ระบุ พ.ร.บ.ฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน เอื้อประโยชน์นายทุน ไม่คำนึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่มีการบังคับให้ทำประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัว ผลเสียจะตกอยู่กับผู้บริโภคโดยตรง
2 ธ.ค. 2558 ผู้ใช้เว็บไซต์ change.org ได้ออกแคมเปญใหม่เรียกร้องให้หยุด พ.ร.บ.จีเอ็มโอ หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพที่สภานิติบัญิติเพิ่งเห็นชอบให้ผ่านร่างไปเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเจ้าของแคมเปญกล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน เอื้อประโยชน์นายทุน ไม่คำนึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่มีการบังคับให้ทำประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหาย ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัว ผลเสียจะตกอยู่กับผู้บริโภคโดยตรง
“ส่วนผู้บริโภคนั้นคุณอาจจะคิดว่าไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นเรื่องของเกษตรกรกับรัฐ แต่ในทางกลับกันผู้บริโภคต่างหากที่สุดท้ายจะเป็นผู้จ่ายต้นทุนด้วยสุขภาพของตนเองโดยไม่มีใครมาชดเชย”
โดยรายละเอียดทั้งหมดของแคมเปญนี้มีดังต่อไปนี้
ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเขียว เกษตรกรไทยมีแต่จนลง เป็นทาสของผู้ผลิตปุ๋ยเคมีและทาสของเมล็ดพันธุ์ที่ง่อยเปลี้ยที่ผลิตลูกหลานต่อไปไม่ได้ สายพันธุ์ข้าวไทยจากหลายร้อยที่เหมาะสมกับภูมิประเทศเหลือปลูกกันไม่กี่สายพันธุ์ เท่านี้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ความฉิบหายของเกษตรกรรมไทยได้เป็นอย่างดี
เกษตรกรที่ตระหนักรู้ต่างหลีกหนีไปหาแสงสว่างที่เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ เริ่มบ่มเพาะพันธุ์ข้าวกันใหม่เพื่อเป็นทางรอดให้กับเกษตรกรรมไทย แต่แล้ว ครม. กลับอนุมัติ พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ. จีเอ็มโอ (GMO) เปิดทางให้การผลิตพืชดัดแปลงพันธุกรรมในสิ่งแวดล้อมแบบเปิดสามารถกระทำได้ แล้วต่อไปเราจะรักษาสายพันธุ์ท้องถิ่นไว้ได้อย่างไร เกษตรอินทรีย์ไม่ได้ดูแค่ไม่ใส่สารเคมี แต่มันจะมีค่าก็ต่อเมื่อมีสายพันธุ์ที่หลากหลายและสมบูรณ์
ส่วนผู้บริโภคนั้นคุณอาจจะคิดว่าไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นเรื่องของเกษตรกรกับรัฐ แต่ในทางกลับกันผู้บริโภคต่างหากที่สุดท้ายจะเป็นผู้จ่ายต้นทุนด้วยสุขภาพของตนเองโดยไม่มีใครมาชดเชย
ในแง่กฎหมาย พ.ร.บ. มีประเด็นหลักสำคัญ 9 ประการที่ละเลยและเพิกเฉย เราจะปล่อยให้ไม่มีใครรับผิดชอบอย่างนั้นหรือ?
ที่มา http://www.biothai.net/node/30026
ประเด็นที่ 1 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ยึดหลักความปลอดภัยไว้ก่อน (Pre-Cautionary Principle)
ประเด็นที่ 2 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้คำนึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม
ประเด็นที่ 3 ร่างกฎหมายฉบับนี้โดยหลักการคือการเปิดเสรีจีเอ็มโอ
ประเด็นที่ 4 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับให้ต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 5 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้บังคับให้การขึ้นบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมต้องทำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
ประเด็นที่ 6 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากจีเอ็มโอในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ 7 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทคุ้มครองเกษตรกรที่พืชผลถูกจีเอ็มโอปนเปื้อน
ประเด็นที่ 8 ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุหลักประกันทางการเงินกรณีเกิดความเสียหายจากจีเอ็มโอ
ประเด็นที่ 9 ร่างกฎหมายฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างรุนแรง
พ.ร.บ. นี้เพิ่งผ่าน ครม. ไปวันนี้ (25 พ.ย. 58) และกำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยหวังว่าแคมเปญนี้เราจะสามารถ
กระตุ้นจิตสำนึกของความห่วงแหนแผ่นดินไทยของสมาชิก สนช. ให้ไม่อนุมัติตามอย่าง ครม. ได้
กระตุ้นการทำหน้าที่ของ สนช. เพื่อคนไทย ไม่ใช่นายทุนและผู้นำปากอย่างใจอย่าง
กระตุ้นไม่ให้คอรัปชั่นในรูปกฎหมายไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น
และที่สำคัญที่สุด กระตุ้นให้คนไทยทุกคนรู้ว่าคุณกำหนดชะตาชีวิตของตัวคุณเองได้
เราทุกคนมีสิทธิ์ทำให้บ้านเมืองนี้ดีขึ้น ที่พูดกันว่าอยากช่วยเกษตรกรก็ต้องเริ่มกันตอนนี้ ไม่ต้องรอเป็นหน้าที่ของคนแต่งเครื่องแบบทหารหรือข้าราชการ การทำกฎหมายต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงทั้ง เกษตรกร ผู้บริโภค รัฐบาล นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เข้าร่วม ไม่เช่นนั้นหายนะก็จะเกิดขึ้นในระดับดีเอ็นเอของคนไทยทุกคน
STOP GMO in Thailand
อ่านเพิ่มเติม
เมินเสียงส่วนราชการรุมค้าน 'บิ๊กตู่' ลุยไฟผ่านร่าง พ.ร.บ. จีเอ็มโอ
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ