเกิดไฟไหม้ป่าในประเทศไทยในแต่ละปีมีความถี่ค่อนข้างสูง มีพื้นที่ได้รับความเสียหายมาก แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ประเทศไทยยังไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แต่ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดกลางในพื้นที่ภาคเหนือ ขนาด 5.6 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์์ 2518 ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และได้เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคตะวันตก ขนาด 5.9 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 บริเวณแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนั้นในบริเวณภาคตะวันตกและภาคเหนือ ยังมีแผ่นดินไหวที่สามารถรู้สึกได้ปีละประมาณ 5 - 6 ครั้ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างโดยเฉพาะอาคารและบ้านพักอาศัย การตกหล่นของวัตถุในที่สูง สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยจากคลื่นสึนามิ ประเทศไทยได้รับผลจากคลื่นสึนามิซึ่งเกิดเป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 อันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลครั้งใหญ่ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ที่หมู่เกาะสุมาตรา ส่งผลให้้ 11 ประเทศในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 216,000 คน สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบในเขต 6จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ จังหวัดพังงา กระบี่ ระนอง ภูเก็ต ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบให้ประชาชนเสียชีวิตและได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก แสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
ภัยจากโรคระบาดในมนุษย์ ในประเทศไทยมีโรคระบาดในมนุษย์ที่สำคัญๆ หลายโรค ทั้งโรคที่ติดต่อระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ โรคระบาดระหว่างมนุษย์และสัตว์ ซึ่งสามารถสรุปสถิติโดยรวม แสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
ภัยจากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูพืชระบาด ประเทศไทยประสบปัญหาด้านภัยจากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูพืชระบาดเป็นระยะทำให้พืชและผลผลิตการเกษตรเกิดความเสียหาย ในปัจจุบันปัญหามีแนวโน้มมากขึ้นเนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยประกอบกับความผิดปกติของระบบนิเวศทำให้การระบาดของโรค แมลง ศัตรูพืชมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นรายได้สำคัญของประเทศ ตัวอย่างข้อมูลภัยจากโรค แมลงสัตว์ สัตรูพืชระบาดแสดงดังตารางด้านล่างนี้
-
ภัยจากโรคระบาดสัตว์์และพืช
o การเกิดโรคระบาดในสัตว์์เลี้ยงประเภทต่าง ๆ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ และเป็ด เป็นต้น ซึ่งโอกาสการเกิดขึ้นน้อยมากและสามารถควบคุมการระบาดไม่ให้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยสถิติสัตว์ที่ตายจากโรคระบาดสัตว์ที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ แสดงดังตารางด้านล่างo การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก พบครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 โดยสายพันธุ์ที่ตรวจพบเป็นชนิด H5N1 ทั้งนี้พบการแพร่ระบาดตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2547 – 2551 ในหลายครั้ง แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาในชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลองค์กร จนถึงระดับชาติ จากการใช้ประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการสื่อสาร การทำธุรกรรม และสังคม ในปัจจุบันภัยคุกคามทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้เพิ่มมากขึ้นและพัฒนาไปในหลากหลายรูปแบบ เช่น การโจมตีระบบระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือระบบการติดต่อสื่อสาร การโจรกรรมข้อมูล การล่อลวง การปลอมแปลง การทำลายภาพลักษณ์ชื่อเสียง ตลอดจนการทำลายระบบควบคุมด้านสาธารณูปโภคที่สำคัญต่างทำให้เกิดผลกระทบตั้งแต่ระดับเล็กจนถึงระดับชาติได้ ภัยคุกคามเหล่านี้ทำให้ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงินของเจ้าของตกอยู่ในความเสี่ยง จากสถิติการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์จากอดีตที่เริ่มค้นพบไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวแรก เมื่อ 25 ปีก่อน พบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2545 มีภัยคุกคามด้านอินเตอร์เน็ตจากไวรัส ประมาณ 20,000 ตัว และในปี พ.ศ. 2551 มีภัยคุกคามใหม่ ๆเกิดขึ้นมากกว่า 1,600,000 ตัว นอกจากนี้ยังพบเหตุการ์ภัยการเจาะเข้าสู่ระบบและขโมยข้อมูลเพิ่มขึ้นทุกวันในประเทศไทย
-
ภัยจากการก่อวินาศกรรม การก่อวินาศกรรมในประเทศไทยมีอยู่เป็นระยะเนื่องจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ สังคม และศาสนา รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับภูมิภาคเพิ่มความรุนแรงจนมีการก่อวินาศกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้อย่างต่อเนื่อง การก่อวินาศกรรมภัยมุ่งเน้นเพื่อทำลายทรัพย์สิน วัสดุ อาคาร สถานที่ ยุทธปัจจัย สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก หรือรบกวน ขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ รวมทั้งการประทุษร้ายต่อบุคคลซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ด้วยความมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดผลร้ายต่อความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยมีการก่อวินาศกรรมอย่างต่อเนื่องและมีความรุนแรงยิ่งขึ้น สถานการณ์การก่อวินาศกรรม แสดงดังตารางด้านล่าง
-
ภัยจากการชุมนุมประท้วงและการก่อการจลาจล เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ทำให้มีการการสลายการชุมนุม ไปจนถึงเหตุการณ์การก่อการจลาจล ภายหลังสลายการชุมนุม การทำลายสถานที่ราชการ การเผาศาลากลางในหลายจังหวัด การวางเพลิงแหล่งธุรกิจ อาคารที่ทำการสื่อมวลชล การไฟฟ้านครหลวง คลองเตย และการวางเพลิงในอีกหลายพื้นที่ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ผลสำรวจความเสียหายของระบบเศรษฐกิจสูงถึง 150,000 – 300,000 ล้านบาท โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว (ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นภาวะที่ไม่ปกติ ซึ่งมีความยากลำบากในการเข้าปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จากแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิต อันเป็นเหตุให้้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของกระบวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านความมั่นคง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง คลิก 'ดร.เสรี'ชี้ไทยต้องรับมือภัยพิบัติอีกเยอะ โลกร้อนทำ‘น้ำแล้ง-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว’
********************************
ที่มา
เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.isranews.org/
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ