การเทียบวุฒิความรู้ในระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

5 ก.ค. 2558 | อ่านแล้ว 4594 ครั้ง


ดูพัฒนาการการเทียบวุฒิความรู้พระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยที่ผ่านมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐบาลสมัย ฯพฯ พลอกเปรม  ติณสูลานนท์  ได้เสนอพระราชบัญญัติกำหมดวิทยฐานะของผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา โดยกำหนดว่า

  1. ตามหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง เปรียญธรรมเก้าประโยค มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรีเรียกว่า “เปรียญธรรมเก้าประโยค” ใช้อักษรย่อว่า “ป.ธ.๙”
  2. ตามหลักสูตรปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี เรียกว่า “ศาสนศาสตรบัณฑิต” ใช้อักษรย่อว่า “ศน.บ.”
  3. ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตจากมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรีเรียกว่า “พุทธศาสตร-บัณฑิต” ใช้อักษรย่อว่า “พธ.บ.”

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลในสมัย ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ  เป็นนายกรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ให้มหาวิทยาลัยทั้งสองมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและเป็นมหาวิทยาลัยในกับกับดูแลภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ สามารถจัดการศึกษาได้ถึงปริญญาเอก และเปิดโอกาสให้ภิกษุ  สามเณร คฤหัสถ์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้

ต่อมา โดยที่มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสถาบันพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2548 ได้ให้สิทธิสถาบันพรพุทธศาสนาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่พระภิกษุและสามเณร  โดยแบ่งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานออกเป็น สองระดับ คือ

  1. การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  2. การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่ได้จัดให้แก่พระภิกษุและสามเณร ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาปีที่หกหรือเทียบเท่า และได้ศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยคำแนะนำของมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่แบ่งเป็นระดับดังต่อไปนี้
  • การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ชั้นเปรียญธรรม ๓ ประโยค เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

แม้จะมีการปรับวุฒิให้เทียบเท่ากับการศึกษาทางโลกแล้ว  แต่เรายังต้องคอยจับตาดูการปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ต่อไป โดยเฉพาะด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะสงฆ์ไทยที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน ว่าจะเกิดการปฏิรูปหรือไม่ และหากเกิดการปฏิรูปจะเป็นไปในทิศทางใด 

ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับ TCIJ ออนไลน์
www.facebook.com/tcijthai

ป้ายคำ
Like this article:
Social share: