สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีงบประมาณการลงทุนสูงที่สุดจำนวน 400,000 ล้านบาท คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เรื่องการลงทุนที่เป็นยุทธศาสตร์ เป็นการลงทุนในภาครัฐต่างๆ เช่น การก่อสร้างระบบรถไฟ ระบบบริหารน้ำ โดยแบ่งงบประมาณการลงทุนไว้ 200,000 ล้านบาทให้รัฐบาลกู้ ลองมาดูสรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม (ณ 30 มิถุนายน 2557 ก่อนเข้าไปถือหุ้นบริษัทบางจาก) กัน
9 มิ.ย. 2558 สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการประกันสังคม มีมติเอกฉันท์ปล่อยกู้ 2 แสนล้าน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ชี้ มั่นคง-ผลตอบแทนดี กระทรวงกาาคลังเตรียมออกกฎหมายรองรับนั้น ซึ่งนายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมานั้น ถึงข่าวกระทรวงการคลัง ชักชวนกองทุนประกันสังคม ร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจำนวน 200,000 ล้านบาท กรรมการบอร์ด สปส.บางคนเห็นว่าควจะกระจายการลงทุน ว่าปีนี้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีงบประมาณการลงทุนสูงที่สุดจำนวน 400,000 ล้านบาท คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดสปส.) จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เรื่องการลงทุนที่เป็นยุทธศาสตร์ เป็นการลงทุนในภาครัฐต่างๆ เช่น การก่อสร้างระบบรถไฟ ระบบบริหารน้ำ โดยแบ่งงบประมาณการลงทุนไว้ 200,000 ล้านบาทให้รัฐบาลกู้ โดยมีข้อแม้ว่ารัฐจะต้องออกพันธบัตรค้ำประกันให้ สปส. ดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 3 – 3.5 ซึ่งได้เสนอมติไปยังกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงการคลังเห็นชอบในหลักการ และหากดำเนินการต่อไป กระทรวงการคลังต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อกู้เงิน ส่วนกรณีที่เครือข่ายแรงงานมีความเป็นห่วงในเรื่องความมั่นคงและความคุ้มค่าในการลงทุน แม้ผลตอบแทนอาจไม่มากเท่ากับการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ แต่ได้ผลตอบแทนในอัตราที่คุ้มค่า ส่วนเรื่องของความมั่นคง ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะรัฐบาลเป็นผู้ประกัน ทั้งนี้ จะระบุรายละเอียดการจ่ายเงินคืนและผลตอบแทนใน พ.ร.บ. ยืนยันว่าไม่กระทบต่อการจ่ายเงินกรณีบำเหน็จและบำนาญชราภาพแน่นอน นอกจากจะมีการออกพันธบัตรเพื่อกู้เงิน สปส.แล้ว พ.ร.บ.นี้จะออกพันธบัตรเพื่อใช้หนี้เงินสมทบที่รัฐค้างจ่าย สปส.เป็นเงินกว่า 80,000 ล้านบาทด้วย โดยที่ผ่านมาไม่มีการนำเงินให้รัฐบาลกู้ในลักษณะนี้มาก่อน และในเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ สปส.ปล่อยเงินกู้
ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับมติของ สปส.ให้รัฐบาลกู้เงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนและอนาคตของผู้ประกันตนกว่า 13 ล้านคน เนื่องจาก สปส.ต้องทยอยจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพให้ผู้ประกันตน หากนำเงินไปลงทุนจำนวนมากโดยไม่มีหลักประกัน อาจกระทบต่อการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ทั้งนี้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะขอเข้าพบ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านและสอบถามรายละเอียดอีกครั้ง
ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม พบว่ากองทุนประกันสังคมเริ่มลงทุนในหุ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 แม้หุ้นจะจัดเป็นสินทรัพย์เสี่ยง แต่การลงทุนระยะยาว เน้นเฉพาะหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และรักษาวินัยการลงทุนอย่างเคร่งครัด ทำให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยปีละ 15% โดยได้รับกำไรจากการขายและเงินปันผลสะสมมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมเน้นลงทุนในแบบ Passive โดยมักจะมีสัดส่วนการถือหุ้นในแต่ละบริษัทไม่เกิน 3-4% ของจำนวนหุ้นจดทะเบียน ทั้งนี้ เมื่อกองทุนมีขนาดใหญ่และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีเงินลงทุนมากกว่า 1.25 ล้านล้านบาท ในปัจจุบันหากเห็นว่าสำนักงานประกันสังคม มีโอกาสที่ดีที่จะได้ลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี สามารถพิจารณาลงทุนในสัดส่วนที่มาก (5-10% ของจานวนหุ้นจดทะเบียน) ได้ โดยให้นับเป็น Strategic Investment พร้อมทั้งพิจารณาส่งผู้แทนร่วมเป็นกรรมการบริษัท ซึ่งการลงทุนแบบ Strategic Investment นี้เป็นแบบแผนปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของกองทุนชั้นนาทั่วไป อาทิ GIC และ Temasek ของสิงคโปร์, EPF ของมาเลเซีย และ CPPIB ของแคนาดา
สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม (ณ 30 มิถุนายน 2557 ก่อนเข้าไปถือหุ้นบริษัทบางจาก) มีดังนี้
www.facebook.com/tcijthai
ป้ายคำ