สถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้

5 ม.ค. 2558 | อ่านแล้ว 3368 ครั้ง


ทั้งนี้ ได้เก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางเปิดอย่างสื่อมวลชนและจากฐานข้อมูลของหน่วยงานราชการหลายแห่ง ได้แก่ ส่วนปฏิบัติการและรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) งานการข่าว ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) และศูนย์ประสานงานเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ จังหวัดยะลา

ภาพรวมเหตุการณ์

ในปี 2557 มีจำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบทั้งสิ้น  793 เหตุการณ์ เฉลี่ยเดือนละ 66 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 330 คน เฉลี่ยเดือนละ 28 คน และบาดเจ็บทั้งสิ้น 663 คน เฉลี่ยเดือนละ 55 คน

เดือนที่เกิดเหตุสูงสุด : พฤษภาคม จำนวน 128 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 26 คน และได้รับบาดเจ็บ 135 คน

เดือนที่เกิดเหตุต่ำสุด : ธันวาคม จำนวน 44 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิต 7 คน และได้รับบาดเจ็บ 16 คน

สถิติเหตุการณ์ความไม่สงบสะสมตั้งแต่ปี 2547 - 2557 จำแนกเป็นรายปี

สถิติสะสมจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสะสมตั้งแต่ปี 2547 - 2557 จำแนกเป็นรายปี

พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 6,286 ราย เฉลี่ยมีผู้เสียชีวิตปีละ 571 รายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 11,366 ราย เฉลี่ยปีละ 1,033 ราย

สถิติปี 2557 จำแนกตามกลุ่มประเภทของเหตุการณ์

ยิง                                 จำนวน 364 เหตุการณ์       เสียชีวิต 261 คน บาดเจ็บ 232 คน

ระเบิด                            จำนวน 246 เหตุการณ์       เสียชีวิต 47 คน                บาดเจ็บ 417 คน

วางเพลิง                         จำนวน 45 เหตุการณ์         ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

ก่อกวนสร้างสถานการณ์     จำนวน 87 เหตุการณ์         ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ 

ประเภทเหตุการณ์อื่น ๆ      จำนวน 51 เหตุการณ์         เสียชีวิต 22 คน                บาดเจ็บ 14 คน

สถิติในช่วงเวลาสำคัญ

พื้นที่การก่อเหตุ : ระดับจังหวัด

จังหวัดปัตตานี จำนวน 291 เหตุการณ์ เฉลี่ยเดือนละ 24.25 เหตุการณ์ เสียชีวิต 152 คน บาดเจ็บ 451 คน

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 272 เหตุการณ์ เฉลี่ยเดือนละ 22.66 เหตุการณ์ เสียชีวิต 87 คน บาดเจ็บ 160 คน

จังหวัดยะลา จำนวน 200 เหตุการณ์ เฉลี่ยเดือนละ 16.66 เหตุการณ์ เสียชีวิต 82 คน บาดเจ็บ 166 คน

จังหวัดสงขลา จำนวน 30 เหตุการณ์ เฉลี่ยเดือนละ 2.5 เหตุการณ์ เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 38 คน

พื้นที่การก่อเหตุ : ระดับอำเภอ

10 อำเภอที่มีเหตุการณ์สูงสุด

อันดับที่ 1 อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา จำนวน 54 เหตุการณ์ เสียชีวิต 17 คน บาดเจ็บ 30 คน

อันดับที่ 2 อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 44 เหตุการณ์ เสียชีวิต 18 คน บาดเจ็บ 29 คน

อันดับที่ 3 อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 44 เหตุการณ์ เสียชีวิต 20 คน บาดเจ็บ 27 คน

อันดับที่ 4 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 42 เหตุการณ์ เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บ 50 คน

อันดับที่ 5 อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 41 เหตุการณ์ เสียชีวิต 15 คน บาดเจ็บ 85 คน

อันดับที่ 6 อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 40 เหตุการณ์ เสียชีวิต 23 คน บาดเจ็บ 38 คน

อันดับที่ 7 อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 36 เหตุการณ์ เสียชีวิต 16 คน บาดเจ็บ 17 คน

อันดับที่ 8 อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จำนวน 32 เหตุการณ์ เสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บ 7 คน

อันดับที่ 9 อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส จำนวน 30 เหตุการณ์ เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 19 คน

อันดับที่ 10 อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จำนวน 29 เหตุการณ์ เสียชีวิต 13 คน บาดเจ็บ 54 คน

จังหวัดนราธิวาส

จังหวัดปัตตานี

จังหวัดยะลา

จังหวัดสงขลา

สถิติผู้เสียชีวิตในรอบปี 2557 จำแนกตามภูมิหลัง

 

สถิติเหยื่อที่เสียชีวิตจำแนกตามภูมิหลัง : รายเดือน

สถิติจำนวนเหยื่อที่เสียชีวิตจำแนกตามภูมิหลัง : จังหวัด

สถิติเหยื่อที่บาดเจ็บจำแนกตามภูมิหลัง : รายเดือน

สถิติจำนวนเหยื่อที่บาดเจ็บจำแนกตามภูมิหลัง : จังหวัด

ที่มา

คณะทำงานฐานข้อมูลเหตุการณ์ชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ Deep South Incident Database (DSID)

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.oknation.net/

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: