กระทรวงพลังงาน เริ่มจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยุทธศาสตร์ 9 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ชัยนาท ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่มีอาณาเขตติด 20 จังหวัด หวังสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาทัศนคติ ที่มีต่อการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (ที่มาภาพประกอบ: en.wikipedia.org)
3 เม.ย. 2558 สวท.ตราด รายงานว่าที่เหลาหยารีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัด กองการศึกษาและประสานงาน พลังงานนิวเคลียร์ ก.พลังงาน จัดอบรมโครงการ "การสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาทัศนคติ ที่มีต่อการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์" มีพลังงานจังหวัดตราดกล่าวต้อนรับ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการ ประชาชน และสื่อมวลชน จำนวน 50 คน เข้าร่วมรับฟัง ซึ่งจะได้รับความรู้เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ ได้แก่ ประวัติและวิวัฒนาการ การพัฒนาทัศนคติประชาชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงาน คุณลักษณะการระเบิดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กับการระเบิดของนิวเคลียร์ รังสีและความรุนแรงที่มีต่อประชาชนกรณีโรงไฟฟ้าฯระเบิด รังสีและความรุนแรงที่มีผลต่อประชาชนกรณีการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ และแนวทางไปสู่ความสำเร็จ จึงได้จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยุทธศาสตร์ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ชัยนาท ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ชลบุรี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกับจังหวัดยุทธศาสตร์ 20 จังหวัด ได้แก่ ตาก ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี จันทบุรี เพชรบุรี ระนอง กระบี่ ตรัง พัทลุง พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ระยอง ฉะเชิงเทรา และพังงา
รัฐบาลมีโครงการการพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศตามแผน PPD 2010 โดยเมื่อปี 2550 ครม.มีมติเห็นชอบแผนกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2550-2564 ให้มีการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในปี 2563 และ 2564 ตามจำนวนที่กำหนด แต่ก็เป็นการวางแผนไว้ ปัจจุบันได้มีการปรับเลื่อนโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศออกไปอีกเป็นระยะเวลา 6 ปี และรัฐบาลมีมติเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน สาเหตุจากประชาชนยังไม่ยอมรับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ