เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติคืออะไร?

4 ก.พ. 2558 | อ่านแล้ว 14805 ครั้ง


โดยได้ให้ความหมายของคำว่า 'เอกลักษณของชาติ' ว่า ลักษณะที่แสดงถึงความเด่นและดีงามเฉพาะที่ร่วมกันของชาติไทย เกี่ยวกับประชากร ดินแดน ศิลปวัฒนธรรม ภาษาไทย ความเป็นเอกราชและอธิปไตย เกียรติภูมิของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นเครื่องบงชี้ถึงความเป็นชาติ ช่วยให้ประเทศไทยสามารถรักษาความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานของความสงบสุข ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี เอื้ออาทร และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาได้จนถึงทุกวันนี้

'การเสริมสร้างเอกลักษณของชาติ' หมายความว่า การดําเนินการใดๆ ด้านเอกลักษณ์ของชาติ เพื่ออนุรักษ์ ปกป้อง พัฒนา เผยแพร่และสงเสริมอย่างสร้างสรรค์ด้วยจิตสํานึกด้านคุณธรรม ความดีงาม ความรักหวงแหน และความภาคภูมิใจ ในอันที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถรักษาความมั่นคง และสงเสริมความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานของความสงบสุข ประชาชนมีความเข้าใจ เอื้ออาทร และรู้รักสามัคคี

คณะกรรมการเอกลักษณของชาติ (กอช.) ประกอบด้วย

1. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ

2. รัฐมนตรีคนหนึ่งตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ

3. ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ

4. ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ

5. ปลัดกระทรวงการตางประเทศ เป็นกรรมการ

6. ปลัดกระทรวงการทองเที่ยวและกีฬา เป็นกรรมการ

7. ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรรมการ

8. ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ

9. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการ

10. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ

11. เลขาธิการพระราชวัง เป็นกรรมการ

12. ราชเลขาธิการ เป็นกรรมการ

13. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ

14. เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เป็นกรรมการ

15. ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เป็นกรรมการ

16. อธิบดีกรมศิลปากร เป็นกรรมการ

17. อธิบดีกรมประชาสัมพันธ เป็นกรรมการ

18. ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติ เป็นกรรมการ

19. เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน เป็นกรรมการ

20. ผู้แทนภาคเอกชนด้านการสงเสริมเอกลักษณ์ของชาติ การเผยแพร่ และการประชาสัมพันธ์ และด้านการบริหาร จํานวนไม่เกิน 6 คน เป็นกรรมการ

21. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเอกลักษณของชาติ จํานวนไม่เกิน 9 คน เป็นกรรมการ

22. ผู้อำนวยการสํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ

23. เจ้าหน้าที่สํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติที่ได้รับมอบหมาย จํานวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการเอกลักษณของชาติมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. เสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการดําเนินงานด้านเอกลักษณ์ของชาติต่อคณะรัฐมนตรี

2. ดําเนินการให้มีการบูรณาการการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการเกี่ยวกับการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติมิให้ซ้ำซ้อนกัน และให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของรัฐบาล

3. ประสานการสนับสนุนและเสนอแนะเกี่ยวกับการดําเนินงานด้านเอกลักษณ์ของชาติของหนวยงานของรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้ดําเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายดําเนินงานด้านการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติของหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ

5. ดําเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ

6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย รวมทั้งให้คําปรึกษา ติดตาม และกํากับดูแล การดําเนินการของคณะอนุกรรมการ และคณะทํางานต่าง ๆ ที่แต่งตั้งตามระเบียบนี้

7. ดําเนินการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

โครงสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ มีหน้าที่

1. ศึกษา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัยปัญหาเกี่ยวกับสถาบันหลักของชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2. กำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสถาบันหลักของชาติ

3. วางแผน ริเริ่ม ประสานงานการจัดทำโครงการและกิจกรรมให้เป็นไปตามแผน

4. ประมวลและวิเคราะห์ข่าวและบทความเกี่ยวกับสถาบันหลักเพื่อเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

ส่วนวิชาการ มีหน้าที่

1. จัดทำนโยบาย แผนงาน/ โครงการและงบประมาณของสำนักงานในการเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และการดำเนินการต่าง ๆ ของสำนักงานเพื่อแก้ไขและพัฒนาการวางแผนและบริหาร

3. ประสานนโยบายติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ และงานของสำนักงาน

4. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ

นอกจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติแล้ว ยังมีอีกองค์กรหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ในการทำงานคล้ายกันคือมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ จัดตั้งตามกฎหมายเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2935

เว็บไซต์สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ http://www.identity.opm.go.th/identity/content/index.asp

ที่มา

ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ขอบคุณรูปภาพจาก https://pasalak.files.wordpress.com/

 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: