ซึ่งปัจจุบันมีการใช้เกณฑ์ดังกล่าวใน 125 ประเทศ ส่วนประเทศไทยจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 นี้ เป็นต้นไป โดยมีดัชนีบ่งชี้ 3 ด้านคือ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ของส่วนสูง
และข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าไทยใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตตั้งแต่ปี 2519 และมีการปรับเปลี่ยนกราฟมาตรฐานครั้งแรกในปี 2538 และใช้เรื่อยมาจนถึง 2558 การปรับเปลี่ยนในครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งที่ 2 โดยกราฟใหม่จะมีความละเอียดมากขึ้น เพราะเน้นให้เห็นชัดในช่วง 0 - 2 ปีมากขึ้น ทำให้เห็นภาพของการเจริญเติบโตที่ละเอียดขึ้น ซึ่งหลังจากใช้กราฟใหม่ข้อมูลจะเปลี่ยนไป ทั้งนี้พบว่าเด็กไทยเตี้ยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.4 เป็น ร้อยละ 10.5 และ เด็กอ้วนเพิ่มจาก ร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8.7 ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าจะต้องพัฒนาเด็กในส่วนใด สำหรับการพัฒนาส่วนสูงต้องเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก เพราะความยาวของเด็กจะเพิ่มร้อยละ 50 อย่างเด็กแรกเกิดเกณฑ์มาตรฐานหลังคลอดจะอยู่ที่ 40 - 50 เซนติเมตร ถ้าเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวก็จะทำให้ความยาวมาตรฐานของเด็กได้ประมาณ 75 เซนติเมตร หากไม่ได้ถือว่าเด็กจะขาดทุนอย่างมาก เพราะหลังจากนี้เด็กจะค่อย ๆ ยืดตัวอย่างช้า และแม้ช่วง 3 ขวบปีแรกจะยังกระตุ้นให้มีความสูงได้ แต่ที่ผ่านมาพบว่าผู้ปกครองจะเลี้ยงลูกด้วยวิธีการเดิม ๆ พฤติกรรมเดิม ทำให้การกระตุ้นความสูงในช่วงหลังอาจจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์
ที่มาข้อมูล: กระทรวงสาธารณสุข และกรมอนามัย
ที่มาภาพประกอบ: nutrition.anamai.moph.go.th
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ